วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เกิดอุบัติเหตุรถชนกันมีประกันชั้น 1 ทั้งสองฝ่าย ควรทำอย่างไรดี?

     เกิดอุบัติเหตุรถชนกันมีประกันชั้น 1 ทั้งสองฝ่าย ควรทำอย่างไรดี?
ประกันชั้น 1 ครอบคลุมทุกอย่างไม่จำเป็นต้องรถชนรถ แต่ต้องเกิดจากอุบัติเหตุเท่านั้น

     กรณีศึกษาเมื่อเราเป็นฝ่ายผิด ต้องให้ฝ่ายประกันของเราและคู่กรณี(ผู้เสียหาย)เจรจากันและหากทั้งคู่ไม่สามารถตกลงกันได้ว่าผลต่างอยู่ที่เท่าไหร่ ทางคู่กรณี(ผู้เสียหาย)และทางฝ่ายประกันของคู่กรณีสามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากเราได้เมื่อทางฝ่ายประกันเราไม่มีความสามารถที่จะจ่าค่าเสียหายตามที่ถูกเรียกร้องได้ครบ ซึ่งเราต้องรับผิดชอบในผลต่าง
     - กรณีที่เกิดความเสียหายเฉพาะกับตัวรถยนต์ซึ่งสามารถประเมินค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนตัวเงินได้ เกิดความเสียหายเท่าใดก็เรียกร้องค่าความเสียหายได้เท่านั้น ถ้าไม่เกินวงเงินประกันก็จ่ายไป แต่ถ้าเกินก็ต้องเสียในส่วนต่างที่ตกลงกันไม่ได้ ซึ่งโดยส่วนมากจะไปจบโดยให้พนักงานสอบสวนปรับ 400-1000 บาท
     - แต่กรณีที่เกิดเสียหายแก่ชีวิต ร่างกายและภาวะจิตใจนั้นซึ่งไม่อาจสามารถประเมินค่าเป็นจำนวนเงินได้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับคู่กรณี(ผู้เสียหาย)จะเรียกร้องกับผู้ทำความเสียหายจะตกลงกัน ซึ่งเป็นเรื่องของจิตใจของผู้เสียหายทำให้เป็นการยากที่จะเจรจากันได้โดยง่ายเมื่อเกิดเหตุขึ้น

     เจ้าหน้าที่ตำรวจนั้นไม่สามารถตัดสินว่าใครเป็นฝ่ายถูกใครเป็นฝ่ายผิด แต่มีหน้าที่สำคัญคือไกลเกลี่ยคู่กรณีทั้งสองฝ่ายให้ตกลงกันอย่างเรียบร้อยและลงบันทึกประจำวันเอาไว้เท่านั้น 
ส่วนกรณีที่ตกลงกันไม่ได้ใครจะฟ้องร้องกันอย่างไร ก็ต้องไปฟ้องร้องกันที่ศาลเอาเอง ก็เป็นที่รู้ๆกันว่าส่วนมากทางประกันมักไม่ค่อยที่จะยอมจ่ายให้และไม่ให้เรายอมรับผิดถ้ากรณีที่ไม่ผิดจริงๆแบบเห็นจะ ๆ เช่น ผิดกฎจราจร เมาแล้วประมาท อันนี้บางที่ประกันก็ไม่จ่ายเพราะมีระบุไว้ในข้อยกเว้นกรมธรรม์
     อีกเรื่องหนึ่งคือหากผลต่างไม่มากเกินไปจะยอมเสียก็ได้ จะดีกว่าถ้าคุณต้องเสียเบี้ยประกันที่แพงขึ้นในปีถัดไป






วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

พ.ร.บ. ประกันภัยในประเทศไืทยทั้งหมด (ไฟล์ .pdf)

พระราชบัญญัติประกันชีวิต
- พระราชบัญญัติประกันชีวิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551  >>>Download<<<
- พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535   >>>Download<<<

- พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม  >>>Download<<<
- พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ.2535 แก้ไขตามมาตรา 3   แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกำกับ 

   และส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ.2550  >>>Download<<<


พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย
- พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 >>>Download<<<
- พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม  >>>Download<<<
- พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ.  2535 แก้ไขตามมาตรา 3 แห่ง พระราชบัญญัติคณะกรรมการ
  กำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ.2550 >>>Download<<<
- พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย  (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 >>>Download<<<

พระราชบัญญัติการประกันภัยรถยนต์
- พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535  >>>Download<<<
- พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 แก้ไขตามมาตรา 3 
  แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ.2550   
- พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)
   แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) รวมทั้งกฎกระทรวง >>>Download<<<
- พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2550 >>>Download<<<
- พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2551 >>>Download<<<

พระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)

- พระราชบัญญัติคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550
  มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 ก.ย. 2550 >>>Download<<<

พระราชบัญญัติประกันสังคม
- พระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ. 2533  >>>Download<<<

- พระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ. 2537 >>>Download<<<
- พระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ. 2542 (ฉบับที่ 3 )  >>>Download<<<
- พระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ. 2533 (แก้ไขเพิ่มเติมประกันสังคมฉบับที่ 2) พ.ศ.2537
  (ฉบับที่3) พ.ศ. 2542 และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการส่งเงินสมทบเข้าส่วนราชการ
  >>>Download<<<

ซ่อมห้าง และ ซ่อมอู่ ต่างกันอย่างไร(ข้อดีข้อเสีย)

