วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การประกันภัยต่อ (Reinsurance) คืออะไร? หมายถึงอะไร? มี่กี่ประเภท?

     การประกันภัยต่อ (Reinsurance)   หมายถึง การที่ผู้รับประกันภัยตรง (Insurer หรือ Direct Company)
ทำการกระจายความเสี่ยงภัยหรือโอนความเสี่ยงภัยที่รับประกันภัย ไว้ไปยังผู้รับประกันภัยต่อรายอื่น (Reinsurer) ซึ่งอาจเป็นรายเดียวหรือหลายรายก็ได้
1.ทุนประกันภัยในส่วนที่ผู้รับประกันภัยตรงนั้นจะรับผิดชอบความเสี่ยงภัยไว้เอง เรียกว่า Retention
2.ส่วนของความเสี่ยงภัยที่เอาประกันภัยต่อเรียกว่า  Cession
3.สัญญาที่เกิดขึ้นระหว่างบริษัท ที่โอนความเสี่ยงภัยไปเอา ประกันต่อ Cedding Company กับผู้รับประกันภัยต่อ (Reinsurer) เรียกว่า Treaty

     การประกันภัยต่อ แบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก คือ
1.การประกันภัยต่อตามสัญญา (Treaty Reinsurance)
เป็นการประกันภัยต่อที่มีการทำสัญญาต่อกันระหว่าง Direct company หรือ Ceding Company กับ Reinsurer เป็นการล่วงหน้า จึงต้องรับประกันภัยต่อทุกรายตามสัญญาแบบอัตโนมัติ
2.การประกันภัยต่อเฉพาะราย (Faculative Reinsurance)
ซึ่งเป็นการประกันภัยต่อที่ไม่มีการตกลงกันไว้ล่วงหน้า ทางบริษัทรับประกันภัยต่อจึงอาจตอบรับหรือปฏิเสธการเอาประกันภัยต่อก็ได้ ซึ่งการพิจารณาจะดำเนินการ เป็นรายๆ ไป

     การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากการประกันภัยต่อ 
ผู้เอาประกันภัยนั้นสามารถใช้สิทธิ์เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนโดยตรงจากบริษัทผู้รับประกันภัยตรง Insurer หรือ Direct company หรือ Cedding company) เท่านั้น โดยบริษัทผู้รับประกันภัยตรงจะเป็นผู้รับผิดชอบจ่ายค่า สินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยให้กับผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์
และจะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในส่วนของการ เอาประกันภัยต่อจาก Reinsurer ซึ่งเป็นกระบวนการดำเนินงานภายในระหว่างบริษัทที่ร่วมรับประกันภัยไว้ ดังนั้น ผู้เอาประกันภัยไม่มีสิทธิ์ไปเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน โดยตรงจากบริษัท ผู้รับประกันภัยต่อ (Reinsurer) ทุกกรณี



วันจันทร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2557

คำว่า ทุพพลภาพ ความหมายคืออะไรในการประกันภัย มีกี่รูปแบบ ?

      ทุพพลภาพ มีหมายความว่า  การสูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียสมรรถภาพของอวัยวะหรือของร่างกาย หรือสูญเสียภาวะปกติของจิตใจจนไม่สามารถทำงานได้ 

     “ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง” หมายถึง การทุพพลภาพที่เกิดขึ้นในระยะเวลาที่เอาประกันภัย ถึงขนาดไม่สามารถประกอบหน้าที่การงานใดๆ ในอาชีพประจำหรืออาชีพอื่นได้ โดยสิ้นเชิงตลอดไปอันเป็นผลจากอุบัติเหตุการเจ็บป่วยหรือเชื้อโรค และรวมถึงการสูญเสียสายตา หรือมือ หรือเท้าทั้ง 2 ข้าง หรืออย่างใดอย่างหนึ่งรวมกันตั้งแต่สองอย่างขึ้นไป 
     "การสูญเสียสายตา"        หมายถึง ตาบอดสนิทและไม่มีทางรักษาหายตลอดไป 
     "การสูญเสียมือหรือเท้า" หมายถึง การถูกตัดออกตั้งแต่ข้อมือหรือข้อเท้าหรือสูญเสียสมรรถภาพใน                                                              การใช้งานของอวัยวะนั้นโดยสิ้นเชิง

