วัตถุประสงค์
เป็นกองทุนให้หลักประกันแก่ผู้เอาประกัน ให้ได้รับผลประโยชน์ทดแทนเมื่อต้องประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือตาย ซึ่งไม่ใช้เนื่องจากการทำงาน รวมทั้งกรณีคลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพและว่างงาน
การประสังคมคืออะไร
การประกันสังคม คือ การสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตในกลุ่มของสมาชิกที่มีรายได้และจ่ายเงิน สมทบเข้ากองทุนประกันสังคม เพื่อรับผิดชอบในการเฉลี่ยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพและว่างงาน เพื่อให้ได้รับการรักษาพยาบาลและมีรายได้อย่างต่อเนื่อง
งานประกันสังคมดำเนินการตามกฎหมายอะไร
งานประกันสังคมดำเนินการตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศง 2533 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับ ที่ 2) พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2533 แก้ไขเพิ่มเติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 และพระราชกฤษฎีกากำหนดระยะเวลาเริ่มดำเนินการจัดเก็บเงินสมทบเพื่อการให้ ประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน พ.ศ. 2546
ใครคือผู้ประกันตน
ผู้ประกันตน คือ ลูกจ้างที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ในวันเข้าทำงาน และทำงานอยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป
ยื่นแบบขึ้นทะเบียนเมื่อใด
นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ต้องขึ้นทะเบียนนายจ้างพร้อมกับขึ้นทะเบียนลูกจ้าง เป็นผู้ประกันตน ภายใน 30 วัน และเมื่อมีการรับลูกจ้างใหม่เพิ่มขึ้นต้องแจ้งขึ้นทะเบียนลูกจ้างใหม่ภายใน 30 วัน เช่นกัน
เงินสมทบคืออะไร
เงินสมทบ คือ เงินที่นายจ้าง ลูกจ้างจะต้องนำส่งเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน โดยคำนวณจากค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับ ซึ่งกำหนดจากฐานค่าจ้างเป็นรายเดือนต่ำสุดเดือนละ 1,650 บาท สูงสุดเดือนละ 15,000 บาท ทั้งนี้รัฐบาลจะออกเงินสมทบเข้ากองทุนอีกส่วนหนึ่ง
ในปัจจุบันคนไทยมีความรู้ในเรื่องประกันภัยกันน้อยมาก เพราะคิดว่าเสียเงินโดยสูญเปล่าและคิดว่าไม่มีความจำเป็นต้องทำ อีกทั้งยังมีความรู้สึกในแง่ลบต่อธุรกิจประกันภัย แต่หากเราลองศึกษาการประกันภัยจริงๆ ก็จะพบว่าเป็นการลงทุนที่น่าสนใจอีกช่องทางหนึ่งและเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในวันที่คุณไม่คาดคิดมาถึง ดังนั้นเราต้องศึกษาให้ดีทั้งในเรื่องตัวแทน บริษัท ประวัติ ภัย ค่าสินไหม ระยะเวลา และอีกหลายอย่างเป็นต้น เพื่อผลประโยชน์ของตัวเราเองและคนที่คุณรัก
วันอังคารที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556
วันเสาร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
ความเสี่ยงภัยคืออะไร มีลักษณะและวิธีจัดการกี่รูปแบบ อะไรบ้าง
ความเสี่ยงภัย (Risk) หมายถึง โอกาสซึ่งเป็นไปได้ที่สามารถจะเกิดเหตุการณ์ที่ไม่ปกติขึ้นโดยไม่เจตนา โดยเป็นเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือความเสียสูญเสียทั้งในด้านทรัพย์สินหรือร่างกาย และก่อให้เกิดความสูญเสียในรูปตัวเงินที่ไม่เกิดประโยชน์
ลักษณะของความเสี่ยงภัยที่สามารถจะเอาประกันภัยได้ มีดังต่อไปนี้
1. ความเสี่ยงภัยนั้นควรจะต้องเป็นความเสี่ยงภัยที่แท้จริงและเป็นความเสี่ยงภัยจำเพาะ
2. ความเสี่ยงภัยนั้นจะต้องมีหน่วยที่คล้ายคลึงกันเป็นจำนวนมาก
3. ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นนั้น ต้องเป็นอุบัติเหตุและไม่ได้เกิดขึ้นจากการกระทำ โดยเจตนาของผู้เอาประกันภัย
4. ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นนั้น ต้องสามารถหาสาเหตุและประเมินความเสียหายเป็นตัวเงินได้
5. ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นนั้นจะต้องไม่เป็นมหันตภัย
6. ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นนั้น ผู้เอาประกันต้องมีส่วนได้ส่วนเสียด้วย
7. โอกาสที่จะเกิดในตัวความเสียหายต้องสามารถคำนวณหรือประมาณค่าได้
วิธีจัดการกับความเสี่ยงภัย แบ่งออกได้เป็น 4 รูปแบบได้แก่
1. การหลีกเลี่ยงความเสี่ยงภัย (Risk avoid) โดยการพยายามหลีกเลี่ยงสาเหตุที่อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายนั้น
2. การลดความเสี่ยงภัย (Risk reduction) สามารถทำได้โดยการป้องกันการเกิดความเสียหายโดยกระทำก่อนที่จะมีความเสียหายขึ้น
เช่น - การตรวจสภาพเครื่องยนต์ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ
- การที่เจ้าหน้าที่ดับเพลิงทำการดับเพลิงที่เกิดขึ้นอย่างทันท่วงที
- การแยกทรัพย์สิน เช่นการตั้งโรงงานและโกดังไว้คนละสถานที่
3. การรับเสี่ยงภัยไว้เอง (Risk retention)
ได้แก่การรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากภัยไว้เอง เนื่องจากภัยบางอย่างอาจจะเล็กมาก จนไม่
จำเป็นต้องหาวิธีจัดการกับความเสี่ยงภัย
เช่น - ความเสื่อมสภาพของวัสดุสำนักงาน
- การเอาประกันภัยรถยนต์แบบมีความรับผิดชอบต่อความเสียหายส่วนแรกไม่เกิน 1,000 บาท
4. การโอนความเสี่ยงภัย (Risk transfer)
เป็นวิธีการจัดการกับความเสี่ยงภัยที่ได้รับความนิยมมากที่สุดวิธีหนึ่ง ด้วยการโอนความเสี่ยงภัย
เกี่ยวกับความเสียหายทางการเงินและความรับผิดต่าง ๆ ไปให้บุคคลอื่นรับภาระแทน ทำได้ 2 วิธี คือ
4.1 การโอนความเสี่ยงภัยในรูปแบบของการประกันภัย (Insurance transfer)
4.2 การโอนความเสี่ยงภัยไปให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่การประกันภัย (Non-insurance transfer)
เช่น การจ้างบริษัทอื่นทำความสะอาดภายนอกอาคารสูง ๆที่มีความอันตรายสูง
ลักษณะของความเสี่ยงภัยที่สามารถจะเอาประกันภัยได้ มีดังต่อไปนี้
1. ความเสี่ยงภัยนั้นควรจะต้องเป็นความเสี่ยงภัยที่แท้จริงและเป็นความเสี่ยงภัยจำเพาะ
2. ความเสี่ยงภัยนั้นจะต้องมีหน่วยที่คล้ายคลึงกันเป็นจำนวนมาก
3. ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นนั้น ต้องเป็นอุบัติเหตุและไม่ได้เกิดขึ้นจากการกระทำ โดยเจตนาของผู้เอาประกันภัย
4. ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นนั้น ต้องสามารถหาสาเหตุและประเมินความเสียหายเป็นตัวเงินได้
5. ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นนั้นจะต้องไม่เป็นมหันตภัย
6. ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นนั้น ผู้เอาประกันต้องมีส่วนได้ส่วนเสียด้วย
7. โอกาสที่จะเกิดในตัวความเสียหายต้องสามารถคำนวณหรือประมาณค่าได้
วิธีจัดการกับความเสี่ยงภัย แบ่งออกได้เป็น 4 รูปแบบได้แก่
1. การหลีกเลี่ยงความเสี่ยงภัย (Risk avoid) โดยการพยายามหลีกเลี่ยงสาเหตุที่อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายนั้น
2. การลดความเสี่ยงภัย (Risk reduction) สามารถทำได้โดยการป้องกันการเกิดความเสียหายโดยกระทำก่อนที่จะมีความเสียหายขึ้น
เช่น - การตรวจสภาพเครื่องยนต์ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ
- การที่เจ้าหน้าที่ดับเพลิงทำการดับเพลิงที่เกิดขึ้นอย่างทันท่วงที
- การแยกทรัพย์สิน เช่นการตั้งโรงงานและโกดังไว้คนละสถานที่
3. การรับเสี่ยงภัยไว้เอง (Risk retention)
ได้แก่การรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากภัยไว้เอง เนื่องจากภัยบางอย่างอาจจะเล็กมาก จนไม่
จำเป็นต้องหาวิธีจัดการกับความเสี่ยงภัย
เช่น - ความเสื่อมสภาพของวัสดุสำนักงาน
- การเอาประกันภัยรถยนต์แบบมีความรับผิดชอบต่อความเสียหายส่วนแรกไม่เกิน 1,000 บาท
4. การโอนความเสี่ยงภัย (Risk transfer)
เป็นวิธีการจัดการกับความเสี่ยงภัยที่ได้รับความนิยมมากที่สุดวิธีหนึ่ง ด้วยการโอนความเสี่ยงภัย
