ลักษณะของความเสี่ยงภัยที่สามารถจะเอาประกันภัยได้ มีดังต่อไปนี้
1. ความเสี่ยงภัยนั้นควรจะต้องเป็นความเสี่ยงภัยที่แท้จริงและเป็นความเสี่ยงภัยจำเพาะ
2. ความเสี่ยงภัยนั้นจะต้องมีหน่วยที่คล้ายคลึงกันเป็นจำนวนมาก
3. ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นนั้น ต้องเป็นอุบัติเหตุและไม่ได้เกิดขึ้นจากการกระทำ โดยเจตนาของผู้เอาประกันภัย
4. ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นนั้น ต้องสามารถหาสาเหตุและประเมินความเสียหายเป็นตัวเงินได้
5. ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นนั้นจะต้องไม่เป็นมหันตภัย
6. ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นนั้น ผู้เอาประกันต้องมีส่วนได้ส่วนเสียด้วย
7. โอกาสที่จะเกิดในตัวความเสียหายต้องสามารถคำนวณหรือประมาณค่าได้
วิธีจัดการกับความเสี่ยงภัย แบ่งออกได้เป็น 4 รูปแบบได้แก่
1. การหลีกเลี่ยงความเสี่ยงภัย (Risk avoid) โดยการพยายามหลีกเลี่ยงสาเหตุที่อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายนั้น
2. การลดความเสี่ยงภัย (Risk reduction) สามารถทำได้โดยการป้องกันการเกิดความเสียหายโดยกระทำก่อนที่จะมีความเสียหายขึ้น
เช่น - การตรวจสภาพเครื่องยนต์ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ
- การที่เจ้าหน้าที่ดับเพลิงทำการดับเพลิงที่เกิดขึ้นอย่างทันท่วงที
- การแยกทรัพย์สิน เช่นการตั้งโรงงานและโกดังไว้คนละสถานที่
3. การรับเสี่ยงภัยไว้เอง (Risk retention)
ได้แก่การรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากภัยไว้เอง เนื่องจากภัยบางอย่างอาจจะเล็กมาก จนไม่
จำเป็นต้องหาวิธีจัดการกับความเสี่ยงภัย
เช่น - ความเสื่อมสภาพของวัสดุสำนักงาน
- การเอาประกันภัยรถยนต์แบบมีความรับผิดชอบต่อความเสียหายส่วนแรกไม่เกิน 1,000 บาท
4. การโอนความเสี่ยงภัย (Risk transfer)
เป็นวิธีการจัดการกับความเสี่ยงภัยที่ได้รับความนิยมมากที่สุดวิธีหนึ่ง ด้วยการโอนความเสี่ยงภัย
เกี่ยวกับความเสียหายทางการเงินและความรับผิดต่าง ๆ ไปให้บุคคลอื่นรับภาระแทน ทำได้ 2 วิธี คือ
4.1 การโอนความเสี่ยงภัยในรูปแบบของการประกันภัย (Insurance transfer)
4.2 การโอนความเสี่ยงภัยไปให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่การประกันภัย (Non-insurance transfer)
เช่น การจ้างบริษัทอื่นทำความสะอาดภายนอกอาคารสูง ๆที่มีความอันตรายสูง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น