     "ทุพพลภาพถาวรบางส่วน" หมายถึง ทุพพลภาพถึงขนาดไม่สามารถประกอบหน้าที่การงานในอาชีพประจำตามปกติได้โดยตลอดไป แต่ทำงานอื่นๆ เพื่อสินจ้างได้ เช่น การสูญเสียความสามารถในการมองเห็น แต่ไม่ถึงขนาดตาบอด ถือเป็น “ทุพพลภาพถาวรบางส่วน” ผู้เอาประกันภัยที่ทุพพลภาพถาวรบางส่วนอาจไม่สามารถทำงานเดิมได้ แต่ยังทำงานอื่นได้ 

     "ทุพพลภาพชั่วคราวสิ้นเชิง" หมายถึง เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ทำให้ผู้เอาประกันภัยได้รับบาดเจ็บ ไม่สามารถปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทุกอย่างในการประกอบอาชีพของตนได้ เช่น เป็นพนักงานขับรถแล้วเกิดอุบัติเหตุกระดูกต้นขาหักต้องรักษาโดยการเข้าเฝือก และระยะเวลาที่เข้าเฝือกผู้เอาประกันไม่สามารถทำงานได้ ถือเป็นทุพพลภาพชั่วคราวสิ้นเชิง  โดยมีลักษณะการจ่ายเป็นค่าทดแทนตามจำนวนสัปดาห์ที่อยู่ในระยะทุพพลภาพ

     "ทุพพลภาพชั่วคราวบางส่วน" หมายถึง ความบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทำให้ผู้เอาประกันภัยมีอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานบางส่วนในการประกอบอาชีพประจำตามปกติของผู้เอาประกันภัย หรือเป็นผลต่อเนื่องจากการทุพพลภาพชั่วคราวสิ้นเชิง แต่ยังไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ครบทุกส่วน โดยมีลักษณะการจ่ายเป็นค่าทดแทนตามจำนวนสัปดาห์ที่อยู่ในระยะทุพพลภาพชั่วคราวบางส่วน


หมายเหตุ  ความคุ้มครองที่ท่านจะได้รับ ขึ้นอยู่กับรายละเอียดในแต่ละกรมธรรม์ และควรดูข้อยกเว้นด้วย เช่น การทำร้ายร่างกายตนเองหรือพยายามจนเกิดทุพลลภาพก็จะไม่ได้รับการคุ้มครอง เป็นต้น
***ควรศึกษาข้อมูลให้รอบคอบก่อนการตัดสินใจทำประกันภัยและการประกันชีวิตทุกครั้ง



ประกันสังคมกับความทุพพลภาพ

  คนพิการ ในความหมายของสำนักงานประกันสังคม  คือ  ผู้ประกันตนทุพพลภาพ
  ซึ่งแพทย์สั่งให้เป็นผู้ทุพพลภาพ  มี  2  กรณีดังนี้
  1. ทุพพลภาพจากการเจ็บป่วย หรือ ประสบอันตราย เนื่องจากการทำงาน   (กองทุนเงินทดแทน)
  2. ทุพพลภาพจากการเจ็บป่วย หรือประสบอันตรายที่ไม่ใช่เนื่องจากการทำงาน  (กองทุนประกันสังคม)

"กรณีทุพพลภาพ"  
       กรณีทุพพลภาพเนื่องจากการทำงาน ได้รับค่ารักษาพยาบาล  ค่าทดแทน จำนวน  60% ของค่าจ้างรายเดือนในการหยุดพักรักษาตัว (ค่าทดแทน  60%   ของค่าจ้างรายเดือน  ไม่ต่ำกว่า 2,000.-บาท  และไม่เกิน 12,000.-บาทต่อเดือน)  กรณีทุพพลภาพ  เป็นเวลาไม่เกิน  15 ปี 


"กรณีทุพพลภาพ  ที่ไม่ใช่เนื่องจากการทำงาน"