เกี่ยวกับความเสียหายทางการเงินและความรับผิดต่าง ๆ ไปให้บุคคลอื่นรับภาระแทน ทำได้ 2 วิธี คือ
4.1 การโอนความเสี่ยงภัยในรูปแบบของการประกันภัย (Insurance transfer)
4.2 การโอนความเสี่ยงภัยไปให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่การประกันภัย (Non-insurance transfer)
เช่น การจ้างบริษัทอื่นทำความสะอาดภายนอกอาคารสูง ๆที่มีความอันตรายสูง
วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556
หลักการคำนวณ Loss Ratio (สัดส่วนของค่าสินไหมทดแทนต่อค่าเบี้ยประกันภัย) เบื้องต้น
ในปัจจุบันธุรกิจประกันภัยเป็นธุรกิจที่รับประกันในด้านความเสี่ยงภัยที่เกิดขึ้น และต้องจัดการกับความไม่แน่นอนอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องด้านชีวิต หรือทรัพย์สินของบุคคล ดังนั้นการบริหารความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นด้วยการถ่ายโอนความเสี่ยง การหลีกเลี่ยง หรือ การรับความเสี่ยงนั้นไว้เอง ทางบริษัทประกันภัยนั้นจำเป็นที่จะต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนถึงความไม่แน่นอนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งการประกันภัยนั้นก็มีหลากหลายประเภท ได้แก่ การประกันชีวิต การประกันภัยอุบัติเหตุเอื้ออาทร การประกันภัยทางทะเล การประกันภัย อัคคีภัย การประกันภัยรถ เป็นต้น
การประกันภัยแต่ละประเภทก็จะมีรายละเอียดและเงื่อนไขแตกต่างกันไป และ การประกันภัยรถ เป็นการประกันภัยที่ใกล้ตัวเรามากที่สุด แบ่งออกเป็น การประกันภัยรถโดยข้อบังคับแห่งกฎหมาย และ การประกันภัยรถโดยความสมัครใจ ซึ่งกรมธรรม์ภาคสมัครใจนั้นมีรายละเอียดในการกำหนดความคุ้มครองมาก และยากต่อการกำหนดให้เหมาะสมเนื่องจากการกำหนดความคุ้มครองนั้นมีผลต่อค่าเบี้ยประกันภัย และค่าสินไหมทดแทน ดังนั้นหากบริษัทประกันภัยใดสามารถกำหนดความคุ้มครองและอัตราเบี้ยประกันภัยให้เหมาะสมได้ ผู้บริโภคก็จะได้ซื้อกรมธรรม์ในราคาที่เป็นธรรม และบริษัทประกันภัยก็จะได้อัตราเบี้ยประกันภัยที่เป็นไปตามสภาพความเสี่ยงภัยที่แท้จริงของธุรกิจมากยิ่งขึ้น
ในปัจจุบันการกำหนดค่าเบี้ยประกันภัยของกรมธรรม์ภาคสมัครใจนั้นจะกำหนดจาก เบี้ยฐานและความคุ้มครอง จากนั้นจะดูค่า Loss Ratio คือ สัดส่วนของค่าสินไหมทดแทนต่อค่าเบี้ยประกันภัย หากค่า Loss Ratio สูงแสดงว่ามีค่าสินไหมสูง ค่า Loss Ratio สามารถหาได้ดังนี้
[Loss Ratio = (ค่าสินไหมทดแทนที่เกิดขึ้นระหว่างปี / เบี้ยประกันภัยที่ถือเป้นรายได้ ) * 100]
การกำหนดค่าเบี้ยจะดูจากค่า Loss Ratio เป็นกลุ่มรถ เช่น รถยนต์นั่งส่วนบุคคล
รถบรรทุก เป็นต้น ซึ่งจะทำให้การกำหนดรายละเอียดความคุ้มครองนั้นพอทำได้แต่ไม่ดีนัก แต่ถ้าสามารถกำหนดรายละเอียดความคุ้มครอง ตาม Loss Ratio ของกลุ่มความเสียหายได้ก็จะทำให้การกำหนดค่าเบี้ยประกันภัยนั้นเหมาะสมยิ่งขึ้น การกำหนดค่าเบี้ยประกันภัยรถโดยความสมัครใจนั้นหากกำหนดความคุ้มครองสูง จะทำให้ได้ค่าเบี้ยประกันภัยสูงตามไปด้วย แต่ถ้าเพิ่มความคุ้มครองหรือเบี้ยฐานไม่ถูกส่วนก็จะทำให้ค่าสินไหมทดแทนสูงตามไปด้วย สรุปว่า ค่า Loss Ratio เท่าเดิม และหากกำหนดความคุ้มครองต่ำ ก็จะทำให้ได้ค่าเบี้ยประกันภัยต่ำเช่นกัน เพื่อที่จะสามารถแข่งขันในตลาดได้ แต่ถ้าลดความคุ้มครองหรือเบี้ยฐานไม่ถูกส่วนก็ทำให้ค่าสินไหมทดแทนสูงเท่าเดิม สรุปว่า ค่า Loss Ratio สูงขึ้น แสดงว่าหากเราต้องการเพิ่มหรือลดค่าเบี้ยประกันภัย เราต้องคำนึงถึงการกำหนดเบี้ยฐานหรือความคุ้มครองให้เหมาะสม เพราะหากเรากำหนดไม่เหมาะสมแล้วจะทำให้ไม่สามารถ ลดค่า Loss Ratio ได้ซึ่งปัจจุบันการกำหนดค่าเบี้ยประกันภัยนั้นผู้บริหารต้องดูค่า Loss Ratio เป็นกลุ่มรถ ซึ่งในการดูค่า Loss Ratio นั้นต้องใช้รายงานค่าเบี้ยประกันภัย และ รายงานค่าสินไหมทดแทน เพื่อช่วยในการพิจารณาด้วย เพื่อพิจารณากำหนดความคุ้มครองและเบี้ยฐาน และรถแต่ละกลุ่มนั้นมีรายละเอียดต่างกัน ทำให้การพิจารณานั้นใช้เวลานานและอาจไม่เหมาะสม และเมื่อกำหนดค่าเบี้ยประกันภัยไปแล้วต้องตามดูค่า Loss Ratio อีกครั้ง เพื่อตรวจสอบว่าค่าเบี้ยประกันภัยที่กำหนดไว้นั้นมีค่า Loss Ratio สูงเกินไปหรือไม่ หากค่า Loss Ratio สูง ก็ต้องกำหนดค่าเบี้ยประกันภัยใหม่อีกครั้ง ดังนั้นหากมีระบบสนับสนุนการตัดสินใจการกำหนดค่าเบี้ยประกันภัยจะทำให้การพิจารณากำหนดความคุ้มครองนั้นสะดวกรวดเร็วขึ้นและมีความเหมาะสมที่มากขึ้น
การประกันภัยแต่ละประเภทก็จะมีรายละเอียดและเงื่อนไขแตกต่างกันไป และ การประกันภัยรถ เป็นการประกันภัยที่ใกล้ตัวเรามากที่สุด แบ่งออกเป็น การประกันภัยรถโดยข้อบังคับแห่งกฎหมาย และ การประกันภัยรถโดยความสมัครใจ ซึ่งกรมธรรม์ภาคสมัครใจนั้นมีรายละเอียดในการกำหนดความคุ้มครองมาก และยากต่อการกำหนดให้เหมาะสมเนื่องจากการกำหนดความคุ้มครองนั้นมีผลต่อค่าเบี้ยประกันภัย และค่าสินไหมทดแทน ดังนั้นหากบริษัทประกันภัยใดสามารถกำหนดความคุ้มครองและอัตราเบี้ยประกันภัยให้เหมาะสมได้ ผู้บริโภคก็จะได้ซื้อกรมธรรม์ในราคาที่เป็นธรรม และบริษัทประกันภัยก็จะได้อัตราเบี้ยประกันภัยที่เป็นไปตามสภาพความเสี่ยงภัยที่แท้จริงของธุรกิจมากยิ่งขึ้น
ในปัจจุบันการกำหนดค่าเบี้ยประกันภัยของกรมธรรม์ภาคสมัครใจนั้นจะกำหนดจาก เบี้ยฐานและความคุ้มครอง จากนั้นจะดูค่า Loss Ratio คือ สัดส่วนของค่าสินไหมทดแทนต่อค่าเบี้ยประกันภัย หากค่า Loss Ratio สูงแสดงว่ามีค่าสินไหมสูง ค่า Loss Ratio สามารถหาได้ดังนี้
[Loss Ratio = (ค่าสินไหมทดแทนที่เกิดขึ้นระหว่างปี / เบี้ยประกันภัยที่ถือเป้นรายได้ ) * 100]
การกำหนดค่าเบี้ยจะดูจากค่า Loss Ratio เป็นกลุ่มรถ เช่น รถยนต์นั่งส่วนบุคคล
รถบรรทุก เป็นต้น ซึ่งจะทำให้การกำหนดรายละเอียดความคุ้มครองนั้นพอทำได้แต่ไม่ดีนัก แต่ถ้าสามารถกำหนดรายละเอียดความคุ้มครอง ตาม Loss Ratio ของกลุ่มความเสียหายได้ก็จะทำให้การกำหนดค่าเบี้ยประกันภัยนั้นเหมาะสมยิ่งขึ้น การกำหนดค่าเบี้ยประกันภัยรถโดยความสมัครใจนั้นหากกำหนดความคุ้มครองสูง จะทำให้ได้ค่าเบี้ยประกันภัยสูงตามไปด้วย แต่ถ้าเพิ่มความคุ้มครองหรือเบี้ยฐานไม่ถูกส่วนก็จะทำให้ค่าสินไหมทดแทนสูงตามไปด้วย สรุปว่า ค่า Loss Ratio เท่าเดิม และหากกำหนดความคุ้มครองต่ำ ก็จะทำให้ได้ค่าเบี้ยประกันภัยต่ำเช่นกัน เพื่อที่จะสามารถแข่งขันในตลาดได้ แต่ถ้าลดความคุ้มครองหรือเบี้ยฐานไม่ถูกส่วนก็ทำให้ค่าสินไหมทดแทนสูงเท่าเดิม สรุปว่า ค่า Loss Ratio สูงขึ้น แสดงว่าหากเราต้องการเพิ่มหรือลดค่าเบี้ยประกันภัย เราต้องคำนึงถึงการกำหนดเบี้ยฐานหรือความคุ้มครองให้เหมาะสม เพราะหากเรากำหนดไม่เหมาะสมแล้วจะทำให้ไม่สามารถ ลดค่า Loss Ratio ได้ซึ่งปัจจุบันการกำหนดค่าเบี้ยประกันภัยนั้นผู้บริหารต้องดูค่า Loss Ratio เป็นกลุ่มรถ ซึ่งในการดูค่า Loss Ratio นั้นต้องใช้รายงานค่าเบี้ยประกันภัย และ รายงานค่าสินไหมทดแทน เพื่อช่วยในการพิจารณาด้วย เพื่อพิจารณากำหนดความคุ้มครองและเบี้ยฐาน และรถแต่ละกลุ่มนั้นมีรายละเอียดต่างกัน ทำให้การพิจารณานั้นใช้เวลานานและอาจไม่เหมาะสม และเมื่อกำหนดค่าเบี้ยประกันภัยไปแล้วต้องตามดูค่า Loss Ratio อีกครั้ง เพื่อตรวจสอบว่าค่าเบี้ยประกันภัยที่กำหนดไว้นั้นมีค่า Loss Ratio สูงเกินไปหรือไม่ หากค่า Loss Ratio สูง ก็ต้องกำหนดค่าเบี้ยประกันภัยใหม่อีกครั้ง ดังนั้นหากมีระบบสนับสนุนการตัดสินใจการกำหนดค่าเบี้ยประกันภัยจะทำให้การพิจารณากำหนดความคุ้มครองนั้นสะดวกรวดเร็วขึ้นและมีความเหมาะสมที่มากขึ้น
วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556
กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย คืออะไร สำคัญอย่างไร ?
กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย คืออะไร สำคัญอย่างไร ?
กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยนั้นจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถในปี พ.ศ. 2535 ซึ่งมีหน้าที่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัย หากผู้ประสบภัยไม่ได้รับการชดใช้จากบริษัทประกันภัยหรือเจ้าของรถที่ไม่จัดให้มีประกันภัย หรือไม่สามารถเรียกร้องจากที่ใดได้ เช่น รถชนแล้วหนี หรือเจ้าของรถที่ไม่จัดให้มีประกันภัยไม่จ่าย ค่าเสียหาย ฯลฯ โดยค่าเสียหายเบื้องต้นที่สามารถจ่ายได้ คือ ค่ารักษาพยาบาลกรณีได้รับบาดเจ็บตามที่รักษาจริง ไม่เกิน 15,000 บาท และค่าปลงศพกรณีเสียชีวิต จำนวน35,000 บาท แต่หากผู้ประสบภัยได้รับบาดเจ็บและต่อ มาเสียชีวิตในภายหลัง ผู้ประสบภัยที่เสียชีวิตจะได้รับค่ารักษาพยาบาลตามที่รักษาจริงไม่เกิน 15,000 บาท และ ค่าปลงศพ จำนวน 35,000 บาท ซึ่งรวมแล้วไม่เกินจำนวน 50,000 บาท การยนื่ ขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจาก กองทุนฯ ผู้ประสบภัยหรือทายาทต้องยื่นภายใน 180 วัน นับแต่วันที่มีความเสียหายเกิดขึ้น
กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยนั้นจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถในปี พ.ศ. 2535 ซึ่งมีหน้าที่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัย หากผู้ประสบภัยไม่ได้รับการชดใช้จากบริษัทประกันภัยหรือเจ้าของรถที่ไม่จัดให้มีประกันภัย หรือไม่สามารถเรียกร้องจากที่ใดได้ เช่น รถชนแล้วหนี หรือเจ้าของรถที่ไม่จัดให้มีประกันภัยไม่จ่าย ค่าเสียหาย ฯลฯ โดยค่าเสียหายเบื้องต้นที่สามารถจ่ายได้ คือ ค่ารักษาพยาบาลกรณีได้รับบาดเจ็บตามที่รักษาจริง ไม่เกิน 15,000 บาท และค่าปลงศพกรณีเสียชีวิต จำนวน35,000 บาท แต่หากผู้ประสบภัยได้รับบาดเจ็บและต่อ มาเสียชีวิตในภายหลัง ผู้ประสบภัยที่เสียชีวิตจะได้รับค่ารักษาพยาบาลตามที่รักษาจริงไม่เกิน 15,000 บาท และ ค่าปลงศพ จำนวน 35,000 บาท ซึ่งรวมแล้วไม่เกินจำนวน 50,000 บาท การยนื่ ขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจาก กองทุนฯ ผู้ประสบภัยหรือทายาทต้องยื่นภายใน 180 วัน นับแต่วันที่มีความเสียหายเกิดขึ้น
วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
นโยบายความเป็นส่วนตัว
ในปัจจุบันข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนให้ความสนใจ โดยรู้ทุกเรื่องประกันภัยไทย มุ่งเน้นที่จะให้บริการที่ดีที่สุด ให้แก่บุคคลทั่วไปที่สนใจในการประกันภัยหรือบุคคลที่ขาดความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับการประกันภัย แต่สิ่งสำคัญเหนือสิ่งอื่นใดสำหรับการประกันภัย คือการเปิดเผยข้อเท็จจริงต่อกัน ไม่แถลงความเท็จต่อกัน ดังนั้นทางเราจึงอยากจัดทำข้อมูลที่เกี่ยวกับการประกันภัย ซึ่งในตอนนี้การค้นหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตยังเป็นเรื่องที่ยาก ที่จะค้นเจอข้อมูลความจริงบางประการเกี่ยวกับการประกันภัย ทำให้ยากแก่การเข้าใจ ทางเรามีนโยบายในการนำเสนอข้อมูลดังต่อไปนี้
การเข้าเยี่ยมชมเข้าเว็ปไซต์
ท่านสามารถค้นหาข้อมูลภายในเว็ปไซต์ได้อย่างอิสระและเปิดเผยข้อมูลความรู้อย่างแท้จริง
ไม่มีการส่งเสริมผลิตภัณฑ์กรมธรรม์ประกันภัยในธุรกิจบริษัทประกันภัยบริษัทใดบริษัทหนึ่ง
การรวบรวมข้อมูลและเผยแพร่
ทางเราจะนำข้อมูลจากค้นคว้าค้นหาตามเว็ปไซต์และ/หรือประสบการณ์ต่างๆข้อบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ได้พบประสบเหตุการณ์เ้กี่ยวกับประกันภัย นำมาเผยแพร่ หากข้อมูลใดเป็นที่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางเราจะไม่รับผิดชอบใดๆทั้งสิ้น เนื่องจากเว็ปไซต์นี้ใช้เผยแพร่ความรู้และอุทาหรณ์้เตือนใจเกี่ยวกับการประกันภัยเท่านั้นมิใช่ทำเพื่อผลประโยชน์หรือทำลายธุรกิจใดหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และเนื่องจากข้อมูลมีการเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ตอยู่แล้วแต่ทางเรารวบรวมจัดทำข้อมูลมาใหม่เพื่อง่ายต่อการอธิบายและเข้าใจสำหรับบุคคลทั่วไป
"This post confirms my ownership of the site and that this site adheres to Google AdSense program policies and Terms and Conditions."
การเข้าเยี่ยมชมเข้าเว็ปไซต์
ท่านสามารถค้นหาข้อมูลภายในเว็ปไซต์ได้อย่างอิสระและเปิดเผยข้อมูลความรู้อย่างแท้จริง
ไม่มีการส่งเสริมผลิตภัณฑ์กรมธรรม์ประกันภัยในธุรกิจบริษัทประกันภัยบริษัทใดบริษัทหนึ่ง
การรวบรวมข้อมูลและเผยแพร่
ทางเราจะนำข้อมูลจากค้นคว้าค้นหาตามเว็ปไซต์และ/หรือประสบการณ์ต่างๆข้อบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ได้พบประสบเหตุการณ์เ้กี่ยวกับประกันภัย นำมาเผยแพร่ หากข้อมูลใดเป็นที่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางเราจะไม่รับผิดชอบใดๆทั้งสิ้น เนื่องจากเว็ปไซต์นี้ใช้เผยแพร่ความรู้และอุทาหรณ์้เตือนใจเกี่ยวกับการประกันภัยเท่านั้นมิใช่ทำเพื่อผลประโยชน์หรือทำลายธุรกิจใดหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และเนื่องจากข้อมูลมีการเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ตอยู่แล้วแต่ทางเรารวบรวมจัดทำข้อมูลมาใหม่เพื่อง่ายต่อการอธิบายและเข้าใจสำหรับบุคคลทั่วไป
"This post confirms my ownership of the site and that this site adheres to Google AdSense program policies and Terms and Conditions."
วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2556
แนวข้อสอบ Exam P (Preliminary study for Actuarial)
เรื่องสอบคณิตศาสตร์ประกันภัย
คณิตศาสตร์ประกันภัยแบ่งออกเป็นสองสายครับ คือ สายชีวิต ของ SOA กับ วินาศภัย CAS โดยการสอบในช่วงแรกจะเหมือนกัน แต่ช่วงหลังจะต่างกัน จะเหมือนกันใน 5 ตัวแรก ประกอบไปด้วย
คณิตศาสตร์ประกันภัยแบ่งออกเป็นสองสายครับ คือ สายชีวิต ของ SOA กับ วินาศภัย CAS โดยการสอบในช่วงแรกจะเหมือนกัน แต่ช่วงหลังจะต่างกัน จะเหมือนกันใน 5 ตัวแรก ประกอบไปด้วย
1.Exam 1/P ความน่าจะเป็น
2.Exam 2/FM การเงิน
3.Exam 3/MFE การหาราคา option
4.Exam 3/MLC โมเดลประกันชีวิต (จริงๆฝั่งวินาศภัยจะมีวิชานี่แยกต่างหาก แต่สามารถสอบ MLC ของทางชีวิตแทนได้ครับ)
5.Exam 4/C Loss Model
โดยในการสมัครสอบ 5 วิชานี้ สมัครได้ทาง website SOA ครับ
โดยตารางสอบดูได้จาก
โดย SOA จะมีส่วนลดให้ประเทศไทยนะครับ ทำให้ประหยัดได้พอสมควรดังนั้นควรสมัครส่วนลดก่อนที่
โดยโหลดใบสมัครมากรอกและส่งไปทางเมลล์ที่เขาให้มาครับผม
ส่วนเรื่องหนังสือที่อ่านกันที่เห็นมีสามสำนักนะครับ
ASM ,ACTEX ,BPP
ส่วนใครที่สนใจสอบแต่ไม่รู้จะหาซื้อหนังสือได้ที่ไหน
หรือว่าหาซื้ิอได้แต่ราคาแพงมากมาย
ผมมีหนังสือกับแนวข้อสอบของ Exam P จัดจำหน่ายนะครับ
ของ ACTEX กับ BPP
เนื้อหารวม 1 พันกว่าหน้า ไฟล์ .PDF 3 เล่ม
ใครสนใจก็เมลล์เข้ามานะครับ wishinsurance@gmail.com
เดี่ยวมีส่งตัวอย่างให้ดูก่อนได้ครับ
***แถมฟรีข้ิอสอบเก่า 153 ข้อพร้อมเฉลยของ SOA
ส่วนใครที่สนใจสอบแต่ไม่รู้จะหาซื้อหนังสือได้ที่ไหน
