วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เว็ปเทียบเบี้ยประกันภัยรถยนต์ ที่ดีที่สุด รวดเร็วที่สุด แบบออนไลน์ปัจจุบัน

เมื่อเราอยากเลือกประกันดีๆสักที่ก็มักจะอยากได้บริษัทที่ดีที่สุด
 ถูกที่สุด บริการดีที่สุด


แต่เพราะมีหลายบริษัทเหลือเกินทำให้เราลังเลใจ
 และต้องคอยสอบถามมากมาย

ทำให้เกิดความยุ่งยากในการที่เราจะหา
บริษัทที่ให้ข้อเสนอที่โดนใจเราที่สุด

ผมจึงไปสรรหาเว็ปที่ดีที่สุดในการเปรียบเทียบเบี้ยแบบออนไลน์มาให้ครับ

เป็นเว็ปเทียบเบี้ยกับบริษัทประกันภัยชั้นนำ โปรโมชั่นดีที่สุด ในประเทศไทยแบบออนไลน์ บริการดีมากๆครับ ดีจริงจึงมาบอกต่อ

***ใช้เวลาเพียงแค่ 30 วินาทีกรอกข้อมูลรถ***




วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ประกันชีวิตกับการลดหย่อนภาษี

ประกันชีวิต

ในส่วนของประกันแบบออมทรัพย์และประกันแบบบำนาญ เราสามารถนำเบี้ยที่จ่ายในแต่ละปีมาลดหย่อนภาษีได้ครับ โดยมีเพดานสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท แปลว่าถ้าคุณมีฐานภาษี 10% จ่ายเบี้ยประกันปีละ 100,000 บาท คุณสามารถลดหย่อนภาษีได้ถึง 10,000 บาทเลย นอกจากนี้ ประกันชีวิตยังมีเงินจ่ายคืนทุก 2 ปี หรือ 3 ปี หรือ 5 ปี และจ่ายคืนให้ก้อนใหญ่เมื่อครบสัญญาด้วย ซึ่งเมื่อคำนวณดูแล้ว ผลตอบแทนมักจะเป็นบวกครับ (ได้คืนมามากกว่าที่จ่ายออกไป) ดูวิธีคำนวณได้จากบทความเรื่อง “ประกันออมทรัพย์ผลตอบแทนมากกว่า 100% มีจริงหรือ?”
การซื้อประกันชีวิตที่สามารถลดหย่อนภาษีได้ จะต้องเป็นกรมธรรม์ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 10 ปี ควรเป็นกรมธรรม์ที่ไม่พ่วงประกันสุขภาพหรือประกันอุบัติเหตุด้วย เพราะค่าเบี้ยของประกันสุขภาพและประกันอุบัติเหตุไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้
ชื่อเรียกประเภทกรมธรรม์มักเป็นตัวเลขสองชุด เช่น 15/7 ตัวเลขน้อยกว่าหมายถึงจำนวนปีที่ต้องจ่ายเบี้ย ตัวเลขมากกว่าหมายถึงจำนวนปีของอายุกรมธรรม์ 15/7 จึงหมายถึงจ่ายเบี้ยติดต่อกัน 7 ปี กรมธรรม์มีอายุคุ้มครอง 15 ปี (ถ้าตายใน 15 ปี ทายาทจะได้รับเงินชดเชย) ควรเลือกกรมธรรม์ที่ตัวเลขสองชุดใกล้เคียงกัน เช่น 15/15 คือจ่ายเบี้ยเท่าระยะเวลาประกัน เพราะถ้าเลือกแบบตัวเลขห่างกัน เช่น 20/5 คือจ่ายเบี้ยแค่ 5 ปี แต่ประกันนานถึง 20 ปี แบบนี้ค่าเบี้ยที่จ่ายไปจะเป็นค่าความคุ้มครองเยอะ ทำให้ผลตอบแทนที่เป็นเงินจ่ายคืนกลับมาน้อยลง และไม่ควรเลือกที่ตัวเลขเยอะมาก เช่น 99/20 เพราะเป็นประกันตลอดชีพ เรามักไม่ได้เงินคืนกลับมาใช้เอง แต่ทายาทเราได้แทน
การจ่ายค่าเบี้ยควรเลือกจ่ายแบบรายปี เพราะการจ่ายรายปีจะได้รับส่วนลดประมาณ 5% เมื่อเทียบกับการจ่ายแบบรายเดือน แต่ก็ต้องมีวินัยในการเก็บเงินด้วย อาจจะใช้วิธีหักจากเงินเดือนทุกเดือนแล้วฝากเข้าบัญชีธนาคารที่ให้ดอกเบี้ยสูง เช่น ค่าเบี้ยรายปี 90,000 บาท (ถ้าไม่ออมเงินให้ดี อาจทำให้กระอักได้เมื่อถึงเวลาจ่ายค่าเบี้ย) หรือเฉลี่ย 7,500 บาทต่อเดือน พอได้เงินเดือนมาปุ๊บ ก็หัก 7,500 บาทเข้าบัญชีธนาคารเลย แบบนี้ทำให้ได้ดอกเบี้ยเป็นของแถมด้วย