ในปัจจุบันคนไทยมีความรู้ในเรื่องประกันภัยกันน้อยมาก เพราะคิดว่าเสียเงินโดยสูญเปล่าและคิดว่าไม่มีความจำเป็นต้องทำ อีกทั้งยังมีความรู้สึกในแง่ลบต่อธุรกิจประกันภัย แต่หากเราลองศึกษาการประกันภัยจริงๆ ก็จะพบว่าเป็นการลงทุนที่น่าสนใจอีกช่องทางหนึ่งและเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในวันที่คุณไม่คาดคิดมาถึง ดังนั้นเราต้องศึกษาให้ดีทั้งในเรื่องตัวแทน บริษัท ประวัติ ภัย ค่าสินไหม ระยะเวลา และอีกหลายอย่างเป็นต้น เพื่อผลประโยชน์ของตัวเราเองและคนที่คุณรัก
วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2556
ทำประกันภัย พ.ร.บ. เพื่่ออะไร ?
หลายคนสงสัยว่าทำไปทำไม ทำไปนี่ไม่เคยรุ้เลยจริงๆ เรามาดูกันเลยดีกว่าครับ
การทำประกันภัย พ.ร.บ. ตามพระราชบัญญัติมีประโยชน์อะไร คุ้มครองอะไรบ้าง?
ให้ความคุ้มครองทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสารที่ประสบอุบัติเหตุอันเกิด จากรถ ได้รับความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ชีวิตและ ร่างกาย โดยให้ได้รับค่ารักษาพยาบาลตามความเป็นจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ในกรณี บาดเจ็บ และได้รับค่าปลงศพ และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพ 15,000 บาท ในกรณีเสียชีวิต รวมแล้วไม่เกิน 80,000 บาท เพื่อเป็นการบรรเทา ความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยและครอบครัว
ง่ายๆก็คือคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้ประสบภัยจากรถที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชฃีวิตเพราะเหตุประสบภัยจากรถ โดยให้ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงที กรณีบาดเจ็บ หรือช่วยเป็นค่าทำศพกรณีเสียชีวิต และ เป็นหลักประกันให้กับโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลว่าจะได้รับค่ารักษาพยาาบาล ในการรับรักษาผู้ประสบภัยจากรถ (เช่น ถูกรถชน ถ้ามัวแต่จะหาผู้รับผิดชอบผู้บาดเจ็บก็ตายกันพอดีหรือบางทีไปส่งโรงพยาบาลแต่เขาไม่รับเพราะเป็นใครก็ไม่รู้จะได้เงินหรือปล่าวก็กลัวแต่จะขาดทุนกับโรงพยาบาลทำให้รักษาผู้ป่วยไม่ทันท่วงที่ พ.ร.บ.นี้จึงออกมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ)
ผู้ได้รับความคุ้มครองจาก พรบ. นี้มีใครบ้าง
ประชาชนทุกๆคนที่ได้รับอุบัติเหตุจากรถ ไม่ว่าจะอยู่บนรถหรือที่ไหนก็ตามไม่ว่าจะเป็นผู้โดยสาร ผู้ขับขี่ หรือเดินอยู่ตามทางเดินเท้า ทั้งนี้รวมไปถึงทายาทของผู้ประสบภัยจากรถกร๊ผู้ประสบภัยเสียชีวิตด้วย
ใครบ้างมีหน้าที่ต้องทำประกันภัยตาม พ.ร.บ.?
เจ้าของรถหรือผู้มีสิทธิครอบครองรถตามสัญญาเช่าซื้อ
รถประเภทไหนบ้างที่ต้องทำประกันตาม พ.ร.บ.?
รถทุกประเภทที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ เช่น รถสี่ล้อ,สามล้อเครื่อง, รถจักรยานยนต์,รถบรรทุก,รถโดยสาร หรือแม้แต่รถพ่วง ยกเว้นรถไฟ
อะไรบ้างที่ใช้ในการทำประกันภัยตาม พ.ร.บ.?
กรมธรรม์ พ.ร.บ. กับเครื่องหมายแสดงการประกันภัยตาม พ.ร.บ.
ในกรณีบริษัทประกันวินาศภัยปฎิเสธการรับทำ พ.ร.บ. จะได้รับ โทษอย่างไร?
ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 50,000 - 250,000 บาท
การปลอมเครื่องหมายติดหรือแสดงเครื่องหมายปลอมมีโทษอย่างไร?
มีความผิดทางอาญาต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน - 5 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000 - 100,000 บาท
หลักฐานอะไรบ้างที่ต้องใช้ประกอบในกรณีขอเครื่องหมาย ใหม่ทดแทนของเดิมที่ชำรุดหรือเสียหาย?
เครื่องหมายเดิม (ในกรณีหายจะต้องนำใบแจ้งความด้วย)
สำเนาบัตรประชาชน
ตารางกรมธรรม์ตัวจริงพร้อมสำเนา 1 ชุด
การฝ่าฝืนไม่ทำประกันภัยตาม พ.ร.บ. มีโทษอย่างไร?
ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และผู้ที่นำรถไม่มีประกันภัย ตาม พ.ร.บ. มาใช้มีโทษปรับเช่นกัน โดยเฉพาะถ้าเป็นเจ้าของรถเอง ต้องโทษเป็น 2 กระทง
กองทุนทดแทนคืออะไร และมีหน้าที่อย่างไร? (บางคนถูกชนก็ไม่ยอมไปรับเงินเพราะไม่รู้ ตอนนี้ดอกเบี้ยนี่งอกจนเบิกบานแล้วครับ)
กองทุนทดแทนมีหน้าที่หลักคือพิจารณาจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้ แก่ผู้ประสบภัย โดยผู้ประสบภัยต้องนำหลักฐานต่างๆ ไปยื่นคำร้องที่ กองทุนทดแทนจะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นภายใน 7 วันในกรณีที่ผู้ ประสบภัยจากรถ ไม่สามารถเรียกร้องจากใครได้ ตัวอย่างเช่น ถูกรถที่ไม่มีประกันชนแล้วเจ้าของรถไม่จ่าย,อุบัติเหตุจากรถที่ถูก ชิงทรัพย์,ไม่มีผู้แสดงตนเป็นเจ้าของรถ,ชนแล้วหนี,หรือบริษัทประกัน ไม่จ่ายหรือจ่ายไม่ครบเป็นต้น
ขั้นตอนและหลักฐานอะไรที่ใช้ประกอบการยื่นคำร้องที่กองทุน ทดแทน?
1. ไปขอรับค่าเสียหายจากบริษัทที่รับประกันภัยรถที่ทำประกันไว้ ก่อน ซึ่งจะต้องทำเนินการขอรับภายใน 180 วัน นับจากวันเกิดเหตุ
2. ต้องกรอกแบบคำร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น กรณียื่นต่อบริษัท หรือที่เรียกว่า บต.3
3. ใบเสร็จรับเงินของโรงพยาบาล
4. สำเนาบัตรประชาชน
5. สำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี
6. ใบรับคำร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจาก บริษัทประกันภัย
7. บัตรมรณะภาพ (ในกรณีเสียชีวิต)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น