1. มีความจำเป็นเลือกซื้อกับบริษัทที่มีชื่อเสียง หรือน่าเชื่อถือ คือดูถึงความมั่นคงของบริษัทที่จะสามารถอยู่กับเราได้ไม่ชิงล้มละลายหายตจากไปเสียก่อน
2. ซื้อให้เหมาะกับจำนวนวงเงินที่ต้องการ ไม่ต้องซื้อมากมาย
3. ซื้อให้เหมาะกับความสามารถที่เรามีและสามารถชำระเบี้ยประกันภัยได้อย่างสบายๆ
4. ควรทำความเข้าใจในเงื่อนไขและข้อยกเว้นของกรมธรรม์ก่อนซื้อทุกครั้ง
5. ควรจะเปรียบเทียบกรมธรรม์ของแต่ละบริษัทว่าที่ใดได้ราคาถูกที่สุดความคุ้มครองดีที่สุด ตัวแทนดีที่สุดประวัติดีไม่งี่เง่า และมีโปรโมชั่นหลังการขายดีที่สุด
ปัจจุบันมีแนวคิดในการคำนวณทุนประกันที่เหมาะสมอยู่ 2 แนวทาง คือ ตามศักยภาพของบุคคล
หรือตามภาระที่บุคคลพึงรับผิดชอบ โดยรายละเอียดในแนวคิดเหล่านั้นเป็นดังนี้
1. คำนวณตามศักยภาพ (Potential Base)
ถึง แม้มูลค่าที่แท้จริงของบุคคล คือ จำนวนรายได้ทั้งหมดที่คาดว่าเขาจะทำขึ้นมาได้ในช่วงชีวิตที่เหลือ หรือจนกว่า
จะเกษียณอายุ แต่วงเงินที่คำนวณได้ มักจะสูงเกินกว่าที่เราจะจ่ายเพื่อทำประกันได้ โดยเฉพาะคนที่เริ่มต้นทำงานใหม่ ๆ
ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นจริง จึงมีการกำหนดว่า บุคคลควรมีวงเงินประกันเท่ากับ 5 เท่าของรายได้ต่อปี เช่น นาย ก มีเงินเดือน ๆ ละ 50,000 บาท และได้รับโบนัสตอนสิ้นปีอีก 2 เดือน รวมทั้งปีมีรายได้เท่ากับ 700,000 บาท
ดังนั้นทุนประกันที่เหมาะสมจะเท่ากับ 700,000 X 5 = 3,500,000 บาท
สำหรับ เหตุผลที่กำหนดให้มีวงประกันเป็น 5 เท่าของรายได้ต่อปีนั้น เพราะว่าเวลา 5 ปีเป็นช่วงเวลาที่พอสมควร
ที่คนในครอบครัวจะได้ปรับตัว แม่บ้านที่หยุดทำงานมานานหากต้องออกมาทำงานใหม่ก็พอมีเวลาหางานและฝึกทักษะ การทำงานอีกครั้งหรือจะขยับขยายหาธุรกิจใหม่มาทำ เพื่อทำหน้าที่หารายได้แทนสามีต่อไป
บางตำราบอกว่า ควรให้เวลาครอบครัวปรับตัวถึง 7 ปี แต่รายได้ที่นำมาคำนวณนั้นควรจะคิดเพียง 70 % ของรายได้ต่อปี เพราะในช่วงที่ผู้เอาประกันยังมีชีวิตอยู่นั้นรายได้ส่วนหนึ่งต้องนำไปจ่าย ภาษีและค่าใช้จ่ายส่วนตัว เหลือเงินรายได้ในครอบครัวเพียง 70 % ดังนั้น เมื่อเขาไม่อยู่ ก็ให้ใช้ตัวเลขเพียง 70% ของรายได้ในการคำนวณแต่เมื่อคำนวณออกมาเป็นวงเงินประกัน
จะได้เท่ากับ 70 % X 7 = 490 % ของรายได้ต่อปีซึ่งจะใกล้เคียงกับ 5 เท่าของรายได้ต่อปีนั่นเอง
2. คำนวณตามภาระค่าใช้จ่าย (Need Base)
วิธี นี้ ดูตามความจำเป็นของครอบครัวว่าหากสูญเสียเราไป ครอบครัวยังต้องแบกรับค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง เพราะถ้าเป็นไปได้ เราคงอยากรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเหล่านี้ไว้เอง
ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายรายเดือนของครอบครัว, หนี้สินที่คงค้างอยู่, ค่าเล่าเรียนของลูก ๆ , ค่าเลี้ยงดูพ่อแม่
รวมถึงค่าใช้จ่ายครั้งสุดท้ายซึ่งได้แก่ค่าฌาปนกิจ
