การประกันภัยต่อ (Reinsurance) หมายถึง การที่ผู้รับประกันภัยตรง (Insurer หรือ Direct Company)
ทำการกระจายความเสี่ยงภัยหรือโอนความเสี่ยงภัยที่รับประกันภัย ไว้ไปยังผู้รับประกันภัยต่อรายอื่น (Reinsurer) ซึ่งอาจเป็นรายเดียวหรือหลายรายก็ได้
1.ทุนประกันภัยในส่วนที่ผู้รับประกันภัยตรงนั้นจะรับผิดชอบความเสี่ยงภัยไว้เอง เรียกว่า Retention
2.ส่วนของความเสี่ยงภัยที่เอาประกันภัยต่อเรียกว่า Cession
3.สัญญาที่เกิดขึ้นระหว่างบริษัท ที่โอนความเสี่ยงภัยไปเอา ประกันต่อ Cedding Company กับผู้รับประกันภัยต่อ (Reinsurer) เรียกว่า Treaty
การประกันภัยต่อ แบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก คือ
1.การประกันภัยต่อตามสัญญา (Treaty Reinsurance)
เป็นการประกันภัยต่อที่มีการทำสัญญาต่อกันระหว่าง Direct company หรือ Ceding Company กับ Reinsurer เป็นการล่วงหน้า จึงต้องรับประกันภัยต่อทุกรายตามสัญญาแบบอัตโนมัติ
2.การประกันภัยต่อเฉพาะราย (Faculative Reinsurance)
ซึ่งเป็นการประกันภัยต่อที่ไม่มีการตกลงกันไว้ล่วงหน้า ทางบริษัทรับประกันภัยต่อจึงอาจตอบรับหรือปฏิเสธการเอาประกันภัยต่อก็ได้ ซึ่งการพิจารณาจะดำเนินการ เป็นรายๆ ไป
การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากการประกันภัยต่อ
ผู้เอาประกันภัยนั้นสามารถใช้สิทธิ์เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนโดยตรงจากบริษัทผู้รับประกันภัยตรง Insurer หรือ Direct company หรือ Cedding company) เท่านั้น โดยบริษัทผู้รับประกันภัยตรงจะเป็นผู้รับผิดชอบจ่ายค่า สินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยให้กับผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์
และจะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในส่วนของการ เอาประกันภัยต่อจาก Reinsurer ซึ่งเป็นกระบวนการดำเนินงานภายในระหว่างบริษัทที่ร่วมรับประกันภัยไว้ ดังนั้น ผู้เอาประกันภัยไม่มีสิทธิ์ไปเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน โดยตรงจากบริษัท ผู้รับประกันภัยต่อ (Reinsurer) ทุกกรณี
ในปัจจุบันคนไทยมีความรู้ในเรื่องประกันภัยกันน้อยมาก เพราะคิดว่าเสียเงินโดยสูญเปล่าและคิดว่าไม่มีความจำเป็นต้องทำ อีกทั้งยังมีความรู้สึกในแง่ลบต่อธุรกิจประกันภัย แต่หากเราลองศึกษาการประกันภัยจริงๆ ก็จะพบว่าเป็นการลงทุนที่น่าสนใจอีกช่องทางหนึ่งและเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในวันที่คุณไม่คาดคิดมาถึง ดังนั้นเราต้องศึกษาให้ดีทั้งในเรื่องตัวแทน บริษัท ประวัติ ภัย ค่าสินไหม ระยะเวลา และอีกหลายอย่างเป็นต้น เพื่อผลประโยชน์ของตัวเราเองและคนที่คุณรัก