วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2556

องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัย

เพื่อไม่ให้เสียเวลาเรามาดูกันเลยดีกว่าครับว่ามีองค์กรอะไรบ้างที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการประกันภัย


1. คปภ. (สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย) (Office of insurance Commission ) หรือกรมการประกันภัยเดิม (โทร 1886)
     มีหน้าที่ กำกับ ควบคุม ดูแล คุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนด้านประกันภัย
มีจุดประสงค์เพื่อ ให้บริษัทประกันภัยมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับมาตรฐานสากล มีการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล ประชาชนต้องได้รับความเป็นธรรมจากประกันภัย ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของประกันภัยและสามารถเข้าถึงประกันภัยได้ง่าย และให้ความคุ้มครองบุคลากร(เจ้าหน้าที่ของบริษัทประกัน)ในการถูกฟ้องร้องโดยมีกฎหมายรองรับ ซึ่งเป็นสถานที่ที่ใช้สมัครสอบตัวแทนนายหน้าประกันชีวิต  (ที่นี่แหละครับพวกเหล่าบริษัทประกันชอบอ้างว่า้เป็นไปตามหลักกรมธรรม์ ต้องอย่างนี้ๆๆๆ ไม่พอใจให้ไปให้ไปถาม คปภ. หรือไปฟ้องร้องเอาเองเพราะเป็นคนออกกฎขึ้นมา ผมว่ามันเป็นช่องโหว่ของกรมธรรม์มากๆเลยที่ระบุคำพูดในกรมธรรม์ออกมาแล้วพวกบริษัทประกัน"เล่นคำ"ทำให้ผู้เอาประกัน"โกรธ"และ"เกลียด" ประกันไปเลย แต่มันก็ยากที่จะเก็บความเสี่ยงไว้เองโดยไม่ทำประกันก็เลยต้อง "เปลี่ยน" บริษัทอยู่ร่ำไป )

2.บริษัทประกันภัย (Insurance Company)
     พรบ. ประกันวินาศภัย 2535 และ พรบ. ประกันชีวิต 2535 ได้กำหนดว่าจะตั้งบริษัทประกันภัยได้ก็ต่อเมื่ออยู่ในรูป บริษัทจำกัด หรือ บริษัท มหาชน จำกัด เท่านั้นและได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการในด้านประกันภัยได้เท่านั้น  หน้าที่คงไม่ต้องบอกนะครับ - -a

3.บริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน) (Thai Reinsurance Public Co .,Ltd.)
     จัดตั้งโดยความร่วมมือของฝ่ายเอกชนและฝ่ายรัฐบาลเพื่อเป็นส่วนกลางของธุรกิจประกันภัยไทยและมีทุกบริษัทของบริษัทประกันภัยเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทนี้
     มีหน้าที่ ทำธุรกิจในด้านการประกันภัยต่อกับบริษัทผู้ประกอบกิจการประกันภัยด้วยกันเท่านั้น จะไม่มีการเสนอขายกรมธรรม์ให้แก่ประชาชนผู้เอาประกันทั่วไป  รับประกันภัยต่อจากต่างประเทศ (รับประกันภัยต่อภาษาบ้านๆก็คือช่วยกันแชร์ความเสี่ยงเพื่อไม่ให้บริษัทล้มละลายนั่นเอง) อีกทั้งเป็นศูนย์การประมวลสถิติผลงานของธุรกิจประกันภัยในประเทศไทย

4.สมาคมประกันวินาศภัย (Thai General Insurance Association)
     มีสมาชิกเป็นบริษัทประกันภัยที่จดทะเบียนในประเทศไทย 57 บริษัทและเป็นสาขาของบริษัทต่างประเทศอีก 5 บริษัท  วัตถุประสงค์ของสมาคมเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการประกอบวิสาหกิจเกี่ยวกับประกันภัย  เพื่อช่วยเหลือสมาชิกในบริษัทแก้ไขข้อขัดข้องต่างๆ รวมทั้งเจรจาตกลงกับบุคคลภายนอกเพื่อประโยชน์ร่วมกัน  ร่วมมือกับรัฐบาลในการส่งเสริมกิจการประกันภัย  วางระเบียบให้สมาชิกปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติเกี่ยวกับประกันภัยเพื่อให้เป็นไปด้วยความเรี่ยบร้อย  สอดส่องความเคลื่อนไหวของกิจการประกันภัยทั้งภายในและนอกประเทศ เผยแพร่ความรู้ด้านประกันภัยให้ประชาชน

5.สถาบันประกันภัยไทย ( Thailand Insurance Institute )
     เกิดขึ้นจากความร่วมมือของสมาคมประกันชีวิตและสมาคมประกันวินาศภัยและกรมการประกันภัย

     มีหน้าที่คือพัฒนาส่งเสริมความรู้และเผยแพร่ความรู้ด้านประกันภัยให้กับการประชาชนที่ใช้บริการประกันภัย

6.สมาคมประกันชีวิตไทย ( The Thai Life Assurance Association )
    เป็นศูนย์กลางในการประสานงาน ส่งเสริมกำดำเนินงาน ศึกษาค้นคว้าวิชาการ รวมถึงช่วยเหลือสนับสนุนสมาชิกในการดำเนินงานประกัน


7.สมาคมนายหน้าประกัน ( Insurance Brokers Association )
    เป็นการรวมตัวของผู้ที่ประกอบอาชีพเป็นหน้าหน้าประกันชีวิตและวินาศภัย เพื่อช่วยเหลือสมาชิกในการเจรจาแก้ไขปัญหา

