วันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2556

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัย

ว่าด้วยเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัย
มี พ.ร.บ. (พระราชบัญญัติ)ที่ควรรู้จัก ดังนี้

- พระราชบัญญัติคุ้มครงผู้บริโภค   พ.ศ.2522
- พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย    พ.ศ.2535
- พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ    พ.ศ.2535

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 861
    "อันว่า สัญญาประกันภัย คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งในกรณีวินาศภัยหากมีขึ้นหรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคตดังได้ระบุไว้ในสัญญาและบุคคลอีกคนหนึ่งตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่า เบี้ยประกัน"
(ภาษาดูยากๆนะครับภาษาทางกฎหมาย เอาง่ายๆก็คือผู้รับประกันภัยจะจ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้เอาประกันภัยเมื่อเกิดเหตุที่ตรงกับในสัญญากรมธรรม์ภัย และผู้เอาประกันภัยก็ต้องจ่ายเบี้ยประกันให้กับผู้รับประกันภัย)

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 869
     "วินาศภัย" หมายถึงความเสียหายใดๆ บรรดาจะพึงประมาณเป็นเงินได้ ตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย    พ.ศ.2535 ให้หมายความรวมถึงความเสียหายในสิทธิประโยชน์หรือรายได้ด้วย"
(คำว่า"วินาศภัย"ก็คือการประกันภัยทุกประเภทนอกเหนือจากชีวิตและสามารถประมาณค่าเป็นตัวเงินได้ เช่น รถชน ไฟไหม้ ก็จะรู้ค่าเสียหายได้ แต่ชีวิตเนี่ยมันไม่สามารถตีเป็นมูลค่าในรูปตัวเงินได้ ถูกไหมครับ)


กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัย
1. การโอนเปลี่ยนมือวัตถุประกันภัย   ขอตัวอย่างง่ายๆเลยนะครับ สมมติเรามีรถที่ทำประกันภัยอยู่แล้วเราก็เอารถไปขายต่อให้ผู้อื่น ถ้าเราไปแจ้งกับฝ่ายประกันว่าเราโอนสิทธิในตัวรถไปให้ผู้อื่นแล้วทางบริษัทประกันก็จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับคนที่เราโอนไปให้และสัญญายังคงอยู่แต่ตัวสัญญาจะย้ายไปอยู่กับอีกคนที่เ้ราขาย ถ้าเราไม่ไปแจ้งสัญญาก็จะเป็นโมฆะทันที ในทำนองเดียวกันหากเราไปแจ้งฝ่ายประกันเมื่อตรวจสอบแล้วพบว่าภัยนั้นมีความเสี่ยงสูงที่เพิ่มขึ้นก็สามารถโมฆะได้เหมือนกัน  เช่นเราขับก๋วยเตี๋ยว แต่เราขายให้นักแข่งมอเตอร์ไซต์ เป็นต้น (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 875)

2. การสิ้นผลบังคับของสัญญาประกันภัย  แบ่งออกเป็น 3 แบบนะครับ
       2.1 การสิ้นผลตามกฎหมาย
      โมฆะ    หมายถึง ไม่มีผลบังคับตามกฎหมายนั่นเอง
      โมฆียะ  หมายถึง เช่นเราปกปิดความจริงเกี่ยวกับของที่เราจะเอาประกันภัยในตอนทำสัญญา สมมติ   ว่าเขาถามว่าตัวโกดังทำจากอะไร เราบอกคอนกรีต  แต่จริงๆแล้วโกดังเป็นไม้แต่ใช้วัสดุด้านนอกแต่งด้วยสีคอนกรีต แบนนี้ก็คือปกปิดข้อความจริงและแถลงความเท็จ ทำให้สัญญาไม่มีผล บางทีผู้รับประกันภัยบางรายก็อาจจะกินเบี้ยประกันภัยไปเรื่อยๆ แต่พอเกิดเหตุขึ้นก็นำมาเป็นข้ออ้างที่จะไม่จ่ายค่าสินไหมให้ เพราะว่าเราไม่ยอมเปิดเผยความจริงแต่แรกนั่นเอง

       2.2 การสิ้นผลตามเงื่อนไขของสัญญาประกันภัย 
       หมายถึง "วันเวลา" ที่กำหนดให้สิ้นสุดในสัญญาประกันภัยนั่นเอง

       2.3 การสิ้นผลโดยการบอกเลิกสัญญา
       บอกเลิกโดยผู้เอาประกันภัย ก็คือเราเดินเข้าไปบอกเลิกกับบริษัทเป็นลายลักษณ์อักษรและบริษัทจะหักเบี้ยประกันภัยในส่วนที่คุ้มครองไปแล้ว และจะคืนเงินให้ในส่วนที่เรายังไม่ได้รับความคุ้มครอง แต่ต้องเป็นแบบอัตราเบี้ยประกันภัยระยะสั้นเท่าันั้น (รับประกันภัยไม่เต็มปี )
       บอกเลิกโดยผู้รับประกันภัย  อันนี้ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือมาถึงเราไม่น้อยกว่า 15 วันทางไปรษณีย์ และบริษัทจะคืนเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยโดยหักออกตามอัตราส่วนเฉลี่ยรายวัน (Pro rata) ของระยะเวลาที่กรมธรรม์คุ้มครองไปแล้ว

3. การประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลที่สาม  ต้องเป็นเหตุจากวินาศภัยเท่านั้น และเราเป็นฝ่ายผิด เช่น  เราไปขับรถไปชนคนอื่น ประกันจะจ่ายเงินให้คนนั้นไปก่อน แล้วมาเก็บจากเราทีหลัง

4. การยกเว้นความผิดของผู้รับประกันภัย  (เมื่อเกิดความเสียหายตามประกันวินาศภัย)
     4.1 โดยผลของสัญญา  เช่น  มีข้อยกเว้นในสัญญาที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ที่ชัดเจน (สามารถซื้อเพิ่มได้)
     4.2 โดยผลของกฎหมาย   ถึงแม้จะไม่มีในสัญญากรมธรรม์ก็ตามแต่มีบางข้อที่เป็นกฎหมาย  เช่น  การใช้รถไปปล้นทรัพย์ผู้อื่นแล้วเกิดชน  ความประมาทเลินเล่อจนเกิดเหตุร้ายแรง  เหตุไม่สมประกอบในเนื้อวัตถุ (เช่นเนื้อหมู ขนมปัง  ตามกาลเวลามันก็ต้องเน่าเปื่อยใครจะไปรับประกันฟะ - -" ) ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 879

5. อายุความ  เกี่่ยวของกับการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนและค่าเบี้ยประกันภัย ก็คือสามารถเรียกร้องต่อกันได้กรณีเบี้ยวภายในระยะเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันเกิดวินาศภัยรวมถึงการฟ้องคดีด้วยนะครับจบแล้วจ้า หวังว่าทุกท่านคงจะได้รับความรู้กลับไปไม่มากก็น้อยนะครับ 
เขียนผิดพลาดประการใดก็บอกกล่าวกันด้วยนะครับแบบว่ายังไม่เก่งสักเท่าไหร่ :)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น