ต้องจ่ายเงินสมทบ ครบ 3 เดือน ภายใน 15 เดือน

สิทธิประโยชน์
1.รับเงินทดแทนการขาดรายได้เดือนละ 50% ของค่าจ้าง ตลอดชีวิต
2.รับค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกินเดือนละ  2,000  บาท
3.เบิกค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์(ตามประเภทและอัตราในประกาศ)
4.หากเสียชีวิต
    - จ่ายค่าทำศพ  40,000  บาท แก่ผู้จัดการศพ
    - จ่ายเงินสงเคราะห์แก่ทายาท
       = 3 เท่าของเงินทดแทนการขาดรายได้ ถ้าส่งเงินสมทบครบ 36 เดือน
          ขึ้นไปก่อนทุพพลภาพ
       = สิบเท่าของเงินทดแทนการขาดรายได้ ถ้าส่งเงินสมทบครบ 10 ปี
          ขึ้นไปก่อนทุพพลภาพ

เอกสารที่ใช้
-แบบ สปส. 2-01/3
-ใบรับรองแพทย์ระบุการทุพพลภาพ
-ประวัติการรักษาจาก รพ.ทุกแห่ง
-แผนที่บ้าน
-ได้รับการตรวจร่างกายโดยแพทย์ผู้ขึ้นทะเบียน
-บัตรประชาชน, บัตรรับรองสิทธิ, บัตรประกันสังคม
-สำเนาสมุดเงินฝากธนาคารหน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี(กรณี
   ขอรับเงินทางธนาคาร)


ยื่นเรื่องภายใน  1  ปี นับแต่วันที่มีสิทธิ



วันเสาร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การประกันอัคคีภัยคืออะไร ทำไมต้องทำด้วย? ทำไมธนาคารต้องบังคับให้ทำตอนขอสินเชื่อบ้าน?

     ประกันอัคคีภัยคือประกันวินาศภัยประเภทหนึ่ง ที่มีีความคุ้มครองในสิ่งปลูกสร้าง โดยจะคุ้มครองความเสียหายอันเกิดจากไฟไหม้ ฟ้าผ่า และการระเบิดของแก๊สที่ใช้ประโยชน์ เพื่อการอยู่อาศัย หรือสำหรับทำแสงสว่าง นอกจากนี้ยังคุ้มครองทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากความร้อน หรือควันอันเป็นผลมาจากเพลิงไหม้ ความเสียหายเนื่องจากน้ำหรือสิ่งอื่นใดที่ใช้ในการดับเพลิง รวมถึงการปฏิบัติหน้าที่ดับเพลิงของเจ้าหน้าที่ เช่น การทำลายบ้านข้างเคียงเพื่อป้องกันมิให้ไฟลุกลามออกไปอีกด้วย


ทรัพย์สินอะไรบ้างที่สามารถเอาประกันภัยได้

ส่วนใหญ่แล้วเมื่อพูดถึงประกันอัคคีภัย เรามักจะนึกถึงการประกันภัยสำหรับบ้านและสิ่งปลูกสร้างเท่านั้น ที่จริงแล้วทรัพย์สินที่สามารถทำประกันอัคคีภัยได้สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกัน

1. สิ่งปลูกสร้าง (ไม่รวมรากฐาน) หมายถึง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ บ้านแฝด สำหรับอยู่อาศัย โรงรถและอาคารย่อย เช่น เรือนคนใช้ เรือนครัว กำแพง รั้ว ประตู รวมทั้งส่วนปรับปรุงต่อเติม ห้องชุดสำหรับอยู่อาศัยในแฟลต อาคารชุด คอนโดมิเนียม
2. ทรัพย์สินภายในสิ่งปลูกสร้าง หมายถึง เฟอร์นิเจอร์ เครื่องตกแต่ง เครื่องใช้ภายในบ้าน เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน เครื่องดนตรี เครื่องเสียง เครื่องครัว เครื่องนุ่งห่ม และทรัพย์สินอื่นๆ เพื่อการอยู่อาศัยของผู้เอาประกันภัย หรือบุคคลซึ่งตามปกติพักอาศัยอยู่กับผู้เอาประกันภัย


