วันอังคารที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เตือนภัยระวัง โดนกลุ่มมิจฉาชีพอ้างตนขายประกันภัย,ประกันชีวิตปลอม

     ลองอ่านบทความนี้สักนิดจะได้มีความรู้ไว้ต่อสู้กับกลุ่มมิจฉาชีพที่อ้างตนรับประกันภัยปลอมๆครับ
อาจจะได้ซื้อกระดาษเปล่าในราคาแพงโดยที่ไม่รู้ตัวเลยก็ได้

     ทุกอย่างกำลังดำเนินเรื่องไปอย่างสวยงาม แต่ทว่ากว่าจะรู้ตัวเองว่าถูกหลอกต้มตุ๋นก็สายไปเสียแล้ว มิจฉาชีพพวกนี้หลอกลวงเอาเงินได้เก่งอย่างแนบเนียน พวกนี้จะมีเอกสารให้ดูน่าเชื่อถือเมื่อมาติดต่อให้ซื้อประกันหรือเสนอขายประกัน พวกท่านอย่านิ่งดูดายด้วยความเกรงอกเกรงใจ เงินของเราเราก็หามาอย่างยากลำบาก เราต้องทำทุักอย่างเพื่อรักษาประโยชน์ส่วนตน เราก็มีภาระที่จะต้องใช้เงิน ฉะนั้น "อย่าเกรงใจคนจนโดนหลอก"   เรามาดูวิธีการของแก๊งมิจฉาชีพแบบมืออาชีพพวกนี้กันดีกว่าครับ

     เอาเป็นกรณีที่มาเคาะประตูหน้าบ้านเลยดีกว่าครับ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นตัวแทนจริงๆ ?
หรืออีกกรณีว่าเขามีข้อมูลการทำประกันภัยของเรามาประกอบด้วยแบบว่าสมจริงมากไม่รู้มาจากบริษัทที่เรากำลังทำจริงๆหรือว่าปลอมมา(เราคงไม่เอะใจถ้าไม่เคยโดนมาก่อนเพราะเราก็ทำอยู่จริงๆนั่นเอง)
ทั่งนี้จะเช็คอย่างไรดี
กรณีเจอแบบนี้ให้เราดูแบบนี้ก่อนเลยครับ
     1.ขอดูบัตรตัวแทนหรือบัตรนายหน้า (อาจจะเป็นบัตรปลอมก็เป็นได้สมัยนี้เทคโนโลยีมันกว้างไกล แต่ถ้าไม่มีบัตรคือจบ)
     2.>>>ลองเช็ครายชื่อ เลขที่ใบอนุญาต ตัวแทน นายหน้าได้ที่นี่<<<  (ถ้ายังไม่มีอีกก็ระวังไว้เลย)
     3.โทรถามเช็คใบอนุญาตทันทีที่ 1186 (คปภ.)

     แต่ถ้าเวลาเจอกันแล้วไม่มีเวลาเช็คล่ะทำอย่างไร ทุกอย่างมันเร็วเหลือเกิน ฝั่งโน้นก็พูดข้อเสนอแสนดี  ไอเราก็เกรงใจจนไม่ได้ระวังตัวอะไรเลย
     1.เพื่อความให้เกียรติเขาผู้ที่จะรับเงินเราเผื่อจะมาจากบริษัทจริงๆ ขอสำเนาบัตรประชาชนของเขาพร้อมทั้งเบอร์โทรติดต่อ(อันนี้ที่ทำใช้กันหลักๆในปัจจุบันเพื่อยืนยันความบริสุทธิ์) หน้าต้องเหมือนคนที่ติดต่อเป๊ะๆเลยนะดูดีๆด้วยล่ะ ไม่ใช่ไปเอาของคนอื่นมา)
     2.ถ้าเขามีท่าทีพิรุธหรือว่าเรายังกังวลใจ ให้โทรไปถามบริษัทประกันที่เราทำอยู่เลย ว่าได้มอบอำนาจให้นายคนนี้เป็นตัวแทนมาเก็บเงินได้จริงหรือเปล่า