หรือว่าหาซื้ิอได้แต่ราคาแพงมากมาย
ผมมีหนังสือกับแนวข้อสอบของ Exam P จัดจำหน่ายนะครับ
ของ ACTEX กับ BPP
เนื้อหารวม 1 พันกว่าหน้า ไฟล์ .PDF 3 เล่ม
ใครสนใจก็เมลล์เข้ามานะครับ wishinsurance@gmail.com
เดี่ยวมีส่งตัวอย่างให้ดูก่อนได้ครับ
***แถมฟรีข้ิอสอบเก่า 153 ข้อพร้อมเฉลยของ SOA
วันอังคารที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2556
ว่ากันด้วยเรื่องเจ้าหน้าที่สำรวจภัยเมื่อเกิดเหตุ (Surveyor) หรือที่เรียกว่าพนักงานเคลมประกันรถยนต์ ที่หลายคนยังไม่รู้
ว่ากันด้วยเรื่องพนักงานสำรวจภัยเมื่อเกิดเหตุ (Surveyor) หรือที่เรียกว่าพนักงานเคลมประกันรถยนต์
ในปัจจุบันธุรกิจประกันวินาศภัยในประเทศไทยยังคงต้องมีการพัฒนาและยกระดับให้เป็นมาตรฐานสากลอีกมาก ยิ่งตอนนี้ไกล้จะเปิดอาเซียนเพื่อทำการแข่งขันที่มากขึ้นแล้วยิ่งต้องเร่งพัฒนาปรับปรุงแก้ไของค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
คุณเคยรู้หรือไม่ว่าพนักงานเคลม บางบริษัทประกันภัยมีจริงๆไม่กี่คนเนื่องจากสาขาไม่พอและอาณาเขตความคุ้มครองนั้นครอบคลุมทั่วประเทศไทย ทำให้จะต้องจ้างบริษัท เซอร์เวย์เยอร์ต่าง ๆ หรือที่เรียกกันว่า บริษัทรับสำรวจภัย โดยมีหน้าที่รับจ้างทำเคลมให้กับบริษัทประกันภัยต่างๆที่แจ้งเหตุเข้ามา ซึ่งบางบริษัทเซอร์เวย์เยอร์ก็ไม่มีสาขาอีก ทำให้เวลาเกิดเหตุที่บางจังหวัดนี้ก็ไม่สามารถใช้บริการได้อาจจะทำให้บริการไม่ทั่วถึง ยิ่งในช่วงเวลาเร่งด่วน หรือในช่วงเทศกาลที่เกิดภัยอยู่บ่อย ๆ ซึ่ง ต่างกับบริษัทประกันภัยที่มีสาขาหรือศูนย์บริการคลอบคลุมอยู่ทุกพื้นที่การให้บริการจะทำให้ไปถึงที่เกิดเหตุได้รวดเร็วขึ้น ทั้งนี้ผู้อ่านต้องลองใช้พิจารณาและรวบรวมข้อมูลในการตัดสินใจให้ดีว่าจะทำประกันกับบริษัทไหนที่ให้บริการดีที่สุด
ลำดับต่อไปที่สำคัญคือเรื่องของตัวบุคคลหรือจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพซึ่งรวมถึงเรื่องของความรู้ใน ข้อกฎหมายในคดีรถชนและมารยาท ความเอาใจใส่ในการบริการลูกค้าของพนักงาน เป็นต้น เรื่องพวกนี้ถือว่าเป็น สาระสำคัญ ในการประกอบธุรกิจของบริษัทประกันวินาศภัยทางด้านรถยนต์ให้มีชื่อเสียงได้ยาวนาน
***ทั้งนี้คงไม่มีบริษัทไหนอยากจะโดนภัยย้อนกลับเข้ามาหาบริษัทเองเสียมากกว่า โดย(ส่วนมากขอบอกตรงๆว่า) พนักงานสำรวจภัยทางรถยนต์นั้น มีเงินเดือนที่ไม่สูง ทำให้บางคนนั้นคิดเพิ่มผลต่างทางความเสียหายเพื่อนำเงินเข้ากระเป๋าตนเอง ทำให้ลูกค้าบางราย(ที่ไม่รู้ก็ซวยไป ส่วนที่พอจะรู้ก็เสียความรู้สึกอย่างมาก)
คุณเคยรู้หรือไม่ว่าพนักงานเคลม บางบริษัทประกันภัยมีจริงๆไม่กี่คนเนื่องจากสาขาไม่พอและอาณาเขตความคุ้มครองนั้นครอบคลุมทั่วประเทศไทย ทำให้จะต้องจ้างบริษัท เซอร์เวย์เยอร์ต่าง ๆ หรือที่เรียกกันว่า บริษัทรับสำรวจภัย โดยมีหน้าที่รับจ้างทำเคลมให้กับบริษัทประกันภัยต่างๆที่แจ้งเหตุเข้ามา ซึ่งบางบริษัทเซอร์เวย์เยอร์ก็ไม่มีสาขาอีก ทำให้เวลาเกิดเหตุที่บางจังหวัดนี้ก็ไม่สามารถใช้บริการได้อาจจะทำให้บริการไม่ทั่วถึง ยิ่งในช่วงเวลาเร่งด่วน หรือในช่วงเทศกาลที่เกิดภัยอยู่บ่อย ๆ ซึ่ง ต่างกับบริษัทประกันภัยที่มีสาขาหรือศูนย์บริการคลอบคลุมอยู่ทุกพื้นที่การให้บริการจะทำให้ไปถึงที่เกิดเหตุได้รวดเร็วขึ้น ทั้งนี้ผู้อ่านต้องลองใช้พิจารณาและรวบรวมข้อมูลในการตัดสินใจให้ดีว่าจะทำประกันกับบริษัทไหนที่ให้บริการดีที่สุด
ลำดับต่อไปที่สำคัญคือเรื่องของตัวบุคคลหรือจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพซึ่งรวมถึงเรื่องของความรู้ใน ข้อกฎหมายในคดีรถชนและมารยาท ความเอาใจใส่ในการบริการลูกค้าของพนักงาน เป็นต้น เรื่องพวกนี้ถือว่าเป็น สาระสำคัญ ในการประกอบธุรกิจของบริษัทประกันวินาศภัยทางด้านรถยนต์ให้มีชื่อเสียงได้ยาวนาน
***ทั้งนี้คงไม่มีบริษัทไหนอยากจะโดนภัยย้อนกลับเข้ามาหาบริษัทเองเสียมากกว่า โดย(ส่วนมากขอบอกตรงๆว่า) พนักงานสำรวจภัยทางรถยนต์นั้น มีเงินเดือนที่ไม่สูง ทำให้บางคนนั้นคิดเพิ่มผลต่างทางความเสียหายเพื่อนำเงินเข้ากระเป๋าตนเอง ทำให้ลูกค้าบางราย(ที่ไม่รู้ก็ซวยไป ส่วนที่พอจะรู้ก็เสียความรู้สึกอย่างมาก)
บริษัท เซอร์เวย์เยอร์ต่างๆ บางแห่งก็มีมาตราฐาน ราคา ค่าสำรวจ ก็จะมาตราฐาน ไปด้วยแต่ปัจจุบันบริษัทประกันภัย บางบริษัทนั้นก็ต้องการลดต้นทุน หันไปใช้บริษัทเซอร์เวยเยอร์ที่ไม่มีมาตราฐานมาใช้งาน เพราค่าบริการ “ถูก” แต่ ลืม คิดถึง “ภาพลักษณ์” ของบริษัทประกันภัยเอง เพราะเวลาที่ลูกค้าซื้อประกันส่วนมากก็จะเจอแต่เซลล์หรือตัวแทนขายประกัน ยังไม่เคยเจอพนักงานเคลมบริษัทเลยจะมาเจออีกทีก็ตอนมีอุบัติเหตุหรือตอนแจ้งเคลม หากบริษัทประกันภัยแห่งไหนมีมาตราฐานในการบริการที่ดีมาถึงที่จุดเกิดเหตุโดยเร็วก็คงจะเป็นเรื่องที่ดี (รวมถึงการพูดจา การประสานงานเวลาเกิดเหตุทางโทรศัพท์ด้วย เพราะบางทีเกิดเหตุมาเราก็เสียอารมณ์อยู่แล้ว ยังต้องมาเจอกับพนักงานที่พูดทำจาทำร้ายความรู้สึกกันอีก)
ปัจจุบันเราไม่สามารถคาดเดาได้เลย ว่าอุบัติเหตุจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วในกรณีที่คิดว่าความเสียหายร้ายแรงก็ต้องโทรแจ้งพนักงานเคลมนั่นเอง เพราะอุบัติเหตุที่เสียหายมากมีผู้คนบาดเจ็บ ล้มตายมีคดีอาญาเกิดขึ้นความเสี่ยงจะเกิดขึ้นกับผู้ที่ขับขี่รถโดยประมาทตามกฎหมาย ซึ่งบางบริษัทประกันภัยก็ ทำตรงไป ตรงมาบางบริษัทประกันภัยก็อาจจะถึงขั้นวิ่งคดีให้เลย หรือ บางบริษัทประกันฯ เชี่ยวชาญมองเกมขาดก็จะแนะนำให้กับลูกค้ามีการบรรเทาผลคดีหรือช่วยเหลือคู่กรณี ของตนทางด้านมนุษย์ธรรม เป็นต้น
การเคลมฉ้อฉลหรือโกงประกันภัย เกิดขึ้นได้กับ พนักงานเคลม(ฝ่ายเรา) หรือ ถูกฝ่ายตรงข้ามยื่นเสนอให้โดยติดสินบน เพื่อฝ่ายตรงข้ามจะได้เป็นฝ่ายถูกหรือไม่ก็บวกเพิ่ม ค่ารักษาพยาบาล ค่าปลงศพ ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งก่อน นัดจ่ายค่าสินไหมทดแทนต่างๆนั้นท่านควร อย่าลืมโทรศัพท์เข้าไปสอบถามด้วยตนเองกับ ฝ่ายตรวจสอบของบริษัทประกันภัย หรือ ผู้จัดการสินไหมฯก็ได้ครับ ท่านจะได้รู้ว่าถูกใครเป็น ผู้เอาเปรียบท่านกันแน่
***ถ้าเห็นว่าผลการตรวจสอบที่ได้นั้นไม่ยุติธรรมหรือไม่เป็นธรรมกับตนเองหรือพบว่ามีพิรุธให้แจ้งเรื่องไปยัง 1186 (คปภ.)ได้ทันทีตลอด 24 ชั่วโมง
การเคลมฉ้อฉลหรือโกงประกันภัย เกิดขึ้นได้กับ พนักงานเคลม(ฝ่ายเรา) หรือ ถูกฝ่ายตรงข้ามยื่นเสนอให้โดยติดสินบน เพื่อฝ่ายตรงข้ามจะได้เป็นฝ่ายถูกหรือไม่ก็บวกเพิ่ม ค่ารักษาพยาบาล ค่าปลงศพ ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งก่อน นัดจ่ายค่าสินไหมทดแทนต่างๆนั้นท่านควร อย่าลืมโทรศัพท์เข้าไปสอบถามด้วยตนเองกับ ฝ่ายตรวจสอบของบริษัทประกันภัย หรือ ผู้จัดการสินไหมฯก็ได้ครับ ท่านจะได้รู้ว่าถูกใครเป็น ผู้เอาเปรียบท่านกันแน่
***ถ้าเห็นว่าผลการตรวจสอบที่ได้นั้นไม่ยุติธรรมหรือไม่เป็นธรรมกับตนเองหรือพบว่ามีพิรุธให้แจ้งเรื่องไปยัง 1186 (คปภ.)ได้ทันทีตลอด 24 ชั่วโมง
10 เรื่องที่คุณควรต้องรู้เกี่ยวกับประกันภัยรถยนต์
