ประวัติและความเป็นมาของการประกันภัยในประเทศไทย
ในสมัย กรุงศรีอยุธยา
ธุรกิจประกันภัยวินาศภัยในประเทศไทยมีกำเนิดในสมัยที่กรุงศรีอยุธยากำลังรุ่งเรืองและมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับต่างประเทศ
ซึ่งอาศัยการขนส่งทางเรือเป็นส่วนใหญ่ จึงมีการประกันภัยทางทะเลเป็นประเภทแรก
เริ่มต้นจากระหว่างชาวต่างประเทศด้วยกันโดยมิได้จดทะเบียนการค้าหรือแจ้งต่อรัฐบาลสยามเป็นทางการแต่ประการใด
ในสมัยรัตนโกสินทร์
พ.ศ.2454 ได้มีประกาศกฎหมายที่กล่าวถึงการประกันภัยครั้งแรกคือ “พระราชบัญญัติลักษณะเข้าหุ้นส่วนและบริษัท
ร.ศ. 130”
พ.ศ.2471 “พระราชบัญญัติควบคุมการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือความผาสุกแห่งสาธารณชน”
พ.ศ.2510 “พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ.2510” และ พระราชบัญญัติประกันชีวิต
พ.ศ.2510”
พ.ศ.2535 “พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย
พ.ศ.2535” “พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ.2535” และ “พระราชบัญญัติ
คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535”
ในปัจจุบันคนไทยมีความรู้ในเรื่องประกันภัยกันน้อยมาก เพราะคิดว่าเสียเงินโดยสูญเปล่าและคิดว่าไม่มีความจำเป็นต้องทำ อีกทั้งยังมีความรู้สึกในแง่ลบต่อธุรกิจประกันภัย แต่หากเราลองศึกษาการประกันภัยจริงๆ ก็จะพบว่าเป็นการลงทุนที่น่าสนใจอีกช่องทางหนึ่งและเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในวันที่คุณไม่คาดคิดมาถึง ดังนั้นเราต้องศึกษาให้ดีทั้งในเรื่องตัวแทน บริษัท ประวัติ ภัย ค่าสินไหม ระยะเวลา และอีกหลายอย่างเป็นต้น เพื่อผลประโยชน์ของตัวเราเองและคนที่คุณรัก
วันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2557
ประวัติและความเป็นมาของธุรกิจการประกันภัยและประกันชีวิตในสมัยอดีต
มีเรื่องการเกิดปรากฏการในพระคัมภีร์ไบเบิ้ลเกี่ยวกับคนๆหนึ่งชื่อโจเซฟ และมีความอดอยาก ณ ประเทศอียิปต์ ว่าวกันว่า คืนวันหนึ่ง ฟาโรห์ ทรงฝันว่า มีวัวอ้วนเจ็ดตัวกำลังถูกวัวซูปผอมเจ็ดตัวกัดกิน โจเซฟทำนายฝันว่า ประเทศอียิปต์จะมีพืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์เป็นเวลาเจ็ดปี และหลังจากนั้นจะเกิดความแห้งแล้งสู่ประชาชนจะอดอยากปากแห้งเป็นเวลาอีกเจ็ดปี ดังนั้น จึงทูลเสนอต่อฟาโรห์ให้สะสมธัญญาหารในปีที่สมบูรณ์ไว้สำหรับเลี้ยงประชาชนในปีที่ข้าวยาก-หมากแพง วิธีนี้เรียกได้ว่าเป็นหลักการประกันภัยพื้นฐาน กล่าวคือ เก็บออมตั้งแต่วันนี้ เพื่อไว้ใช้ในอนาคตซึ่งหาความแน่นอนไม่ได้
ต่อมาในประเทศจีน ประมาณสามพันปีก่อนคริสตกาล พ่อค้าชาวจีนหัวใสได้พัฒนาวิธีการประกันขึ้นสำหรับการขนส่งสินค้าตามลำน้ำแยงซี ซึ่งมีสายน้ำที่เชี่ยวกราก และเพราะว่าเกิดเรือบรรทุกสินค้ามักอับปางอยู่เสมอเนื่องจากมีหินใต้น้ำ และเกาะแก่งที่คดเคี้ยว อันตรายต่อการเดินเรือ มีให้ปรากฏเห็นอยู่เสมอว่าพ่อค้าบางคนต้องสิ้นเนื้อประดาตัว เพราะสินค้าได้รับความเสียหายหมด ดังนั้น ด้วยความกลัว พ่อค้าเหล่านั้นจึงหาวิธี "กระจายความเสี่ยงภัย" ออกไป โดยนการนำสินค้าของตนที่ไ้ด้บรรทุกไว้ในเรือลำอื่นหลายลำ เฉลี่ยกันไปจนครบจำนวนหีบห่อสินค้า ซึ่งถ้าเรือลำใดลำหนึ่งจมลงก็หมายความว่า สินค้าของพ่อค้าแต่ละคน สูญเสียเพียงคนละ 1 หีบห่อเท่านั่น ซึ่งวิธีการเช่นนี้เป็นที่มาของการประกันภัยในการกระจายความเสี่ยงไปให้บริษัทประกันภัยแบบในปัจจุบันนั่นเอง
