สัญญาประกันชีวิต เป็นสัญญาที่ผู้รับประกันภัยจะชดใช้เงินจำนวนหนึ่งที่แน่นอนให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับผลประโยชน์ ก็ต่อเมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิตหรือยังมีชีวิตอยู่จนถึงเวลาที่ตกลงกำหนดไว้
การโอนสิทธิตามสัญญาประกันชีวิต เช่น พ่อทำประกันชีวิตไว้หากเสียชีวิตลูกจะได้เงิน แต่ถึงกระนั้นพ่อก็สามารถโอนสิทธิ์ผู้รับผลประโยชน์ไปให้ผู้อื่นที่ไม่ใช่ลูกได้อยู่ เว้นแต่พ่อได้โอนส่งมอบกรมธรรม์ไปให้ลูกแล้วและลูกได้บอกกล่าวหนังสือไปให้ผู้รับประกันภัยว่า ตนจำนงจะถือเอาประโยชน์แห่งสัญญานั้น (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 891)
การยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันชีวิต ก็คือบริษัทประกันไม่สามารถจ่ายเงินชดเชยให้ได้เพราะเกิดจากเหตุเหล่านี้ เช่น
1. การกระทำอัตวินิบาตกรรม(ผู้ป่วยโรคจิตทางอารมณ์ คิดอยากฆ่าตัวตาย ขาดความคิด เสียสติ เป็นต้น)ภายในหนึ่งปีนับตั้งแต่วันทำสัญญา
2. ถูกผู้รับผลประโยชน์ฆ่าโดยเจตนา (กรณีนี้เมื่อเกิดเหตุบริษัทจะต้องชดใช้เงินค่าไถ่ถอนกรมธรรม์ให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือให้แก่ทายาทของผู้นั้น)
(ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 895)
3. ไม่ตรงไปตามเงื่อนไขกรมธรรม์
ในปัจจุบันคนไทยมีความรู้ในเรื่องประกันภัยกันน้อยมาก เพราะคิดว่าเสียเงินโดยสูญเปล่าและคิดว่าไม่มีความจำเป็นต้องทำ อีกทั้งยังมีความรู้สึกในแง่ลบต่อธุรกิจประกันภัย แต่หากเราลองศึกษาการประกันภัยจริงๆ ก็จะพบว่าเป็นการลงทุนที่น่าสนใจอีกช่องทางหนึ่งและเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในวันที่คุณไม่คาดคิดมาถึง ดังนั้นเราต้องศึกษาให้ดีทั้งในเรื่องตัวแทน บริษัท ประวัติ ภัย ค่าสินไหม ระยะเวลา และอีกหลายอย่างเป็นต้น เพื่อผลประโยชน์ของตัวเราเองและคนที่คุณรัก
วันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2556
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น