วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

ชนแล้วหนี ห้ามทำเด็ดขาด มีโทษตามกฎหมาย

 เมื่อเกิดเหตุรถชนสิ่งที่เราควรทำคือ หยุดรถแล้วลงมาจากรถทันที เพื่อแสดงความรับผิดชอบ ไม่ว่าเราจะเป็นฝ่ายถูกหรือผิดก็ตาม แต่ถ้าเราขับรถหนีไป เราจะโดนสันนิษฐานว่าเป็นคนผิดทันที และจะถือว่าเป็นคดีอาญา เราจำเป็นต้องไปมอบตัวภายใน 6 เดือน ไม่เช่นนั้นจะถูกยึดรถ แต่หากต้องการจะหลบหนีต้องหลบหนีนานถึง 15 ปีเลยทีเดียว ยังไม่นับรวมกรณีมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ค่าเสียหายอื่นๆ แต่ในทางกลับกันถ้าเราลงมาช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ แม้ว่าจะเป็นฝ่ายผิด หากถึงขั้นขึ้นศาล ศาลก็จะปราณีลดโทษให้ตามความเหมาะสม


ชนแล้วหนี เปลี่ยนจากโทษเบาเป็นโทษหนักทันที

พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 78 ได้ระบุถึงความผิดฐานไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือว่า

“ผู้ใดขับรถหรือขี่หรือควบคุมสัตว์ ในทางซึ่งก่อให้เกิดความ เสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นความผิดของผู้ขับขี่ หรือผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์หรือไม่ก็ตาม ต้องหยุดรถ หรือสัตว์ และให้ความ ช่วยเหลือตามสมควรและพร้อมทั้งแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ที่ใกล้เคียงทันที กับต้องแจ้งชื่อตัว ชื่อสกุล และที่อยู่ของตนและหมายเลข ทะเบียนรถแก่ผู้ได้รับความเสียหายด้วย”

หากเราหลบหนีแล้วโดนจับได้ จะมีบทลงโทษ ดังนี้


- กรณีที่ไม่มีผู้บาดเจ็บ หรือถึงแก่ชีวิต : จำคุก 3 เดือน หรือ ปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

- กรณีมีผู้บาดเจ็บ หรือถึงแก่ชีวิต : จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือ ปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


ต้องทำอย่างไรบ้าง หากเกิดอุบัติเหตุขึ้น

ทำเครื่องหมายสัญญาณให้ชัดเจน

1. ทำเครื่องหมายสัญญาณให้ชัดเจน เช่น วางป้ายหรือสิ่งของเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุซ้ำ หรืออย่างน้อยที่สุดให้เปิดไฟฉุกเฉินไว้


ช่วยเหลือแก่ผู้บาดเจ็บ

2. ให้การช่วยเหลือแก่ผู้บาดเจ็บเท่าที่จะทำได้ หากมีผู้บาดเจ็บที่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ควรใช้บริการเลขหมาย 1669 ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ซึ่งให้บริการรถฉุกเฉินนำส่งผู้บาดเจ็บไปยังโรงพยาบาลใกล้เคียงโดยไม่มีค่าใช้จ่าย


แจ้งตำรวจในท้องที่โดยเร็ว

3. แจ้งตำรวจในท้องที่โดยเร็ว ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุจนไม่สามารถเคลื่อนย้ายรถได้ เพื่อทำการตรวจสอบที่เกิดเหตุและลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน รวมถึงเพื่อระบายปัญหาจราจรในกรณีมีการกีดขวางเส้นทาง


แจ้งบริษัทประกันภัย

4. แจ้งบริษัทประกันภัย เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความเสียหายสำหรับการประเมินราคาและการซ่อมต่อไป






























น้ำเข้าเครื่องยนต์ ทำอย่างไรดี ?

 ฤดูกาลที่เปลี่ยนไปมีส่วนทำให้รถแสนรักเกิดอาการงอแงต่างกันไป แต่มีอยู่หนึ่งอาการที่เป็นได้ทั้งหน้าร้อน และหน้าฝน นั่นก็คืออาการน้ำเข้าเครื่องยนต์ อาการ และวิธีแก้เป็นอย่างไร มาดูกัน


สาเหตุ ของน้ำเข้าเครื่องยนต์มาจาก 2 สาเหตุหลัก นั่นก็คือ เกิดจากการรั่วภายใน และน้ำจากภายนอกเข้าไป


1. การรั่วภายใน

เกิดเวลาที่เครื่องยนต์ร้อนจัด ประกอบกับอากาศร้อน ทำให้เครื่องยนต์ยิ่งร้อนขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดสองอาการนี้ อาการแรกคือประเก็นฝาสูบที่ทำหน้าที่ปิดทางน้ำหล่อเย็นที่ไหลเวียนบนช่องท่อในเครื่องยนต์ ขาด หรือแตก เลยทำให้น้ำไหลเข้าไปปนกับน้ำมันเครื่องยนต์ อาการที่สองคือ ฝาสูบเครื่องยนต์โก่ง ทำให้มีช่องว่างให้น้ำเข้าไปปนกับน้ำมันเครื่องยนต์ได้