ต่อมาราวๆ ก่อนศตวรรษที่ 13 และ 14 ปรากฏ มีการประกันทางทะเลกันอย่างแพร่หลายตามเมืองต่างๆ ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน สัญญาประกันภัยการขนส่งสินค้าทางทะเลฉบับแรกของโลกเท่าที่มีปรากฏเป็นหลักฐานจนถึงปัจจุบันนี้ คือ ฉบับลงวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 1347 ออก ให้ ณ เมืองเจนัว ประเทศอิตาลี "สัญญาประกันภัยการขนส่งสินค้าทางทะเล"
ส่วนสัญญาประกันภัยฉบับแรกของอังกฤษ ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เท่าที่ปรากฏตามหลักฐานซึ่งยังคงเก็บรักษาไว้ถึงปัจจุบัน คือ Broke Sea Insurance Policy ปี ศ.ศ.1547 โดยเฉพาะในตลาดการประกันภัย คือ นายเอ็ดเวิร์ดลอยด์ (Edward Lloyd) เจ้าของร้านกาแฟ ที่ทำให้เป็นจุดศูนย์กลางและเกิดวิธีประกันภัยในสมัยนั้น คือเจ้าของเรือ หรือพ่อค้าที่ต้องการซื้อประกันภัยจะทำบัญชีแสดงรายภารทรัพย์สินต่างๆ ที่จะบรรทุกลงเรือใต้รายการเหล่านี้นายธนาคารหรือบุคคลอื่นๆ ที่ประส์จะรับประกันภัยจะลงชื่อพร้อมกับระบุจำนวนเงินที่ตนจะรับเสี่ยง แล้วลงลายมือชื่อไว้ ( และนี่คือที่มาของคำว่า Underwriter ) และเพื่อเป็นค่าตอบแทนในการเข้ารับเสี่ยงภัย ผู้ลงนามข้างใต้ ( Underwriter ) แต่ละคนจะได้รับค่าตอบแทน เรียกว่า เบี้ยประกันภัย
"ธุรกิจประกันภัยของลอยด์ นับว่าเป็นธุรกิจประกันภัยที่เก่าแก่และใหญ่โตที่สุดในโลก ถือได้ว่าเป็น บิดาแห่งการประกันภัย"
ในช่วงเวลานั้น สัญญาประกันภัยส่วนมาเป็นสัญญาประกันภัยทางทะเล ต่อมาก็ขยายออกไปคุ้มครองการเสียชีวิตของนายเรือและลูกเรือ รวมทั้งพ่อค้าที่คุมสินค้าไปกับเรือ ตลอดจนคุ้มครองจำนวนเงินที่จะเป็นค่าไถ่ตัวเมื่อถูกโจรสลัดจับตัวด้วย
ส่วนกรมธรรม์ประกันชีวิต ดังที่เรารู้จักกันในขณะนี้ เดิมมีมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1583 ปรากฏเป็นหลักฐานที่แน่ชัดว่าเป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตของนายวิลเลี่ยม กิบบอนส์ โดยมีนายริชาร์ด มาร์ติน เป็นผู้รับประโยชน์ วงเงินที่เอาประกัน 400 ปอนด์สเตอร์ลิง และเบี้ยประกันหนึ่งปี 32 ปอนด์สเตอร์ลิง มีผู้ลงชื่อรับประกันชีวิตนายกิบบอนส์ 16 คน และทั้ง ๆ ที่นายกิบบอนส์มีสุขภาพดี และในกรมธรรม์มีคำภาวนาว่า "ขอให้พระผู้เป็นเจ้าจงคุ้มครอง นายวิลเลี่ยม กิบบอนส์ ให้มีสุขภาพดี และอายุยืนยาว" แต่ก็ปรากฏว่าเขาตายในปีนั้นเอง