เมื่อทำประกันอัคคีภัยจะได้รับความคุ้มครองอะไรบ้าง

ในการทำประกันอัคคีภัยบ้านอยู่อาศัยนั้นผู้เอาประกันจะได้รับความความคุ้มครองพื้นฐานดังต่อไปนี้

ไฟไหม้
ฟ้าผ่า (รวมถึงความเสียหายต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกิดจากการลัดวงจรจากฟ้าผ่า)
ระเบิด


ภัยยานพาหนะ หรือช้าง ม้า วัว ควาย ยกเว้นความเสียหายนั้นเกิดจากยานพาหนะ หรือ ช้าง ม้า วัว ควาย ของผู้เอาประกันภัย สมาชิกในครอบครัวซึ่งอยู่ด้วยกันกับผู้เอาประกันภัย หรือบุคคลใดที่กระทำการในลักษณะที่จ้างหรือถูกใช้วานโดยผู้เอาประกันภัย


ภัยอากาศยาน หรือวัตถุที่ตกจากอากาศยาน เว้นแต่ความเสียหายอันเกิดจากอากาศยานที่ผู้เอาประกันภัยได้อนุญาตให้ลงในพื้นที่ซึ่งตนมีสิทธิให้ลงได้ คำว่า อากาศยาน ดังกล่าว ให้หมายความรวมถึง จรวด ซึ่งขับเคลื่อนด้วยตัวเองและยานอวกาศ


ภัยเนื่องจากน้ำ อันเกิดขึ้นโดยอุบัติเหตุจากการปล่อย การรั่วไหล หรือการล้นออกมาของน้ำ หรือไอน้ำจากท่อน้ำถังน้ำ ระบบทำความร้อน เครื่องสูบน้ำ ท่อดับเพลิงประจำบ้าน ระบบทำความเย็น ระบบปรับอากาศ น้ำฝนที่ไหลผ่านเข้าไปภายในสิ่งปลูกสร้างจากการชำรุดของหลังคาบ้าน หน้าต่าง ประตูวงกบ ประตู หน้าต่าง ช่องลม ช่องรับแสงสว่าง ท่อน้ำหรือรางน้ำ
นอกจากความคุ้มครองพื้นฐานแล้ว ผู้ซื้อกรมธรรม์ยังอาจซื้อความคุ้มครองอื่นๆ เช่น ภัยน้ำท่วม ภัยลมพายุ ภัยแผ่นดินไหว ฯลฯ เพิ่มเติม เพื่อเป็นหลักประกันที่อุ่นใจยิ่งขึ้น


ระยะเวลาความคุ้มครอง

เนื่องจากค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยสำหรับบ้านอยู่อาศัยมีราคาค่อนข้างถูกเมื่อเทียบกับการประกันภัยประเภทอื่น และได้รับความคุ้มครองในขอบเขตที่กว้างขวาง ปัจจุบันจึงมีผู้ให้ความสนใจในการทำประกันอัคคีภัยบ้านอยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก ยิ่งไปกว่านั้นหากเลือกซื้อความคุ้มครองเป็นระยะเวลานาน เบี้ยประกันจะมีราคาถูกมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากอัตราเบี้ยประกันต่อไปนี้

1 ปี คิดเบี้ยประกันภัย 100%
2 ปี คิดเบี้ยประกันภัย 175%
3 ปี คิดเบี้ยประกันภัย 250%


ทำไมธนาคารต้องบังคับให้ทำตอนขอสินเชื่อบ้าน?
- ในกรณีที่กู้เงินซื้อบ้านขอสินเชื่อนั้นทางธนาคารจะพยายามพูดหว่านล้อมเราเต็มที่
   มีคนบอกว่าถ้าอยากให้อนุมัติผ่านก็ต้องซื้อพ่วงไปเลย แต่จริงๆแล้ว "ไม่จำเป็นต้องซื้อครับ"
   ทางธนาคารไม่มีนโยบายในการบังคับแบบนี้ ซึ่งเป็นเพียงเพิ่มความคุ้มครองให้กับผู้กู้เท่านั้นครับ
   แต่อนุมัติผ่านหรือไม่ผ่านอันนี้อยู่ที่ความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้เท่านั้นครับว่าน่าเชื่อถือหรือ        ไม่ อย่างไร?