อย่างไรก็ตาม พวกเราแต่ละคนย่อมมีการเตรียมการ หรือมีสมบัติบางส่วนที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินเพื่อรับภาระเหล่านี้บ้าง
ดังนั้น วงเงินประกันที่ต้องการ จะเท่ากับจำนวนเงินที่ยังขาดหลังจากการนำทรัพย์สินที่มีอยู่ไปหักจากภาระค่าใช้จ่าย
ทุนประกัน = ภาระ – สินทรัพย์ที่มีอยู่
ภาระได้แก่
1. ค่าใช้จ่ายของครอบครัว คูณด้วยจำนวนปีที่เราอยากให้เขาอยู่ได้ เสมือนว่าเรายังมีชีวิตอยู่
2. หนี้สินที่คงค้างทั้งหมด ไม่ว่าค่าจำนองบ้าน, หนี้รถยนต์ หรือหนี้บัตรเครดิต
3. ค่าเลี้ยงดูพ่อแม่ ตามจำนวนปีที่คาดว่าท่านยังมีชีวิตอยู่
4. ค่าเล่าเรียนของลูกทุกคน จนกว่าเขาจะเรียนจบ
5. ค่าใช้จ่ายในวาระสุดท้ายของเรา ได้แก่ งานฌาปนกิจ เป็นต้น
ขณะที่ทรัพย์สินที่บางท่านอาจมีเตรียมไว้แล้ว เช่น
1. ทุนประกันที่เรามีอยู่แล้วในปัจจุบัน
2. สินทรัพย์สภาพคล่องที่สามารถแปลงเป็นเงินสดได้ หลังเราเสียชีวิต
3. กองทุนต่าง ๆ หรือเงินทดแทน ที่บริษัทของเราจ่ายให้เมื่อเสียชีวิต
หากสรุปเป็นสมการใหม่ จะได้ดังนี้
วงเงินประกันชีวิตที่ต้องทำเพิ่ม = รายจ่ายของครอบครัว + หนี้สิน + ทุนการศึกษาลูก + ค่าทำศพ –
วงเงินประกันชีวิตที่มีอยู่ในปัจจุบัน – สินทรัพย์สภาพคล่องสูง – เงินกองทุนจากบริษัทนายจ้าง
ในกรณีที่เรามีทุนประกันหรือสินทรัพย์รวมกันมากกว่าภาระที่จะเกิดขึ้นก็ไม่จำเป็นต้องทำประกันเพิ่ม เว้นแต่ว่า
เรายังต้องการให้ทายาทของเรามีทุนรอนเหลือเฟือ เพื่อเขาจะอยู่ได้อย่างสบาย และสามารถส่งต่อความมั่งคั่งไปสู่ลูกหลานต่อไปครับ
2. ซื้อให้เหมาะกับจำนวนวงเงินที่ต้องการ ไม่ต้องซื้อมากมาย
3. ซื้อให้เหมาะกับความสามารถที่เรามีและสามารถชำระเบี้ยประกันภัยได้อย่างสบายๆ
4. ควรทำความเข้าใจในเงื่อนไขและข้อยกเว้นของกรมธรรม์ก่อนซื้อทุกครั้ง
5. ควรจะเปรียบเทียบกรมธรรม์ของแต่ละบริษัทว่าที่ใดได้ราคาถูกที่สุดความคุ้มครองดีที่สุด ตัวแทนดีที่สุดประวัติดีไม่งี่เง่า และมีโปรโมชั่นหลังการขายดีที่สุด
ปัจจุบันมีแนวคิดในการคำนวณทุนประกันที่เหมาะสมอยู่ 2 แนวทาง คือ ตามศักยภาพของบุคคล
หรือตามภาระที่บุคคลพึงรับผิดชอบ โดยรายละเอียดในแนวคิดเหล่านั้นเป็นดังนี้
1. คำนวณตามศักยภาพ (Potential Base)
ถึง แม้มูลค่าที่แท้จริงของบุคคล คือ จำนวนรายได้ทั้งหมดที่คาดว่าเขาจะทำขึ้นมาได้ในช่วงชีวิตที่เหลือ หรือจนกว่า
จะเกษียณอายุ แต่วงเงินที่คำนวณได้ มักจะสูงเกินกว่าที่เราจะจ่ายเพื่อทำประกันได้ โดยเฉพาะคนที่เริ่มต้นทำงานใหม่ ๆ
ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นจริง จึงมีการกำหนดว่า บุคคลควรมีวงเงินประกันเท่ากับ 5 เท่าของรายได้ต่อปี เช่น นาย ก มีเงินเดือน ๆ ละ 50,000 บาท และได้รับโบนัสตอนสิ้นปีอีก 2 เดือน รวมทั้งปีมีรายได้เท่ากับ 700,000 บาท
ดังนั้นทุนประกันที่เหมาะสมจะเท่ากับ 700,000 X 5 = 3,500,000 บาท
สำหรับ เหตุผลที่กำหนดให้มีวงประกันเป็น 5 เท่าของรายได้ต่อปีนั้น เพราะว่าเวลา 5 ปีเป็นช่วงเวลาที่พอสมควร