     เมื่อเช็คในเรื่องตัวบุคคลจนแน่ใจแล้วลำดับต่อไปเมื่อเราสนใจรับข้อเสนอและต้องชำระเบี้ยประกัน
     1.กรณีที่ต้องชำระเป็นเงินสด ต้องได้ใบเสร็จรับเงินทันทีและต้องเป็นใบเสร็จตัวจริงไม่ใช่ใบเสร็จชั่วคราว (ไม่มีการได้ใบเสร็จทีหลัง ต้องได้เดี๋ยวนั้นทันทีในเมื่อคุณมาถึงที่จะมาอ้างไม่ได้ต้องมีความพร้อม อย่าไปเชื่อว่าจะได้ทีหลังเพราะพวกนี้จะเอาเงินไปใช้เองน่ะสิ พอเกิดเรื่องขึ้นมายิ่งเป็นประกันชีวิตนะ บริษัทก็ตอบมาทันทีว่าท่านไม่เคยส่งเบี้ยประกันไปชำระเลยสักงวดหรือเราขาดส่งเบี้ยประกันจนกรมธรรม์สิ้นผลเป็นโมฆะ อย่าไปเชื่อใจกันเด็ดขาด ยิ่งถ้าไม่ให้ใบเสร็จสักสองรอบชำระติดต่อกันก็ชัดเลยโดนหลอกไปเต็มๆ)
ที่สำคัญเลยให้ตรวจเช็คใบเสร็จว่า เป็นใบเสร็จรับเงินของทางบริษัทนั้นหรือจริงเปล่ามีตราอะไรไหม มีลายเซ็นของผู้รับเงินหรือไม่ หรือเป็นใบโล่งๆซึ่งไม่ใช่แน่นอน
     2.กรณีไปชำระเงินทางบัตรเครดิตหรือเดินทางไปชำระ (ภายใน 60 วันมิฉะนั้นสัญญาเป็นโมฆะ) ให้เก็บหลักฐานที่โอนเงินไว้ด้วยอย่าทิ้ง (สำคัญมาก)
   
 3.เมื่อชำระเงินแล้ว ภายใน 15 วัน เราจะต้องได้รับกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งจะประกอบด้วย ตารางกรมธรรม์และตัว Wording ต่างๆ ความคุ้มครอง ข้อยกเว้น และข้อควรกระทำเมื่อเกิดเหตุ เป็นต้น หากยังไมได้รับให้รีบติดต่อไปยังบริษัทที่เราทำประกันภัย

*** ทุกครั้งที่เราทำประกันภัยนั้นจะต้องได้รับชื่อบริษัทประกันที่เราทำรับประกันภัยด้วยโดยได้รับการรับรองจาก คปภ.ให้อนุญาติสามารถดำเนินกิจการการทำประกันภัยชีวิตและวินาศภัยแล้ว    ซึ่งมิใช่บริษัทโบรคเกอร์หรือนายหน้า โดยสามารถเช็คชื่อบริษัทที่ได้ที่นี่
>>>รายชื่อบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทยทั้งหมด<<<
>>>รายชื่อบริษัทประกันวินาศภัยในประเทศไทยทั้งหมด<<<

     กรณีอีกรูปแบบหนึ่งคือโทรมาซื้อขายทางโทรศัพท์     บริการหนึ่งที่มักถูกเสนอขายทางโทรศัพท์มือถือก็คือ "การขายประกัน" ซึ่งผู้ที่ถูกเสนอขายมักเป็นผู้ถือบัตรเครดิต ซึ่งบริษัทประกันชีวิตและบริษัทประกันภัยจะได้ข้อมูลลูกค้าจากบริษัทผู้ให้บริการบัตรเครดิต แล้วจะมีเจ้าหน้าที่โทรศัพท์ไปเชิญชวนให้ซื้อประกัน โดยที่นิยมมากคือการขายประกันอุบัติเหตุ โดยผู้รับโทรศัพท์มักได้รับการหว่านล้อมว่าการซื้อประกันผ่านโทรศัพท์เบี้ยประกันจะต่ำเฉลี่ยเดือนละ 150 - 200 บาท และได้รับวงเงินความคุ้มครองสูงถึง 100,000 - 500,000 บาท ซึ่งจากข้อมูลการร้องเรียนผ่านสายด่วนประกันภัย 1186 ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)
>>>มีตัวอย่างรูปแบบซื้อขายกรณีมิจฉาชีพหลอกลวง<<

ปล.ถ้าไว้ใจก็ทำไปครับแต่ถ้าไม่มั่นใจจริงๆให้บอกว่าจะไปติดต่อที่บริษัทเอาเองในภายหลัง  :)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น