วันพุธที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2557

การประกันชีวิตในประเภทอุตสาหกรรม คืออะไร ทำไปทำไม? (Industrail Life Insurance)

      การประกันชีวิตในประเภทอุตสาหกรรม (Industrail Life Insurance) คือการประกันชีวิตที่มีจำนวนเงินเอาประกันภัยแต่ละกรมธรรม์มูลค่าไม่มากนัก เพื่อป้องกันความเสี่ยงแก่พนักงาน
จำนวนเงินตั้งแต่ 10,000 บาทไปจนถึง 30,000 บาท การชำระเบี้ยประกันภัยนั้นจะกระทำเป็นรายเดือน และไม่มีการตรวจสุขภาพ เพราะมีจำนวนเงินเอาประกันภัยต่ำ ซึ่งถ้าต้องตรวจสุขภาพจะทำให้บริษัทเสียค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งแต่ละบริษัทจะมีกำหนดเงื่อนไขในเรื่องระยะการรอคอย เช่นระยะเวลา 3 เดือนหรือ 6 เดือน หากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตเนื่องจากกโรคเจ็บป่วยตามธรรมชาติภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ภายในระยะเวลา180วันซึ่งนับจากวันทำสัญญาหรือต่ออายุสัญญา ทางบริษัทประกันชีวิตก็จะคืนเบี้ยประกันที่ผู้เอาประกันชำระไว้แล้วเท่านั้นโดยจะไม่จ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้ เนื่องจากเป็นข้อยกเว้นในสัญญา


วันศุกร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2557

บริการฟรี ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ออนไลน์


ด่วนบริการฟรี ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ออนไลน์


                                                         >>>คลิ๊กที่นี่เลย<<<
                                                         >>>คลิ๊กที่นี่เลย<<<
                                                         >>>คลิ๊กที่นี่เลย<<<





วันพฤหัสบดีที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2557

ตัวแทนประกันชีวิตที่ดี ควรจะเป็นอย่างไร ควรมีคุณสมบัติอย่างไร

     ผมได้สังเกตุเห็นตัวแทนประกันชีวิตหลายคน ประสบความสำเร็จบ้าง ไม่ประสบความสำเร็จบ้าง เกิดจากอะไร? และสาเหตุที่ทำให้คนไทยมีค่านิยมที่ติดลบกับการประกันภัยเพราะเหตุใด ?

ผมไปเจอบทความหนึ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับในเรื่องนี้

เจอคนตัวแทนขายประกันกี่คน ๆ ก็มัวแต่จ้องเข้ามาเพื่อขายประกันหากมีโอกาส และสังเกตุคนรอบข้างว่า มักจะซื้อประกันเพราะ"ความเกรงใจ"อยู่เสมอๆ และไม่นานมานี้เอง คนที่มาเสนอขายประกันให้นั้นดันกลับกลายเป็นเพื่อนสนิทของเขาเสียเอง  ทำให้ตอนนี้เพื่อนคนที่ขายประกันเนี่ย รู้สึกว่า เพื่อน ๆ จะไม่กล้าเข้าใกล้ ใคร ๆ ก็กลัวว่าจะต้องเสียเงินเพื่อซื้อเพราะความเกรงใจ . . .
อยากถามเค้ามากเลยว่ามีความสุขดีไหมเกี่ยวกับเพื่อนคนนี้ ? แต่คงถามไม่ได้
เพราะแคร์ความรู้สึกเพื่อนอยู่เหมือนกัน . . .