10 เรื่องที่คุณควรต้องรู้เกี่ยวกับประกันภัยรถยนต์
1. หากภายในรถของคุณมีการติดตั้งอุปกรณ์สำหรับระบบก๊าซ NGV หรือ LPG เจ้าของรถมีหน้าที่ต้องแจ้งให้บริษัททราบ เพราะหากเกิดเหตุและรถคันเอาประกันเป็นฝ่ายผิด เพราะว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงอาทำให้ไม่ตรงกับข้อสัญญาในกรมธรรม์ ความคุ้มครองที่จะได้รับจากการประกันอาจไม่สมบูรณ์
2. ค่า Excess หรือค่าใช้จ่ายในส่วนแรกนั้น กรณีไม่มีคู่กรณีจะจ่ายเพียง 1,000 บาท เท่านั้น แต่ถ้าคนอื่นขับไปทำให้เกิดความเสียหาย ต้องจ่าย 6,000 บาท (จ่ายให้บริษัทประกัน)
3. ในกรณีที่รถคุณเสียหายอย่างสิ้นเชิง โดยที่ไม่สามารถนำไปซ่อมกลับคืนได้ ทางบริษัทประกันภัยต้องจ่ายเงินให้แก่ผู้เอาประกันเต็มทุนประกัน และรถคันนั้นจะตกเป็นทรัพย์สินของบริษัทประกันภัย
4. ค่าอะไหล่ที่เกิดจากการซ่อม ผู้เอาประกันสามารถเรียกร้องเป็นเงินสดตามราคาที่บริษัืทได้ประเมินความเสียหายของรถไว้เพื่อนำไปจัดหาเองซื้อเปลี่ยนเองได้ ในกรณีที่ไม่แน่ใจว่าจะได้อะไหล่แท้หรือไม่
5. กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์นั้นจะมีผลทันทีเมื่อผู้เอาประกันภัยได้ชำระเบี้ยประกันภัยให้กับบริษัท (ซึ่งรวมไปถึงนายหน้าผู้เอาประกันด้วยเช่นกัน) ดังนั้นแม้ว่าการที่ซื้อผ่านนายหน้าถ้ามีใบเสร็จรับเงินที่ถูกต้อง บริษัทรับประกันภัยก็จะปฏิเสธความรับผิดชอบมิได้
6. หากคุณขับรถชนกับรถคู่กรณีที่ไม่มีประกันภัยและรถของท่านเป็น "ฝ่ายถูก" คุณควรตรวจสอบไปที่บริษัทประกันภัยว่าตามรายงานอุบัติเหตุนั้น รถของคุณเป็นฝ่ายถูกจริงหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อผลประโยชน์
7. ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชน และคุณไม่แน่ใจว่าเป็นฝ่ายถูกหรือผิด คุณไม่จำเป็นต้องเซ็นรับผิดในใบเครมโดยทันทีและ้เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่สามารถบังคับให้เซ็นรับผิดแต่มีหน้าที่แค่เพียงไกล่เกลี่ย เพราะไม่ใช่กติกาหรือข้อกฏหมายแต่เป็นหน้าที่ที่บริษัทซึ่งคุณทำประกันจะไปทำการตกลงให้
8. การดูแลขนย้ายรถที่เสียหายเนื่องจากอุบัติเหตุเพื่อไปซ่อมที่อู่เป็นหน้าที่ของบริษัท แม้ว่าจะต้องย้ายรถไปโรงพักหรือที่ใดก็ตามตั้งแต่หลังเกิดเหตุจนกระทั่งซ่อมเสร็จ บริษัทประกันภัยจะต้องรับภาระส่วนนี้ แต่ไม่เกินร้อยละ 20 ของค่าซ่อม
9. ห้ามหนีเมื่อขับรถชนผู้อื่น ให้รีบช่วยเหลือ และถ่ายรูปเก็บไว้เป็นหลักฐานด้วยเผื่อต้องต่อสู้คดีความจะได้พิจารณาโทษจากหนักเป็นเบา ถ้าหนีมีโทษอาจจะถึงขั้นติดคุกทันที
10. ประกันภัยจะไม่คุ้มครองความเสียหายในขณะที่รถของคุณถูกลากจูง หรือขับรถขณะที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดไม่น้อยกว่า 150มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ หรือขับรถโดยไม่มีใบอนุญาตขับขี่ เว้นแต่ในกรณีที่ทำประกันประเภทระบุชื่อคนขับ และความเสียหายนั้นเกิดขึ้นในขณะที่คนระบุชื่อเป็นผู้ขับขี่
1. หากภายในรถของคุณมีการติดตั้งอุปกรณ์สำหรับระบบก๊าซ NGV หรือ LPG เจ้าของรถมีหน้าที่ต้องแจ้งให้บริษัททราบ เพราะหากเกิดเหตุและรถคันเอาประกันเป็นฝ่ายผิด เพราะว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงอาทำให้ไม่ตรงกับข้อสัญญาในกรมธรรม์ ความคุ้มครองที่จะได้รับจากการประกันอาจไม่สมบูรณ์
2. ค่า Excess หรือค่าใช้จ่ายในส่วนแรกนั้น กรณีไม่มีคู่กรณีจะจ่ายเพียง 1,000 บาท เท่านั้น แต่ถ้าคนอื่นขับไปทำให้เกิดความเสียหาย ต้องจ่าย 6,000 บาท (จ่ายให้บริษัทประกัน)
3. ในกรณีที่รถคุณเสียหายอย่างสิ้นเชิง โดยที่ไม่สามารถนำไปซ่อมกลับคืนได้ ทางบริษัทประกันภัยต้องจ่ายเงินให้แก่ผู้เอาประกันเต็มทุนประกัน และรถคันนั้นจะตกเป็นทรัพย์สินของบริษัทประกันภัย
4. ค่าอะไหล่ที่เกิดจากการซ่อม ผู้เอาประกันสามารถเรียกร้องเป็นเงินสดตามราคาที่บริษัืทได้ประเมินความเสียหายของรถไว้เพื่อนำไปจัดหาเองซื้อเปลี่ยนเองได้ ในกรณีที่ไม่แน่ใจว่าจะได้อะไหล่แท้หรือไม่
5. กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์นั้นจะมีผลทันทีเมื่อผู้เอาประกันภัยได้ชำระเบี้ยประกันภัยให้กับบริษัท (ซึ่งรวมไปถึงนายหน้าผู้เอาประกันด้วยเช่นกัน) ดังนั้นแม้ว่าการที่ซื้อผ่านนายหน้าถ้ามีใบเสร็จรับเงินที่ถูกต้อง บริษัทรับประกันภัยก็จะปฏิเสธความรับผิดชอบมิได้
6. หากคุณขับรถชนกับรถคู่กรณีที่ไม่มีประกันภัยและรถของท่านเป็น "ฝ่ายถูก" คุณควรตรวจสอบไปที่บริษัทประกันภัยว่าตามรายงานอุบัติเหตุนั้น รถของคุณเป็นฝ่ายถูกจริงหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อผลประโยชน์
8. การดูแลขนย้ายรถที่เสียหายเนื่องจากอุบัติเหตุเพื่อไปซ่อมที่อู่เป็นหน้าที่ของบริษัท แม้ว่าจะต้องย้ายรถไปโรงพักหรือที่ใดก็ตามตั้งแต่หลังเกิดเหตุจนกระทั่งซ่อมเสร็จ บริษัทประกันภัยจะต้องรับภาระส่วนนี้ แต่ไม่เกินร้อยละ 20 ของค่าซ่อม
9. ห้ามหนีเมื่อขับรถชนผู้อื่น ให้รีบช่วยเหลือ และถ่ายรูปเก็บไว้เป็นหลักฐานด้วยเผื่อต้องต่อสู้คดีความจะได้พิจารณาโทษจากหนักเป็นเบา ถ้าหนีมีโทษอาจจะถึงขั้นติดคุกทันที
10. ประกันภัยจะไม่คุ้มครองความเสียหายในขณะที่รถของคุณถูกลากจูง หรือขับรถขณะที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดไม่น้อยกว่า 150มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ หรือขับรถโดยไม่มีใบอนุญาตขับขี่ เว้นแต่ในกรณีที่ทำประกันประเภทระบุชื่อคนขับ และความเสียหายนั้นเกิดขึ้นในขณะที่คนระบุชื่อเป็นผู้ขับขี่
เตือนภัยระวัง โดนกลุ่มมิจฉาชีพอ้างตนขายประกันภัย,ประกันชีวิตปลอม
ลองอ่านบทความนี้สักนิดจะได้มีความรู้ไว้ต่อสู้กับกลุ่มมิจฉาชีพที่อ้างตนรับประกันภัยปลอมๆครับ
อาจจะได้ซื้อกระดาษเปล่าในราคาแพงโดยที่ไม่รู้ตัวเลยก็ได้
ทุกอย่างกำลังดำเนินเรื่องไปอย่างสวยงาม แต่ทว่ากว่าจะรู้ตัวเองว่าถูกหลอกต้มตุ๋นก็สายไปเสียแล้ว มิจฉาชีพพวกนี้หลอกลวงเอาเงินได้เก่งอย่างแนบเนียน พวกนี้จะมีเอกสารให้ดูน่าเชื่อถือเมื่อมาติดต่อให้ซื้อประกันหรือเสนอขายประกัน พวกท่านอย่านิ่งดูดายด้วยความเกรงอกเกรงใจ เงินของเราเราก็หามาอย่างยากลำบาก เราต้องทำทุักอย่างเพื่อรักษาประโยชน์ส่วนตน เราก็มีภาระที่จะต้องใช้เงิน ฉะนั้น "อย่าเกรงใจคนจนโดนหลอก" เรามาดูวิธีการของแก๊งมิจฉาชีพแบบมืออาชีพพวกนี้กันดีกว่าครับ
เอาเป็นกรณีที่มาเคาะประตูหน้าบ้านเลยดีกว่าครับ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นตัวแทนจริงๆ ?
หรืออีกกรณีว่าเขามีข้อมูลการทำประกันภัยของเรามาประกอบด้วยแบบว่าสมจริงมากไม่รู้มาจากบริษัทที่เรากำลังทำจริงๆหรือว่าปลอมมา(เราคงไม่เอะใจถ้าไม่เคยโดนมาก่อนเพราะเราก็ทำอยู่จริงๆนั่นเอง)
ทั่งนี้จะเช็คอย่างไรดี
กรณีเจอแบบนี้ให้เราดูแบบนี้ก่อนเลยครับ
1.ขอดูบัตรตัวแทนหรือบัตรนายหน้า (อาจจะเป็นบัตรปลอมก็เป็นได้สมัยนี้เทคโนโลยีมันกว้างไกล แต่ถ้าไม่มีบัตรคือจบ)
2.>>>ลองเช็ครายชื่อ เลขที่ใบอนุญาต ตัวแทน นายหน้าได้ที่นี่<<< (ถ้ายังไม่มีอีกก็ระวังไว้เลย)
3.โทรถามเช็คใบอนุญาตทันทีที่ 1186 (คปภ.)