8.สมาคมตัวแทนขายประกัน 

     เป็นการรวมตัวกันของตัวแทนประกันชีวิตและวินาศภัย เพื่อปกป้องรักษาผลประโยชน์ของผู้เอาประกันภัย

9.สมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทย (The Society of Actuaries of Thailand)
    กำหนด ส่งเสริมวิชาชีพนักคณิตศาสตร์ประกันภัยให้อยู่มาตรฐานสูง ทางด้านจริยธรรมทางวิชาชีพ ค้นคว้าวิจัยและเผยแพร่้เี่ยวกับความณู้ด้านคณิตศาสตร์ประกันภัย  เช่นในด้าน เศรษฐศาสตร์ การเงิน การลงทุน สถิติ บำนาญ สวัสดิการพนักงาน เป็นต้น  ทำหน้าที่ประสานงานทั้งในและนอกประเทศ
และไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง


10.สำนักงานอัตราเบี้ยประกันวินาศภัย (The Insurance Premium Rating Bureau)
     ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลสถิติของการประกันวินาศภัย (Data Bank) และนำเสนอต้นทุนความเสียหายอ้างอิงของแต่ละประเภทภัยซึ่งมีเยอะมากๆ เพื่อความเป็นธรรมในการกำหนดอัตราเบี้ยประกันแก่ทั้งสองฝ่าย

11.สำนักงานประกันสังคม ( ที่ถูกหักออกจากเงินเดือนของเรานั่นเอง) มีหน้าที่ดังนี้
     -  การรับเรื่องร้องเรียนจากผู้ประกันตนกรณีต่าง ๆรวมถึงดูแลข้อพิพาทระหว่างโรงพยาบาลกับผู้ประกันตนในเบื้องต้น
     - การจัดการและตรวจสอบกองทุนเงินทดแทนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเงื่อนไขของสำนักงานประกันสังคมเนื่องจากกองทุนทดแทนมีข้อบังคับที่ชัดเจนในเรื่องการบาดเจ็บจากการทำงานถึงจะทำการเบิกจ่ายได้
     - บริหารเงินของผู้ประกันตน นายจ้าง และรัฐบาลโดยพยายามให้ได้กำไรเสมอไม่ว่ามากหรือน้อยก็ตาม
     - รับการแจ้งเรื่องการขอเป็นผู้ประกันตนการลาออกจากการเป็นผู้ประกันตน
     - รับการแจ้งเรื่องเบิกจ่ายเงินค่าทันตกรรมของผู้ประกันตน ซึ่งปัจจุบันเบิกได้ 2 ครั้ง ครั้งละ 300 บาท
     - แจ้งข่าวสารให้บริษัทและผู้ประกันตนรับทราบรวมถึงการประสานงานที่ดีระหว่างเจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคลของบริษัทอันเป็นตัวแทนผู้ประกันตน
     - สำรองจ่ายงบฉุกเฉินเท่าที่จำเป็นในกรณีที่มีการประสบอันตรายฉุกเฉินสามารถรักษาได้ในโรงพยาบาลเฉพาะที่รับบัตรประกันสังคมทั่วราชอาณาจักรไทย
     - ดูแลการเบิกจ่ายให้เป็นไปตามเงื่อนไขของสำนักงานประกันสังคม อาทิเช่นกรณีคนไข้ต้องเข้าพักในโรงพยาบาล หรือต้องเคลื่อนย้ายคนไข้ด้วยรถพยาบาลรวมถึงให้การเบิกจ่ายเป็นไปอย่างถูกต้อง โปร่งใส สุจริต เที่ยงธรรมและสามารถตรวจสอบได้
     - รับแจ้งเรื่องขอเงินสงเคราะห์บุตรของผู้ประกันตน และการเสียชีวิตของผู้ประกันตนรวมถึงตรวจสอบการเบิกจ่ายให้เป็นไปตามเงื่อนไขของสำนักงานประกันสังคมอาทิเช่นการเสียชีวิตจากการทำงานหรือการเสียชีวิจจากเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงาน

กองทุนเงินทดแทน
 ค่ารักษาพยาบาลกรณีประสบอันตรายจากการทำงาน
 หลักฐานที่ต้องใช้เพื่อขอรับเงินทดแทนจากกองทุนเงินทดแทน
 ค่าทดแทนกรณีฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานภายหลังการประสบอันตราย
 ค่าทดแทนกรณีสูญเสียอวัยวะหรือสมรรถภาพในการทำงานของอวัยวะบางส่วน
 ค่าทดแทนกรณีไม่สามารถทำงานได้ติดต่อกันเกิน 3 วันขึ้นไป

12.บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด (โทร 02-100-9191)
     - ให้บริการเกี่ยวกับการรับคำร้องขอค่าเสียหายเบื้องต้นและการจ่ายค่าสินไหมทดแทนหรือเงินต่างๆ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฉบับที่ 3 พ.ศ.2540 และดำเนินกิจการตามที่บริษัทหรือสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจะได้มอบหมาย 
     - ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยเฉพาะการประกันภัยรถตามพระราชบัญญัตินี้ตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
     - ดำเนินกิจการอื่นตามที่กำหนดในหนังสือบริคณห์สนธิ (เงื่อนไขในนการตั้งบริษัทจำกัดนั่นเอง)    
     - จัดสอบใบอนุญาตตัวแทนประกันวินาศภัย
     - ทำหน้าที่รับประกันภัยเฉพาะรถจักรยานยนต์เท่านั้น

รวบรวมมาได้เท่านี้แหละครับ ใครมีอะไรเพิ่มเติมก็ช่วยคอมเม้นต์บอกกันด้วยนะครับ :)




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น