ก่อนอื่นเลยครับ การประกันภัยนั้นเป็นวิธีที่ เล่นกับความเสี่ยง ซึ่งความเสี่ยงมันไม่แน่นอนอาจจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ได้ก็ตามแต่ แต่หากสังเกตุจริงๆแล้ว สมัยนี้การประกันชีวิตจะมีมูลค่าการออมทรัพย์พอๆกับการฝากเงินที่ได้"ดอกเบี้ย"ในธนาคาร ซึ่งถ้าเรานำเงินที่ไปออมมาทำประกันเราก็จะมีความคุ้มครงเพิ่มขึ้น มีแต่ได้กับได้ และไม่ขาดทุน

ตัวอย่างเช่น
จะเก็บเงินให้ลูกเรียนจบจนป.โท ต้องเตรียมเงินไว้อย่างน้อยประมาณ 5 แสนบาท มีเวลาเก็บอีก 19 ปี เอา 5 แสนหาร 19 จะต้องเก็บปีละ 26315 บาท โอเคละ อีก 19 ปีลูกจบโทแน่นอน  แต่ถ้าสมมติว่าพึ่งเก็บเงินได้แค่ 3 ปีละแล้วเสียชีวิต/ทุพลภาพ เข้าใจนะว่าเงิน 78945 มันช่วยอะไรไม่ได้เลย แค่ตั้งหลักได้นิดนึง แต่ประกันอนาคตไม่ได้นะ   นี่คือหนึ่งในเหตุผลว่าทำไมเราควรทำประกันอย่างง่ายๆ และทำไมวงการประกันถึงไม่ตาย มันมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกเยอะ


สรุปกันเลยดีกว่า ว่าคนที่เขาทำแบบใช้ใจทำน่ะ ตัวแทนที่ดีเขามีความสุขครับไม่ใช่การเลียประจบประแจง แต่เพราะเขาอยากให้เกิดความสุขแก่ลูกค้าครับ สมมติเวลาที่ลูกค้าต้องเคลมประกันแล้วเอาเช็คไปให้เขาน่ะไปในงานทำบุญของเขาซึ่งทันไม่เกิน 7 วันแน่นอน เงินส่วนนี้ช่วยคนได้หลายๆคนนะ

แต่ถ้าคนที่ทำแค่เอายอด เอาเป้า เอาค่าคอม เขาทำได้ไม่นานหรอกครับ เพราะมันแค่เป็นครั้งคราว พอคนรอบตัวเห็นว่าคนนี้มีแต่จะเอา สุดท้ายเขาก็อยู่ไม่ได้ อีกทั้งยังทำลายความสัมพันธ์มิตรภาพของตนเองเสียอย่างนั้น   ในทุกอาชีพมันมีศาสตร์และศิลป์ของมันอยู่ครับ

โปรดอย่าเรียกผู้ที่ทำงานสุจริตเหล่านี้ว่า แมลงสาบ เลยครับ  คนเราเลือกเกิดไม่ได้แต่ทำงานด้วยใจก็มีมาก โปรดให้โอกาสเขา วันใดวันนึงถ้าคุณเจอตัวแทนที่ดีคุณจะรู้สีกดีครับเมื่อเกิดภัยมา


1.รับโทรศัพท์ตลอดเวลา หาตัวได้ง่าย
2.โทรเช็คกลับมาหาให้คำปรึกษาเมื่อมีเวลา
3.บริการหลังการขายดีมาก ไม่ใช่ปิดการขายแล้วจบกัน
4.ปรึกษาได้ตลอดเวลา ไม่มีนอกเวลางาน
5.ทีสำคัญ เมื่อมีปัญหาขัดแย้งกับลูกค้าต้องใช้เหตุผลเสมอ

ดังนั้นก่อนที่เราจะเลือกทำประกันชีวิต ตัวแทนสักคนหนึ่งเราต้องลองสืบประวัติเขากับลูกค้าเก่าๆว่ามีประวัติที่ดีหรือไม่ ประวัติบริษัทมีชื่อเสียงอย่างไร อย่าซื้อด้วยความเกรงใจครับ อาจจะเสียใจในภายหลังได้

ผมเชื่อครับถ้าวันใดวันหนึ่งที่ตัวแทนเหล่านี้ไม่ได้ทำตัวแทนประกันชีวิตแล้ว สุดท้ายคุณก็จะได้เพื่อนที่ดี เพิ่มมาอีกคนหนึ่งครับ...

วันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2557

ประวัติและความเป็นมาของการประกันภัยในประเทศไทย

ประวัติและความเป็นมาของการประกันภัยในประเทศไทย

ในสมัย กรุงศรีอยุธยา
     ธุรกิจประกันภัยวินาศภัยในประเทศไทยมีกำเนิดในสมัยที่กรุงศรีอยุธยากำลังรุ่งเรืองและมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับต่างประเทศ ซึ่งอาศัยการขนส่งทางเรือเป็นส่วนใหญ่ จึงมีการประกันภัยทางทะเลเป็นประเภทแรก เริ่มต้นจากระหว่างชาวต่างประเทศด้วยกันโดยมิได้จดทะเบียนการค้าหรือแจ้งต่อรัฐบาลสยามเป็นทางการแต่ประการใด

ในสมัยรัตนโกสินทร์
พ.ศ.2454  ได้มีประกาศกฎหมายที่กล่าวถึงการประกันภัยครั้งแรกคือ
พระราชบัญญัติลักษณะเข้าหุ้นส่วนและบริษัท
                                     ร.ศ. 130

พ.ศ.2471
พระราชบัญญัติควบคุมการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือความผาสุกแห่งสาธารณชน
พ.ศ.2510
พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ.2510 และ พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ.2510
พ.ศ.2535 พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ.2535” “พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ.2535และ พระราชบัญญัติ
                     คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535

ประวัติและความเป็นมาของธุรกิจการประกันภัยและประกันชีวิตในสมัยอดีต

     มีเรื่องการเกิดปรากฏการในพระคัมภีร์ไบเบิ้ลเกี่ยวกับคนๆหนึ่งชื่อโจเซฟ และมีความอดอยาก ณ ประเทศอียิปต์  ว่าวกันว่า คืนวันหนึ่ง ฟาโรห์ ทรงฝันว่า มีวัวอ้วนเจ็ดตัวกำลังถูกวัวซูปผอมเจ็ดตัวกัดกิน โจเซฟทำนายฝันว่า ประเทศอียิปต์จะมีพืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์เป็นเวลาเจ็ดปี และหลังจากนั้นจะเกิดความแห้งแล้งสู่ประชาชนจะอดอยากปากแห้งเป็นเวลาอีกเจ็ดปี ดังนั้น จึงทูลเสนอต่อฟาโรห์ให้สะสมธัญญาหารในปีที่สมบูรณ์ไว้สำหรับเลี้ยงประชาชนในปีที่ข้าวยาก-หมากแพง วิธีนี้เรียกได้ว่าเป็นหลักการประกันภัยพื้นฐาน กล่าวคือ เก็บออมตั้งแต่วันนี้ เพื่อไว้ใช้ในอนาคตซึ่งหาความแน่นอนไม่ได้

     ต่อมาในประเทศจีน ประมาณสามพันปีก่อนคริสตกาล พ่อค้าชาวจีนหัวใสได้พัฒนาวิธีการประกันขึ้นสำหรับการขนส่งสินค้าตามลำน้ำแยงซี ซึ่งมีสายน้ำที่เชี่ยวกราก และเพราะว่าเกิดเรือบรรทุกสินค้ามักอับปางอยู่เสมอเนื่องจากมีหินใต้น้ำ และเกาะแก่งที่คดเคี้ยว อันตรายต่อการเดินเรือ มีให้ปรากฏเห็นอยู่เสมอว่าพ่อค้าบางคนต้องสิ้นเนื้อประดาตัว เพราะสินค้าได้รับความเสียหายหมด ดังนั้น ด้วยความกลัว พ่อค้าเหล่านั้นจึงหาวิธี "กระจายความเสี่ยงภัย" ออกไป โดยนการนำสินค้าของตนที่ไ้ด้บรรทุกไว้ในเรือลำอื่นหลายลำ เฉลี่ยกันไปจนครบจำนวนหีบห่อสินค้า ซึ่งถ้าเรือลำใดลำหนึ่งจมลงก็หมายความว่า สินค้าของพ่อค้าแต่ละคน สูญเสียเพียงคนละ 1 หีบห่อเท่านั่น ซึ่งวิธีการเช่นนี้เป็นที่มาของการประกันภัยในการกระจายความเสี่ยงไปให้บริษัทประกันภัยแบบในปัจจุบันนั่นเอง