แต่ถ้าเวลาเจอกันแล้วไม่มีเวลาเช็คล่ะทำอย่างไร ทุกอย่างมันเร็วเหลือเกิน ฝั่งโน้นก็พูดข้อเสนอแสนดี ไอเราก็เกรงใจจนไม่ได้ระวังตัวอะไรเลย
1.เพื่อความให้เกียรติเขาผู้ที่จะรับเงินเราเผื่อจะมาจากบริษัทจริงๆ ขอสำเนาบัตรประชาชนของเขาพร้อมทั้งเบอร์โทรติดต่อ(อันนี้ที่ทำใช้กันหลักๆในปัจจุบันเพื่อยืนยันความบริสุทธิ์) หน้าต้องเหมือนคนที่ติดต่อเป๊ะๆเลยนะดูดีๆด้วยล่ะ ไม่ใช่ไปเอาของคนอื่นมา)
2.ถ้าเขามีท่าทีพิรุธหรือว่าเรายังกังวลใจ ให้โทรไปถามบริษัทประกันที่เราทำอยู่เลย ว่าได้มอบอำนาจให้นายคนนี้เป็นตัวแทนมาเก็บเงินได้จริงหรือเปล่า
เมื่อเช็คในเรื่องตัวบุคคลจนแน่ใจแล้วลำดับต่อไปเมื่อเราสนใจรับข้อเสนอและต้องชำระเบี้ยประกัน
1.กรณีที่ต้องชำระเป็นเงินสด ต้องได้ใบเสร็จรับเงินทันทีและต้องเป็นใบเสร็จตัวจริงไม่ใช่ใบเสร็จชั่วคราว (ไม่มีการได้ใบเสร็จทีหลัง ต้องได้เดี๋ยวนั้นทันทีในเมื่อคุณมาถึงที่จะมาอ้างไม่ได้ต้องมีความพร้อม อย่าไปเชื่อว่าจะได้ทีหลังเพราะพวกนี้จะเอาเงินไปใช้เองน่ะสิ พอเกิดเรื่องขึ้นมายิ่งเป็นประกันชีวิตนะ บริษัทก็ตอบมาทันทีว่าท่านไม่เคยส่งเบี้ยประกันไปชำระเลยสักงวดหรือเราขาดส่งเบี้ยประกันจนกรมธรรม์สิ้นผลเป็นโมฆะ อย่าไปเชื่อใจกันเด็ดขาด ยิ่งถ้าไม่ให้ใบเสร็จสักสองรอบชำระติดต่อกันก็ชัดเลยโดนหลอกไปเต็มๆ)
ที่สำคัญเลยให้ตรวจเช็คใบเสร็จว่า เป็นใบเสร็จรับเงินของทางบริษัทนั้นหรือจริงเปล่ามีตราอะไรไหม มีลายเซ็นของผู้รับเงินหรือไม่ หรือเป็นใบโล่งๆซึ่งไม่ใช่แน่นอน
2.กรณีไปชำระเงินทางบัตรเครดิตหรือเดินทางไปชำระ (ภายใน 60 วันมิฉะนั้นสัญญาเป็นโมฆะ) ให้เก็บหลักฐานที่โอนเงินไว้ด้วยอย่าทิ้ง (สำคัญมาก)
3.เมื่อชำระเงินแล้ว ภายใน 15 วัน เราจะต้องได้รับกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งจะประกอบด้วย ตารางกรมธรรม์และตัว Wording ต่างๆ ความคุ้มครอง ข้อยกเว้น และข้อควรกระทำเมื่อเกิดเหตุ เป็นต้น หากยังไมได้รับให้รีบติดต่อไปยังบริษัทที่เราทำประกันภัย
*** ทุกครั้งที่เราทำประกันภัยนั้นจะต้องได้รับชื่อบริษัทประกันที่เราทำรับประกันภัยด้วยโดยได้รับการรับรองจาก คปภ.ให้อนุญาติสามารถดำเนินกิจการการทำประกันภัยชีวิตและวินาศภัยแล้ว ซึ่งมิใช่บริษัทโบรคเกอร์หรือนายหน้า โดยสามารถเช็คชื่อบริษัทที่ได้ที่นี่
>>>รายชื่อบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทยทั้งหมด<<<
>>>รายชื่อบริษัทประกันวินาศภัยในประเทศไทยทั้งหมด<<<
กรณีอีกรูปแบบหนึ่งคือโทรมาซื้อขายทางโทรศัพท์ บริการหนึ่งที่มักถูกเสนอขายทางโทรศัพท์มือถือก็คือ "การขายประกัน" ซึ่งผู้ที่ถูกเสนอขายมักเป็นผู้ถือบัตรเครดิต ซึ่งบริษัทประกันชีวิตและบริษัทประกันภัยจะได้ข้อมูลลูกค้าจากบริษัทผู้ให้บริการบัตรเครดิต แล้วจะมีเจ้าหน้าที่โทรศัพท์ไปเชิญชวนให้ซื้อประกัน โดยที่นิยมมากคือการขายประกันอุบัติเหตุ โดยผู้รับโทรศัพท์มักได้รับการหว่านล้อมว่าการซื้อประกันผ่านโทรศัพท์เบี้ยประกันจะต่ำเฉลี่ยเดือนละ 150 - 200 บาท และได้รับวงเงินความคุ้มครองสูงถึง 100,000 - 500,000 บาท ซึ่งจากข้อมูลการร้องเรียนผ่านสายด่วนประกันภัย 1186 ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)
>>>มีตัวอย่างรูปแบบซื้อขายกรณีมิจฉาชีพหลอกลวง<<
ปล.ถ้าไว้ใจก็ทำไปครับแต่ถ้าไม่มั่นใจจริงๆให้บอกว่าจะไปติดต่อที่บริษัทเอาเองในภายหลัง :)
อาจจะได้ซื้อกระดาษเปล่าในราคาแพงโดยที่ไม่รู้ตัวเลยก็ได้
ทุกอย่างกำลังดำเนินเรื่องไปอย่างสวยงาม แต่ทว่ากว่าจะรู้ตัวเองว่าถูกหลอกต้มตุ๋นก็สายไปเสียแล้ว มิจฉาชีพพวกนี้หลอกลวงเอาเงินได้เก่งอย่างแนบเนียน พวกนี้จะมีเอกสารให้ดูน่าเชื่อถือเมื่อมาติดต่อให้ซื้อประกันหรือเสนอขายประกัน พวกท่านอย่านิ่งดูดายด้วยความเกรงอกเกรงใจ เงินของเราเราก็หามาอย่างยากลำบาก เราต้องทำทุักอย่างเพื่อรักษาประโยชน์ส่วนตน เราก็มีภาระที่จะต้องใช้เงิน ฉะนั้น "อย่าเกรงใจคนจนโดนหลอก" เรามาดูวิธีการของแก๊งมิจฉาชีพแบบมืออาชีพพวกนี้กันดีกว่าครับ
เอาเป็นกรณีที่มาเคาะประตูหน้าบ้านเลยดีกว่าครับ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นตัวแทนจริงๆ ?
หรืออีกกรณีว่าเขามีข้อมูลการทำประกันภัยของเรามาประกอบด้วยแบบว่าสมจริงมากไม่รู้มาจากบริษัทที่เรากำลังทำจริงๆหรือว่าปลอมมา(เราคงไม่เอะใจถ้าไม่เคยโดนมาก่อนเพราะเราก็ทำอยู่จริงๆนั่นเอง)
ทั่งนี้จะเช็คอย่างไรดี
กรณีเจอแบบนี้ให้เราดูแบบนี้ก่อนเลยครับ
1.ขอดูบัตรตัวแทนหรือบัตรนายหน้า (อาจจะเป็นบัตรปลอมก็เป็นได้สมัยนี้เทคโนโลยีมันกว้างไกล แต่ถ้าไม่มีบัตรคือจบ)
2.>>>ลองเช็ครายชื่อ เลขที่ใบอนุญาต ตัวแทน นายหน้าได้ที่นี่<<< (ถ้ายังไม่มีอีกก็ระวังไว้เลย)
3.โทรถามเช็คใบอนุญาตทันทีที่ 1186 (คปภ.)
แต่ถ้าเวลาเจอกันแล้วไม่มีเวลาเช็คล่ะทำอย่างไร ทุกอย่างมันเร็วเหลือเกิน ฝั่งโน้นก็พูดข้อเสนอแสนดี ไอเราก็เกรงใจจนไม่ได้ระวังตัวอะไรเลย
1.เพื่อความให้เกียรติเขาผู้ที่จะรับเงินเราเผื่อจะมาจากบริษัทจริงๆ ขอสำเนาบัตรประชาชนของเขาพร้อมทั้งเบอร์โทรติดต่อ(อันนี้ที่ทำใช้กันหลักๆในปัจจุบันเพื่อยืนยันความบริสุทธิ์) หน้าต้องเหมือนคนที่ติดต่อเป๊ะๆเลยนะดูดีๆด้วยล่ะ ไม่ใช่ไปเอาของคนอื่นมา)
2.ถ้าเขามีท่าทีพิรุธหรือว่าเรายังกังวลใจ ให้โทรไปถามบริษัทประกันที่เราทำอยู่เลย ว่าได้มอบอำนาจให้นายคนนี้เป็นตัวแทนมาเก็บเงินได้จริงหรือเปล่า
เมื่อเช็คในเรื่องตัวบุคคลจนแน่ใจแล้วลำดับต่อไปเมื่อเราสนใจรับข้อเสนอและต้องชำระเบี้ยประกัน
1.กรณีที่ต้องชำระเป็นเงินสด ต้องได้ใบเสร็จรับเงินทันทีและต้องเป็นใบเสร็จตัวจริงไม่ใช่ใบเสร็จชั่วคราว (ไม่มีการได้ใบเสร็จทีหลัง ต้องได้เดี๋ยวนั้นทันทีในเมื่อคุณมาถึงที่จะมาอ้างไม่ได้ต้องมีความพร้อม อย่าไปเชื่อว่าจะได้ทีหลังเพราะพวกนี้จะเอาเงินไปใช้เองน่ะสิ พอเกิดเรื่องขึ้นมายิ่งเป็นประกันชีวิตนะ บริษัทก็ตอบมาทันทีว่าท่านไม่เคยส่งเบี้ยประกันไปชำระเลยสักงวดหรือเราขาดส่งเบี้ยประกันจนกรมธรรม์สิ้นผลเป็นโมฆะ อย่าไปเชื่อใจกันเด็ดขาด ยิ่งถ้าไม่ให้ใบเสร็จสักสองรอบชำระติดต่อกันก็ชัดเลยโดนหลอกไปเต็มๆ)
ที่สำคัญเลยให้ตรวจเช็คใบเสร็จว่า เป็นใบเสร็จรับเงินของทางบริษัทนั้นหรือจริงเปล่ามีตราอะไรไหม มีลายเซ็นของผู้รับเงินหรือไม่ หรือเป็นใบโล่งๆซึ่งไม่ใช่แน่นอน
2.กรณีไปชำระเงินทางบัตรเครดิตหรือเดินทางไปชำระ (ภายใน 60 วันมิฉะนั้นสัญญาเป็นโมฆะ) ให้เก็บหลักฐานที่โอนเงินไว้ด้วยอย่าทิ้ง (สำคัญมาก)
3.เมื่อชำระเงินแล้ว ภายใน 15 วัน เราจะต้องได้รับกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งจะประกอบด้วย ตารางกรมธรรม์และตัว Wording ต่างๆ ความคุ้มครอง ข้อยกเว้น และข้อควรกระทำเมื่อเกิดเหตุ เป็นต้น หากยังไมได้รับให้รีบติดต่อไปยังบริษัทที่เราทำประกันภัย
*** ทุกครั้งที่เราทำประกันภัยนั้นจะต้องได้รับชื่อบริษัทประกันที่เราทำรับประกันภัยด้วยโดยได้รับการรับรองจาก คปภ.ให้อนุญาติสามารถดำเนินกิจการการทำประกันภัยชีวิตและวินาศภัยแล้ว ซึ่งมิใช่บริษัทโบรคเกอร์หรือนายหน้า โดยสามารถเช็คชื่อบริษัทที่ได้ที่นี่
>>>รายชื่อบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทยทั้งหมด<<<
>>>รายชื่อบริษัทประกันวินาศภัยในประเทศไทยทั้งหมด<<<
กรณีอีกรูปแบบหนึ่งคือโทรมาซื้อขายทางโทรศัพท์ บริการหนึ่งที่มักถูกเสนอขายทางโทรศัพท์มือถือก็คือ "การขายประกัน" ซึ่งผู้ที่ถูกเสนอขายมักเป็นผู้ถือบัตรเครดิต ซึ่งบริษัทประกันชีวิตและบริษัทประกันภัยจะได้ข้อมูลลูกค้าจากบริษัทผู้ให้บริการบัตรเครดิต แล้วจะมีเจ้าหน้าที่โทรศัพท์ไปเชิญชวนให้ซื้อประกัน โดยที่นิยมมากคือการขายประกันอุบัติเหตุ โดยผู้รับโทรศัพท์มักได้รับการหว่านล้อมว่าการซื้อประกันผ่านโทรศัพท์เบี้ยประกันจะต่ำเฉลี่ยเดือนละ 150 - 200 บาท และได้รับวงเงินความคุ้มครองสูงถึง 100,000 - 500,000 บาท ซึ่งจากข้อมูลการร้องเรียนผ่านสายด่วนประกันภัย 1186 ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)
>>>มีตัวอย่างรูปแบบซื้อขายกรณีมิจฉาชีพหลอกลวง<<
ปล.ถ้าไว้ใจก็ทำไปครับแต่ถ้าไม่มั่นใจจริงๆให้บอกว่าจะไปติดต่อที่บริษัทเอาเองในภายหลัง :)
วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2556
รวมรายชื่อ บริษัทประกันชีวิตและเว็ปไซต์ทั้งหมดในประเทศไทย (พ.ศ.2556)
รวมรายชื่อ บริษัทประกันชีวิตและเว็ปไซต์ทั้งหมดในประเทศไทย (พ.ศ.2556)
01 บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) www.bla.co.th
02 บริษัท กรุงไทย - แอกซ่าประกันชีวิต จำกัด www.krungthai-axa.co.th
03 บริษัท เจนเนอราลี่ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) จำกัด www.generali.co.th
04 บริษัท โตเกียวมารีนประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) www.tokiomarine.co.th
05 บริษัท ไทยคาร์ดิฟประกันชีวิต จำกัด www.thaicardif.com
06 บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด www.thailife.com
07 บริษัท ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) www.scblife.co.th
08 บริษัท ไทยรีประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) www.thaire.co.th