ต่อมาในประเทศจีน ประมาณสามพันปีก่อนคริสตกาล พ่อค้าชาวจีนหัวใสได้พัฒนาวิธีการประกันขึ้นสำหรับการขนส่งสินค้าตามลำน้ำแยงซี ซึ่งมีสายน้ำที่เชี่ยวกราก และเพราะว่าเกิดเรือบรรทุกสินค้ามักอับปางอยู่เสมอเนื่องจากมีหินใต้น้ำ และเกาะแก่งที่คดเคี้ยว อันตรายต่อการเดินเรือ มีให้ปรากฏเห็นอยู่เสมอว่าพ่อค้าบางคนต้องสิ้นเนื้อประดาตัว เพราะสินค้าได้รับความเสียหายหมด ดังนั้น ด้วยความกลัว พ่อค้าเหล่านั้นจึงหาวิธี "กระจายความเสี่ยงภัย" ออกไป โดยนการนำสินค้าของตนที่ไ้ด้บรรทุกไว้ในเรือลำอื่นหลายลำ เฉลี่ยกันไปจนครบจำนวนหีบห่อสินค้า ซึ่งถ้าเรือลำใดลำหนึ่งจมลงก็หมายความว่า สินค้าของพ่อค้าแต่ละคน สูญเสียเพียงคนละ 1 หีบห่อเท่านั่น ซึ่งวิธีการเช่นนี้เป็นที่มาของการประกันภัยในการกระจายความเสี่ยงไปให้บริษัทประกันภัยแบบในปัจจุบันนั่นเอง
ต่อมาราวๆ ก่อนศตวรรษที่ 13 และ 14 ปรากฏ มีการประกันทางทะเลกันอย่างแพร่หลายตามเมืองต่างๆ ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน สัญญาประกันภัยการขนส่งสินค้าทางทะเลฉบับแรกของโลกเท่าที่มีปรากฏเป็นหลักฐานจนถึงปัจจุบันนี้ คือ ฉบับลงวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 1347 ออก ให้ ณ เมืองเจนัว ประเทศอิตาลี "สัญญาประกันภัยการขนส่งสินค้าทางทะเล"
ส่วนสัญญาประกันภัยฉบับแรกของอังกฤษ ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เท่าที่ปรากฏตามหลักฐานซึ่งยังคงเก็บรักษาไว้ถึงปัจจุบัน คือ Broke Sea Insurance Policy ปี ศ.ศ.1547 โดยเฉพาะในตลาดการประกันภัย คือ นายเอ็ดเวิร์ดลอยด์ (Edward Lloyd) เจ้าของร้านกาแฟ ที่ทำให้เป็นจุดศูนย์กลางและเกิดวิธีประกันภัยในสมัยนั้น คือเจ้าของเรือ หรือพ่อค้าที่ต้องการซื้อประกันภัยจะทำบัญชีแสดงรายภารทรัพย์สินต่างๆ ที่จะบรรทุกลงเรือใต้รายการเหล่านี้นายธนาคารหรือบุคคลอื่นๆ ที่ประส์จะรับประกันภัยจะลงชื่อพร้อมกับระบุจำนวนเงินที่ตนจะรับเสี่ยง แล้วลงลายมือชื่อไว้ ( และนี่คือที่มาของคำว่า Underwriter ) และเพื่อเป็นค่าตอบแทนในการเข้ารับเสี่ยงภัย ผู้ลงนามข้างใต้ ( Underwriter ) แต่ละคนจะได้รับค่าตอบแทน เรียกว่า เบี้ยประกันภัย
"ธุรกิจประกันภัยของลอยด์ นับว่าเป็นธุรกิจประกันภัยที่เก่าแก่และใหญ่โตที่สุดในโลก ถือได้ว่าเป็น บิดาแห่งการประกันภัย"
ในช่วงเวลานั้น สัญญาประกันภัยส่วนมาเป็นสัญญาประกันภัยทางทะเล ต่อมาก็ขยายออกไปคุ้มครองการเสียชีวิตของนายเรือและลูกเรือ รวมทั้งพ่อค้าที่คุมสินค้าไปกับเรือ ตลอดจนคุ้มครองจำนวนเงินที่จะเป็นค่าไถ่ตัวเมื่อถูกโจรสลัดจับตัวด้วย
ส่วนกรมธรรม์ประกันชีวิต ดังที่เรารู้จักกันในขณะนี้ เดิมมีมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1583 ปรากฏเป็นหลักฐานที่แน่ชัดว่าเป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตของนายวิลเลี่ยม กิบบอนส์ โดยมีนายริชาร์ด มาร์ติน เป็นผู้รับประโยชน์ วงเงินที่เอาประกัน 400 ปอนด์สเตอร์ลิง และเบี้ยประกันหนึ่งปี 32 ปอนด์สเตอร์ลิง มีผู้ลงชื่อรับประกันชีวิตนายกิบบอนส์ 16 คน และทั้ง ๆ ที่นายกิบบอนส์มีสุขภาพดี และในกรมธรรม์มีคำภาวนาว่า "ขอให้พระผู้เป็นเจ้าจงคุ้มครอง นายวิลเลี่ยม กิบบอนส์ ให้มีสุขภาพดี และอายุยืนยาว" แต่ก็ปรากฏว่าเขาตายในปีนั้นเอง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)