ที่คนในครอบครัวจะได้ปรับตัว แม่บ้านที่หยุดทำงานมานานหากต้องออกมาทำงานใหม่ก็พอมีเวลาหางานและฝึกทักษะ การทำงานอีกครั้งหรือจะขยับขยายหาธุรกิจใหม่มาทำ เพื่อทำหน้าที่หารายได้แทนสามีต่อไป
บางตำราบอกว่า ควรให้เวลาครอบครัวปรับตัวถึง 7 ปี แต่รายได้ที่นำมาคำนวณนั้นควรจะคิดเพียง 70 % ของรายได้ต่อปี เพราะในช่วงที่ผู้เอาประกันยังมีชีวิตอยู่นั้นรายได้ส่วนหนึ่งต้องนำไปจ่าย ภาษีและค่าใช้จ่ายส่วนตัว เหลือเงินรายได้ในครอบครัวเพียง 70 % ดังนั้น เมื่อเขาไม่อยู่ ก็ให้ใช้ตัวเลขเพียง 70% ของรายได้ในการคำนวณแต่เมื่อคำนวณออกมาเป็นวงเงินประกัน
จะได้เท่ากับ 70 % X 7 = 490 % ของรายได้ต่อปีซึ่งจะใกล้เคียงกับ 5 เท่าของรายได้ต่อปีนั่นเอง
2. คำนวณตามภาระค่าใช้จ่าย (Need Base)
วิธี นี้ ดูตามความจำเป็นของครอบครัวว่าหากสูญเสียเราไป ครอบครัวยังต้องแบกรับค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง เพราะถ้าเป็นไปได้ เราคงอยากรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเหล่านี้ไว้เอง
ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายรายเดือนของครอบครัว, หนี้สินที่คงค้างอยู่, ค่าเล่าเรียนของลูก ๆ , ค่าเลี้ยงดูพ่อแม่
รวมถึงค่าใช้จ่ายครั้งสุดท้ายซึ่งได้แก่ค่าฌาปนกิจ
อย่างไรก็ตาม พวกเราแต่ละคนย่อมมีการเตรียมการ หรือมีสมบัติบางส่วนที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินเพื่อรับภาระเหล่านี้บ้าง
ดังนั้น วงเงินประกันที่ต้องการ จะเท่ากับจำนวนเงินที่ยังขาดหลังจากการนำทรัพย์สินที่มีอยู่ไปหักจากภาระค่าใช้จ่าย
ทุนประกัน = ภาระ – สินทรัพย์ที่มีอยู่
ภาระได้แก่
1. ค่าใช้จ่ายของครอบครัว คูณด้วยจำนวนปีที่เราอยากให้เขาอยู่ได้ เสมือนว่าเรายังมีชีวิตอยู่
2. หนี้สินที่คงค้างทั้งหมด ไม่ว่าค่าจำนองบ้าน, หนี้รถยนต์ หรือหนี้บัตรเครดิต
3. ค่าเลี้ยงดูพ่อแม่ ตามจำนวนปีที่คาดว่าท่านยังมีชีวิตอยู่
4. ค่าเล่าเรียนของลูกทุกคน จนกว่าเขาจะเรียนจบ
5. ค่าใช้จ่ายในวาระสุดท้ายของเรา ได้แก่ งานฌาปนกิจ เป็นต้น
ขณะที่ทรัพย์สินที่บางท่านอาจมีเตรียมไว้แล้ว เช่น
1. ทุนประกันที่เรามีอยู่แล้วในปัจจุบัน
2. สินทรัพย์สภาพคล่องที่สามารถแปลงเป็นเงินสดได้ หลังเราเสียชีวิต
3. กองทุนต่าง ๆ หรือเงินทดแทน ที่บริษัทของเราจ่ายให้เมื่อเสียชีวิต
หากสรุปเป็นสมการใหม่ จะได้ดังนี้
วงเงินประกันชีวิตที่ต้องทำเพิ่ม = รายจ่ายของครอบครัว + หนี้สิน + ทุนการศึกษาลูก + ค่าทำศพ –
วงเงินประกันชีวิตที่มีอยู่ในปัจจุบัน – สินทรัพย์สภาพคล่องสูง – เงินกองทุนจากบริษัทนายจ้าง
ในกรณีที่เรามีทุนประกันหรือสินทรัพย์รวมกันมากกว่าภาระที่จะเกิดขึ้นก็ไม่จำเป็นต้องทำประกันเพิ่ม เว้นแต่ว่า
เรายังต้องการให้ทายาทของเรามีทุนรอนเหลือเฟือ เพื่อเขาจะอยู่ได้อย่างสบาย และสามารถส่งต่อความมั่งคั่งไปสู่ลูกหลานต่อไปครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น