09 บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด www.ocean.co.th
10 บริษัท ธนชาตประกันชีวิต จำกัด www.thanachartlife.co.th
11 บริษัท บางกอกสหประกันชีวิต จำกัด www.builife.com
12 บริษัท ประกันชีวิตนครหลวงไทย จำกัด www.scilife.co.th
13 บริษัท พรูเด็นเชียลประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) www.prudential.co.th
14 บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด www.finansalife.com
15 บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด www.muangthai.co.th
16 บริษัท แมนูไลฟ์ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) www.manulife.co.th
17 บริษัท ไทยซัมซุงประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) www.siamsamsung.co.th
18 บริษัท ทิพยประกันชีวิต จำกัด www.dhipayalife.co.th
19 บริษัท สหประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) www.ulife.in.th
20 บริษัท อเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนลแอสชัวรันส์ จำกัด www.aia.co.th
21 บริษัท อลิอันซ์อยุธยาประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) www.azay.co.th
22 บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด www.southeastlife.com
23 บริษัท เอซไลฟ์แอสชัวรันซ์ จำกัด www.acelife.co.th
24 บริษัท แอ๊ดวานซ์ไลฟ์แอสชัวรันส์ จำกัด www.alife.co.th
25 บริษัท ไอเอ็นจีประกันชีวิต จำกัด www.inglife.co.th
01 บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) www.bla.co.th
02 บริษัท กรุงไทย - แอกซ่าประกันชีวิต จำกัด www.krungthai-axa.co.th
03 บริษัท เจนเนอราลี่ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) จำกัด www.generali.co.th
04 บริษัท โตเกียวมารีนประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) www.tokiomarine.co.th
05 บริษัท ไทยคาร์ดิฟประกันชีวิต จำกัด www.thaicardif.com
06 บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด www.thailife.com
07 บริษัท ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) www.scblife.co.th
08 บริษัท ไทยรีประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) www.thaire.co.th
09 บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด www.ocean.co.th
10 บริษัท ธนชาตประกันชีวิต จำกัด www.thanachartlife.co.th
11 บริษัท บางกอกสหประกันชีวิต จำกัด www.builife.com
12 บริษัท ประกันชีวิตนครหลวงไทย จำกัด www.scilife.co.th
13 บริษัท พรูเด็นเชียลประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) www.prudential.co.th
14 บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด www.finansalife.com
15 บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด www.muangthai.co.th
16 บริษัท แมนูไลฟ์ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) www.manulife.co.th
17 บริษัท ไทยซัมซุงประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) www.siamsamsung.co.th
18 บริษัท ทิพยประกันชีวิต จำกัด www.dhipayalife.co.th
19 บริษัท สหประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) www.ulife.in.th
20 บริษัท อเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนลแอสชัวรันส์ จำกัด www.aia.co.th
21 บริษัท อลิอันซ์อยุธยาประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) www.azay.co.th
22 บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด www.southeastlife.com
23 บริษัท เอซไลฟ์แอสชัวรันซ์ จำกัด www.acelife.co.th
24 บริษัท แอ๊ดวานซ์ไลฟ์แอสชัวรันส์ จำกัด www.alife.co.th
25 บริษัท ไอเอ็นจีประกันชีวิต จำกัด www.inglife.co.th
รวมรายชื่อ บริษัทประกันวินาศภัยและเว็ปไซต์ทั้งหมดในประเทศไทย (พ.ศ.2556)
รวมรายชื่อ บริษัทประกันวินาศภัยและเว็ปไซต์ทั้งหมดในประเทศไทย (พ.ศ.2556)
01 บริษัท กมลประกันภัย จำกัด (มหาชน) www.kamolinsurance.com
01 บริษัท กมลประกันภัย จำกัด (มหาชน) www.kamolinsurance.com
02 บริษัท
กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) www.bangkokinsurance.com
03 บริษัท
กรุงเทพประกันสุขภาพ จำกัด www.bangkokhealthinsurance.com
04 บริษัท
กรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด www.kpi.co.th
05 บริษัท
กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด www.rvp.co.th
06 บริษัท
คิวบีอีประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด www.qbe.com
07 บริษัท
เคเอสเค ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด www.kskinsurance.co.th
08 บริษัท
จรัญประกันภัย จำกัด (มหาชน) www.charaninsurance.com
09 บริษัท
เจนเนอราลี่ ประกันภัย (ไทยแลนด์) จำกัด www.generali.co.th
10 บริษัท
เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) www.cpyins.com
11 บริษัท
ชับบ์ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด www.chubb.com
12 บริษัท
ไชน่าอินชัวรันส์ (ไทย) จำกัด www.chinains.co.th
13 บริษัท
ซิกน่าประกันภัย จำกัด (มหาชน) www.cigna.co.th
14 บริษัท
ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) www.dhipaya.co.th
15 บริษัท
เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน) www.deves.co.th
16 บริษัท
ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) www.thaiins.com
17 บริษัท
ไทยประกันสุขภาพ จำกัด www.thaihealth.co.th
18 บริษัท
ไทยพัฒนาประกันภัย จำกัด www.thaipat.co.th
19 บริษัท
ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน) www.scsmg.co.th
20 บริษัท
ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน) www.thaire.co.th
21 บริษัท
ไทยศรีประกันภัย จำกัด (มหาชน) www.thaisri.com
22 บริษัท
ไทยเศรษฐกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน) www.tsi.co.th
23 บริษัท
ธนชาตประกันภัย จำกัด www.thanachartinsurance.co.th
24 บริษัท
นวกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน) www.navakij.co.th
25 บริษัท
นำสินประกันภัย จำกัด (มหาชน) www.namsengins.co.th
26 บริษัท
นิวอินเดียแอสชัวรันซ์ จำกัด www.newindia.co.in
27 บริษัท
นิวแฮมพ์เชอร์อินชัวรันส์ จำกัด www.aiggeneral.co.th
28 บริษัท
บางกอกสหประกันภัย จำกัด (มหาชน) www.bui.co.th
29 บริษัท
ศรีอยุธยา เจเนอรัล ประกันภัย จำกัด (มหาชน) www.sagi.co.th
30 บริษัท
บูพา ประกันสุขภาพ (ประเทศไทย) จำกัด www.bupa.co.th
31 บริษัท
ประกันคุ้มภัย จำกัด (มหาชน) www.safety.co.th
32 บริษัท
ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน) www.thaivivat.co.th
33 บริษัท
โตเกียวมารีนศรีเมืองประกันภัย จำกัด www.srimuang.co.th
34 บริษัท
พระนครธนบุรีประกันภัย จำกัด -
35 บริษัท
พุทธธรรมประกันภัย จำกัด www.phutthatham.com
36 บริษัท
ไทยไพบูลย์ประกันภัย จำกัด www.thaipaiboon.com
37 บริษัท
ฟอลคอนประกันภัย จำกัด (มหาชน) www.falconinsurance.co.th
38 บริษัท
ฟีนิกซ์ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด www.phoenix-ins.co.th
39 บริษัท
มิตซุย สุมิโตโม อินชัวรันซ์ จำกัด www.ms-ins.co.th
40 บริษัท
มิตรแท้ประกันภัย จำกัด (มหาชน) www.mittare.com
41 บริษัท
เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) www.muangthaiinsurance.com
42 บริษัท
ยูเนี่ยนอิเตอร์ ประกันภัย จำกัด (มหาชน) www.uinter.co.th
43 บริษัท
วิริยะประกันภัย จำกัด www.viriyah.co.th
44 บริษัท
ศูนย์สุขภาพประเทศไทย จำกัด www.thaimedical-care.com
45 บริษัท
ส่งเสริมประกันภัย จำกัด www.songserm.co.th
46 บริษัท
สมโพธิ์ เจแปน ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด www.sompojapanthai.com
47 บริษัท
สยามซิตี้ประกันภัย จำกัด www.siamcityins.com
48 บริษัท
สหนิรภัยประกันภัย จำกัด (มหาชน) www.union-insurance.com
49 บริษัท
สหมงคลประกันภัย จำกัด (มหาชน) www.upp.co.th
50 บริษัท
สินทรัพย์ประกันภัย จำกัด www.asset.co.th
51 บริษัท
สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) www.smk.co.th
52 บริษัท
อเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนล แอสชัวรันส์ จำกัด ( ประกันวินาศภัย ) สาขาประเทศไทย
53 บริษัท
อลิอันซ์ ซี.พี.ประกันภัย จำกัด www.allianzcp.com
54 บริษัท
อาคเนย์ประกันภัย จำกัด www.seic.co.th
55 บริษัท
อินทรประกันภัย จำกัด (มหาชน) www.indara.co.th
56 บริษัท
เอไอจี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) www.aig.com
57 บริษัท
เอเชียประกันภัย 1950 จำกัด www.asiainsurance.co.th
58 บริษัท
เอซ ไอเอ็นเอ โอเวอร์ซีส์ อินชัวรันซ์ จำกัด สาขาประเทศไทย
59 บริษัท
บริรักษ์ประกันภัย จำกัด (เอเพ็กซ์ประกันสุขภาพ ) www.borirak.com
60 บริษัท
เอ็ม เอส ไอ จี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด www.msig-thai.com