     ต่อมาราวๆ ก่อนศตวรรษที่ 13 และ 14 ปรากฏ มีการประกันทางทะเลกันอย่างแพร่หลายตามเมืองต่างๆ ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน สัญญาประกันภัยการขนส่งสินค้าทางทะเลฉบับแรกของโลกเท่าที่มีปรากฏเป็นหลักฐานจนถึงปัจจุบันนี้ คือ ฉบับลงวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 1347 ออก ให้ ณ เมืองเจนัว ประเทศอิตาลี "สัญญาประกันภัยการขนส่งสินค้าทางทะเล"

     ส่วนสัญญาประกันภัยฉบับแรกของอังกฤษ ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เท่าที่ปรากฏตามหลักฐานซึ่งยังคงเก็บรักษาไว้ถึงปัจจุบัน คือ Broke Sea Insurance Policy ปี ศ.ศ.1547 โดยเฉพาะในตลาดการประกันภัย คือ นายเอ็ดเวิร์ดลอยด์ (Edward Lloyd) เจ้าของร้านกาแฟ ที่ทำให้เป็นจุดศูนย์กลางและเกิดวิธีประกันภัยในสมัยนั้น คือเจ้าของเรือ หรือพ่อค้าที่ต้องการซื้อประกันภัยจะทำบัญชีแสดงรายภารทรัพย์สินต่างๆ ที่จะบรรทุกลงเรือใต้รายการเหล่านี้นายธนาคารหรือบุคคลอื่นๆ ที่ประส์จะรับประกันภัยจะลงชื่อพร้อมกับระบุจำนวนเงินที่ตนจะรับเสี่ยง แล้วลงลายมือชื่อไว้ ( และนี่คือที่มาของคำว่า Underwriter ) และเพื่อเป็นค่าตอบแทนในการเข้ารับเสี่ยงภัย ผู้ลงนามข้างใต้ ( Underwriter ) แต่ละคนจะได้รับค่าตอบแทน เรียกว่า เบี้ยประกันภัย

"ธุรกิจประกันภัยของลอยด์ นับว่าเป็นธุรกิจประกันภัยที่เก่าแก่และใหญ่โตที่สุดในโลก ถือได้ว่าเป็น บิดาแห่งการประกันภัย"


ในช่วงเวลานั้น สัญญาประกันภัยส่วนมาเป็นสัญญาประกันภัยทางทะเล ต่อมาก็ขยายออกไปคุ้มครองการเสียชีวิตของนายเรือและลูกเรือ รวมทั้งพ่อค้าที่คุมสินค้าไปกับเรือ ตลอดจนคุ้มครองจำนวนเงินที่จะเป็นค่าไถ่ตัวเมื่อถูกโจรสลัดจับตัวด้วย

ส่วนกรมธรรม์ประกันชีวิต     ดังที่เรารู้จักกันในขณะนี้ เดิมมีมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1583 ปรากฏเป็นหลักฐานที่แน่ชัดว่าเป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตของนายวิลเลี่ยม กิบบอนส์ โดยมีนายริชาร์ด มาร์ติน เป็นผู้รับประโยชน์ วงเงินที่เอาประกัน 400 ปอนด์สเตอร์ลิง และเบี้ยประกันหนึ่งปี 32 ปอนด์สเตอร์ลิง มีผู้ลงชื่อรับประกันชีวิตนายกิบบอนส์ 16 คน และทั้ง ๆ ที่นายกิบบอนส์มีสุขภาพดี และในกรมธรรม์มีคำภาวนาว่า "ขอให้พระผู้เป็นเจ้าจงคุ้มครอง นายวิลเลี่ยม กิบบอนส์ ให้มีสุขภาพดี และอายุยืนยาว" แต่ก็ปรากฏว่าเขาตายในปีนั้นเอง