วิธีเช็ก หมั่นตรวจเช็กดูปริมาณน้ำในหม้อน้ำว่าอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่ หากลดลงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดและต้องคอยเติมบ่อยๆ ให้ลองหาจุดรั่วภายนอกก่อน หากไม่เจอจุดรั่วภายนอก ลองเช็กจากแผ่นวัดน้ำมันเครื่อง โดยดึงแผ่นวัดน้ำมันเครื่องออกมาดู หากน้ำมันไม่ใส เป็นสีขุ่นๆ เหมือนกาแฟใส่นม ประกอบกับเครื่องยนต์มีอาการกำลังเครื่องตก เครื่องร้อน เดินเบาสั่น ให้สงสัยได้เลยว่าอาจมีน้ำเข้าเครื่องยนต์



2. น้ำเข้าจากภายนอก

เกิดจากเวลาขับรถลุยน้ำท่วม ไม่ว่าจะค่อยๆ ขับ หรือขับลุยน้ำไปอย่างเร็วก็ตาม น้ำจะเข้าผ่านท่อดูดอากาศไอดี เข้าห้องเผาไหม้ ซึ่งจะทำให้เครื่องดับ


วิธีเช็ก หากขับลุยน้ำอยู่แล้วเครื่องยนต์ดับ อย่าพยายามสตาร์ทรถใหม่ทันที แล้วลองเปิดฝากระโปรงเพื่อเช็กเสื้อกรองอากาศว่าเปียกหรือไม่ ถ้าเปียกแปลว่าน้ำเข้า


วิธีแก้ไข

ให้แก้ไขสาเหตุที่ทำให้น้ำเข้าเครื่องก่อน จากนั้นให้ถ่ายน้ำมันเครื่องออก แล้วเติมน้ำมันเครื่องใหม่เข้าไป ก็จะสามารถนำรถไปใช้ได้



อีกวิธี

ขั้นตอนในการแก้น้ำเข้าเครื่อง (เครื่องดับเพราะขี่รถลุยน้ำท่วม)

1 ให้เข็นให้ออกจากบริเวณน้ำท่วมให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ โดยให้ระดับน้ำอยู่ใต้ท่อไอเสีย

2 ลองสตาร์ทเครื่องยนต์

3 ให้ถอดหมอกรองอากาศออกเพื่อระบายน้ำที่ขังอยู่ข้างใน

4 ระบายน้ำออกจากท่อไอเสียให้หมด

5 ถอดหัวเทียนออกแล้ว ทำให้แห้ง

6 ระบายน้ำออกจากในเสื้อสูบ

7 ประกอบทุกอย่างกลับ

8 ลองสตาร์ทเครื่องยนต์ใหม่


ขั้นตอนในการแก้น้ำเข้าเครื่อง (สำหรับที่รถจมน้ำ)

1 ให้เข็นให้ออกจากบริเวณน้ำท่วมให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ โดยให้ระดับน้ำอยู่ใต้ท่อไอเสีย

2 ห้ามลองสตาร์ทเครื่องยนต์เด็ดขาด *** ห้าม ***

3 ให้ถอดหมอกรองอากาศออกเพื่อระบายน้ำที่ขังอยู่ข้างใน

4 ระบายน้ำออกจากท่อไอเสียให้หมด

5 ถอดหัวเทียนออกแล้ว ทำให้แห้ง

6 ระบายน้ำออกจากในเสื้อสูบ

7 ประกอบทุกอย่างกลับ

8 เปลี่ยนถ่ายของเหลวของรถใหม่ ( น้ำมัน และ น้ำมันเครื่อง )

9 เช็คระบบไฟฟ้าในรถ

10 ลองสตาร์ทเครื่องยนต์ใหม่


*** หมายเหตุ ขั้นตอน 3-6 จะทำอันไหนก่อนหลังก็ได้ ***




สัญญาณที่บอกว่า ถึงเวลาควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง แล้วสินะ

4 สัญญาณที่บอกว่า ถึงเวลาควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง

น้ำมันเครื่องเมื่อใช้งานเป็นเวลานานจะมีการเสื่อมสภาพ ส่งผลให้เครื่องยนต์ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ และยังอาจส่งผลเสียกับเครื่องยนต์อีกด้วย โดยน้ำมันเครื่องที่เสื่อมสภาพสังเกตได้จากอาการผิดปกติของรถยนต์ดังนี้

1. เครื่องยนต์เสียงดังผิดปกติ

2. รถเร่งไม่ค่อยขึ้น

3. รถกินน้ำมันมากกว่าปกติ

4. สีของน้ำมันเครื่องเป็นสีดำ

นอกจากนี้รถที่จอดทิ้งไว้นานๆ ก็จำเป็นต้องเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเช่นกัน

ดังนั้นเราควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องตามระยะที่กำหนด คือ 8,000 – 10,000 ก.ม. หรือทุกๆ 6 เดือน และควรเลือกใช้น้ำมันเครื่องที่ตรงตามรุ่นรถ