61 บริษัท
เอราวัณประกันภัย จำกัด www.erawanins.com
62 บริษัท
แอกซ่าประกันภัย จำกัด (มหาชน) www.axa.co.th
63 บริษัท
แอลเอ็มจี ประกันภัย จำกัด www.lmginsurance.co.th
64 บริษัท
โอสถสภาประกันภัย จำกัด www.osi.co.th
65 บริษัท
ไอเอจี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด www.nzi.co.th
66 บริษัท
ไอโออิ กรุงเทพประกันภัย จำกัด www.aioibkkins.co.th
วันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2556
การประกันชีวิต มีกี่ประเภท? กี่แบบ? พร้อมหลักฐานที่ต้องเตรียมเมื่อเกิดเหตุตรงกับที่ระบุไว้ในสัญญากรมธรรม์
การประกันชีวิต คือวิธีการที่บุคคลกลุ่มหนึ่งร่วมกันเฉลี่ยภัยอันเนื่องจากการตาย การสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ และการสูญเสียรายได้ในยามชรา โดยที่เมื่อบุคคลใดต้องประสบกับภัยเหล่านั้น ก็ได้รับเงินเฉลี่ยช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ตนเองและครอบครัว โดยบริษัทประกันชีวิตจะทำหน้าที่เป็นแกนกลางในการนำเงินก้อนดังกล่าวไปจ่ายให้แก่ผู้ได้รับภัย
สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ
1. ประเภทอุตสาหกรรม เป็นการประกันชีวิตที่มีจำนวนเงินเอาประกันภัยค่อนข้างต่ำประมาณ 10,000 - 30,000 บาท ซึ่งเหมาะสำหรับผู้กับที่มีรายได้ปานกลางถึงรายได้ต่ำ การชำระเบี้ยประกันภัยนั้นจะเริ่มชำระเป็นรายเดือน และไม่จำเป็นต้องมีการตรวจสุขภาพ ฉะนั้นจึงมีระยะเวลารอคอย (ถ้าผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตด้วยโรคภัยตามธรรมชาติ บริษัทก็จะไม่จ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้ แต่จะคืนเบี้ยประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยได้ชำระมาแล้วทั้งหมดนั่นเอง)
2. ประเภทสามัญ เป็นการประกันชีวิตที่มีจำนวนเงินเอาประกันภัยค่อนข้างสูง ประมาณ50,000 บาทขึ้นไป ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่มีรายได้หรือฐานะปานกลางขึ้นไป ในการพิจารณารับประกันชีวิตประเภทนี้นั้นอาจจะมีการตรวจสุขภาพหรือไม่ตรวจสุขภาพ ขึ้นอยู่กับการพิจรณารับประกันของบริษัท โดยทั่วไปแล้วจะมีการชำระเบี้ยประกันภัยในรูปแบบ
เป็นรายเดือน ราย 3 เดือน ราย 6 เดือน รายปี ก็ได้
3. ประเภทกลุ่ม เป็นการประกันชีวิตที่กรมธรรม์หนึ่งนั้นจะมีผู้เอาประกันชีวิตร่วมกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ในการพิจารณารับประกันอาจจะมีการตรวจสุขภาพหรือไม่ตรวจก็ได้ ขึ้นอยู่กับการรับพิจรณาของบริษัทประกันภัยนั้นๆ การประกันชีวิตประเภทกลุ่มจะมีอัตราเบี้ยประกันชีวิตจะต่ำกว่าประเภทสามัญและประเภทอุตสาหกรรม
การประกันชีวิตมีทั้งหมด 4 แบบได้แก่
1. แบบสะสมทรัพย์ คือการประกันชีวิตที่บริษัทจะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยเมื่อมีชีวิตอยู่ครบกำหนดสัญญา หรือจ่ายเงินเอาประกันภัย ให้แก่ผู้รับประโยชน์เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตลงภายในระยะเวลาประกันภัย การประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์เป็นส่วนผสมของการคุ้มครองชีวิตและการออมทรัพย์ ส่วนของการออมทรัพย์ คือส่วนที่ผู้เอาประกันภัยได้รับคืนเมื่อสัญญาครบกำหนด
2. แบบตลอดชีพ ก็คือคุ้มครองผู้เอาประกันตลอดชีวิต ถ้าผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตเมื่อใดในขณะที่อยู่ในช่วงเวลาของกรมธรรม์ บริษัทประกันก็จะต้องจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัย ให้แก่ผู้รับประโยชน์ที่ได้มีระบุชื่อไว้ในกรมธรรม์ โดยวัตถุประสงค์เบื้องต้นของการประกันภัยแบบนี้ทำขึ้นเพื่อจัดหาเงินทุนสำหรับช่วยเหลือบุคคลที่อยู่ในความอุปการะเมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต หรือเพื่อเป็นเงินทุนสำหรับการเจ็บป่วยครั้งสุดท้ายและค่าทำศพ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ตกเป็นภาระของบุคคลอื่น
3. แบบเงินได้ประจำ คือการที่บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้เท่ากันอย่างสม่ำเสมอให้แก่ผู้เอาประกันภัยทุกเดือน นับตั้งแต่ผู้เอาประกันภัยเกษียณอายุ อาจจะเป็นอายุ 55 หรือ
60 ปีเป็นต้นไป แล้วแต่เงื่อนไขในกรมธรรม์ที่ได้ระบุไว้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้เอาประกันว่าจะให้จ่ายเป็นระยะเวลานานเท่าไรโดยเลือกซื้อเอาจากกรมธรรม์
4. แบบชั่วระยะเวลา เป็นการประกันชีวิตที่บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายเงินให้แก่ผู้รับประโยชน์เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตในระยะเวลาประกันภัยเป็นตัวกำหนด วัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองการเสียชีวิตก่อนวัยอันสมควร การประกันชีวิตแบบนี้ไม่มีส่วนของการออมทรัพย์ดังนั้นเบี้ยประกันภัยจึงต่ำกว่าแบบอื่น ๆ และไม่มีเงินเหลือคืนให้หากผู้เอาประกันภัยอยู่มีชีวิตจนครบกำหนดสัญญากรมธรรม์
กรณีเมื่อเกิดเหตุซึ่งตรงกับที่ระบุไว้ในสัญญาควรทำดังต่อไปนี้
1. ติดต่อบริษัทประกันภัยที่เราทำประกันภัยด้วยให้เร็วที่สุด
2. กรณีที่ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตนั้นจะแยกเป็นกรณีตามสาเหตุของการเสียชีวิตได้แก่ - กรณีเสียชีวิตด้วยโรคภัยไข้เจ็บ (ต้องแจ้งให้ทราบภายใน 14 วัน)
หลักฐานที่ต้องเตรียมไปด้วยได้แก่
1 ) ใบมรณบัตรของผู้เอาประกันภัย
2 ) ใบเสร็จที่ได้รับเงินงวดสุดท้าย
3 ) บัตรประชาชนของผู้รับประโยชน์
4 ) กรมธรรม์ประกันชีวิต (ถ้าหายให้แจ้งความแล้วนำสำเนา รายงานประจำวันรับแจ้งเอกสารหายไป
แสดงแทน)
5 ) ทะเบียนบ้านของผู้รับประโยชน์
- กรณีเสียชีวิตโดยการฆ่าตัวตาย
หลักฐานที่ต้องเตรียมไปด้วยได้แก่
หลักฐานที่ต้องเตรียมไปด้วยได้แก่
1 ) ใบมรณบัตรของผู้เอาประกันภัย
2 ) ใบเสร็จที่ได้รับเงินงวดสุดท้าย
3 ) บัตรประชาชนของผู้รับประโยชน์
4 ) กรมธรรม์ประกันชีวิต (ถ้าหายให้แจ้งความแล้วนำสำเนา รายงานประจำวันรับแจ้งเอกสารหายไป
แสดงแทน)
5 ) ทะเบียนบ้านของผู้รับประโยชน์
6 ) ใบชันสูตรพลิกศพ
7 ) สำเนาบันทึกประจำวันรับแจ้งเหตุของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
- กรณีเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุ
หลักฐานที่ต้องเตรียมไปด้วยได้แก่
1 ) ใบมรณบัตรของผู้เอาประกันภัย
2 ) ใบเสร็จที่ได้รับเงินงวดสุดท้าย
3 ) บัตรประชาชนของผู้รับประโยชน์
4 ) กรมธรรม์ประกันชีวิต (ถ้าหายให้แจ้งความแล้วนำสำเนา รายงานประจำวันรับแจ้งเอกสารหายไป
แสดงแทน)
5 ) ทะเบียนบ้านของผู้รับประโยชน์
6 ) สำเนาบันทึกประจำวันหลังกลับจากสถานที่เกิดเหตุของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
7 ) ใบชันสูตรพลิกศพ
8 ) สำเนาบันทึกประจำวันรับแจ้งเหตุของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
3. กรณีเรียกร้องค่ารักษาพยาบาล ทุพพลภาพ และสูญเสียอวัยวะ
(ต้องแจ้งบริษัททราบภายใน 10 วัน)
(ต้องแจ้งบริษัททราบภายใน 10 วัน)
หลักฐานที่ต้องเตรียมไปด้วยได้แก่
1 ) ใบเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของบริษัท
2 ) ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาลที่ระบุวันเริ่มต้น และวันสุดท้ายในการรักษาตัวในโรงพยาบาลที่
เข้าทำการรักษา
3) ฟิล์มเอ็กซ์ซเรย์ (ถ้ามี)
4. กรณีกรมธรรม์ครบกำหนด ( ประเภทสะสมทรัพย์
)
1) ติดต่อบริษัทประกันภัยว่าครบวันกำหนดแล้ว
หลักฐานที่ต้องเตรียมไปด้วยได้แก่
หลักฐานที่ต้องเตรียมไปด้วยได้แก่
2) บัตรประชาชนของผู้เอาประกันภัย
3) กรมธรรม์ประกันชีวิต
การยกเว้นการจ่ายเงินเอาประกันชีวิต
1) ผู้เอาประกันฆ่าตัวตายภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่เริ่มทำสัญญาหรือวันต่ออายุสัญญาครั้งสุดท้าย
1) ผู้เอาประกันฆ่าตัวตายภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่เริ่มทำสัญญาหรือวันต่ออายุสัญญาครั้งสุดท้าย
2) ผู้รับประโยชน์ได้ฆ่าผู้เอาประกันตาย
***จากสาเหตุ 2 ข้อข้างต้นนั้นบริษัทประกันจะไม่จ่ายจำนวนเงินเอาประกันชีวิตให้ แต่ว่าจะต้อง
คืนเบี้ยประกันชีวิตที่เคยได้ชำระมาแล้วทั้งหมดเท่านั้น
คืนเบี้ยประกันชีวิตที่เคยได้ชำระมาแล้วทั้งหมดเท่านั้น
หน้าที่ของผู้เอาประกันต้องชำระเบี้ยประกัน
หากตัวแทนของบริษัทประกันยังไม่มาดำเนินการเก็บเงินเบี้ยประกันภัยในเวลาที่กำหนดจ่าย ตามกฎหมายจะถือว่าเป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันชีวิตจะต้องไปชำระที่สาขาของบริษัทด้วยตนเอง หรือส่งเป็นธนาณัติ เช็คและเพื่อที่บริษัทจะได้ส่งใบเสร็จรับเงินมาให้อย่างถูกต้อง เพื่อมิให้เสียโอกาสและประโยชน์ที่จะได้รับ
ท่านจำเป็นต้องเขียนที่อยู่ของท่านให้ถูกต้อง
ระยะเวลาผ่อนผันการชำระเบี้ยประกัน (ขึ้นอยู่กับบริษัท)
ผู้เอาประกันชีวิตมีสิทธิที่จะได้รับการผ่อนผันการชำระเงินได้ โดยการยืดระยะเวลาได้ประมาณ
30 หรือ 60 วัน
รู้หรือไม่ว่าเบี้ยประกันชีวิตนั้นสามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคล
กล่าวคือผู้เอาประกันชีวิตสามารถนำมาหักภาษีได้ไม่เกิน 100,000 บาท
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)