ซ่อมห้าง และ ซ่อมอู่ ต่างกันอย่างไร?
     เมื่อตอนทำประกันภัยชั้น 1 จะมีให้เลือกนะครับว่าจะเอาซ่ิอมห้าง(ซ่อมที่ศูนย์บริการของรถยนต์ยี่ห้อนั้นๆ)หรือซ่อมอู่ กรณีที่เราทำซ่อมอู่แต่อยากจะให้นำไปซ่อมห้างก็ต้องเสียเงินเพิ่มเรียกว่า "ค่าเสียส่วนต่าง" ย่อมแน่นอนว่าทำไมซ่อมที่ศูนย์บริการก็ต้องย่อมมีราคาที่แพงกว่าซ่อมอู่รถทั่วไปอยู่แล้ว
เรามาลองดูข้อดีข้อเสียของแต่ละแบบกันดีกว่าครับ

ซ่อมห้าง  ข้อดี
- มีอะไหล่ที่มีความพร้อมในการซ่อม เป็นอะไหล่้แท้ใหม่ๆส่งตรงจากโรงงาน ไว้ใจได้และมีรับประกันการซ่้อม
- มีระบบแบบแผนในการทำงานที่มีประสิทธิภาพและมาตรฐานศูนย์ อีกทั้งยีงมีผู้เชี่ยวชาญชำนาญการเฉพาะทางคอยให้บริการและคำปรึกษาอย่างถูกต้องเกี่ยวกับยี่ห้อรถนั้นๆ
- งานส่วนมากจะออกมาดีเพราะงานส่งผลต่อชื่อเสียงบริษัท (แล้วแต่ศูนย์แล้วแต่ดวง)
- เหมาะกับสำหรับรถยี่ห้อใหม่เพราะมีอะไหล่ใหม่ๆอยู๋ ซึ่งซ่อมอู่บางที่ยังไม่มีอะไหล่รถใหม่ๆ

ซ่อมห้าง  ข้อเสีย
- เสียเวลาในการรอซ่อมเสร็จนานมาก เพราะว่าเป็นศูนย์บริการคิวก็เลยเยอะเพราะคนเชื่อถือกันเยอะ
- แพงกว่าซ่อมอู่ เพราะมีค่าภาษี+ค่าแรง สูงกว่าการเข้าซ่อมอู่ (ค่อนข้างแพงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด)
- บางครั้งอะไหล่ก็ยังไม่จำเป็นต้องเปลี่ยน(ยังดีๆอยู่เลย) ก็เปลี่ยนให้เฉย ซึ่งทำให้เราต้องเพิ่มค่าใช้จ่าย
- ในบางจัดหวัดนั้นไม่มีศูนย์บริการของรถยี่ห้อนั้นๆ

ซ่อมอู่  ข้อดี
- ราคาเบี้ยประกันถูกกว่าซ่อมศูนย์ (ถูกกว่ามากๆเป็นหลักพันเลย)
- มีความยืดหยุ่น ก็คือสามารถต่อรองราคากันได้ และเจรจากันง่ายกว่าซ่้อมศูนย์
- อู่รถมีให้เลือกเยอะกว่าศูนย์บริการ และบางที่ขอบอกได้เลยว่าซ่อมดีกว่าซ่อมที่ศูนย์บริการเสียอีก
- รวดเร็วกว่าการซ่อมห้าง
- ถ้าบางที่เขารับเป็นเฉพาะยี่ห้อๆไปก็น่าสนใจเหมือนกัน เพราะเขาน่าจะมีของยี่ห้อนั้นจริงๆ

ซ่อมอู่  ข้อเสีย
- อะไหล่ อาจจะเป็นของแท้หรือของเทียมก็ได้(ของเวียนซ่อมก็มีิสิทธิ์) แต่ตรงนี้บริษัทประกันจะเป็นผู้รับรองอะไหล่
- เมื่อซ่้อมเสร็จแล้วเกิดปัญหาขึ้น บางทีอู่นั้นอาจจะไม่แก้ไขให้และปัดความรับผิดชอบ
- มีสิทธิ์ถูกโกงได้ บางคนที่ไม่มีความรู้ด้านอะไหล่รถยนต์ก็ถูกหลอก เ้พราะเอาอะไหล่อื่นไปใส่ในรถของเราแทน (ที่มีราคาถูกกว่าหรือไม่ตรงกับตัวรถ)

วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ประเภทของการประกันภัยรถยนต์

     ความเสียหายทุกอย่างที่เกิดขึ้นต้องเกิดจากอุบัติเหตุเท่านั้น เพื่อไม่ให้เกิดการแบกรับความเสี่ยงไว้กับตนเอง (ความหมายคือจ่ายเงินในราคาแพง เช่น รถพังแต่ไม่ได้ทำประกัน จบเลยต้องควักเงินตัวเองออกจ่ายทั้งหมด เหอะๆ) จึงมีการประกันภัยรถยนต์เกิดขึ้น ทุกวันนี้มีรถมากมาย อุบัติเหตุจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ ปีๆหนึ่งมีการเกิดอุบัติเหตุในประเทศไทยจากรถยนต์มากมายนัก พูดมายาวละมาดูกันดีกว่า

ประเภทของการประกันภัยรถยนต์  แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

1 ) ภาคสมัครใจ แบ่งออกเป็นดังนี้

ประกันชั้น 1  ***มือใหม่นิยมเพราะว่าชอบขับรถชนอยู่บ่อยๆจนรถตัวเองพังหรือเกิดรอย

     - ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย ของบุคคลภายนอกและผู้โดยสารในรถ (ขับรถไปชนคนอื่นบาดเจ็บหรือคนในรถกระแทกหัวแตกเพราะเบรคตอนรถชน ก็คุ้มครองค่าใช้จ่ายนะ)
     - ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก (ไปชนข้าวของคนอื่นพังเกิดความเสียหาย)
     - ความรับผิดต่อความเสียหายของตัวรถยนต์คันที่เอาประกันภัย (ขับรถชนแล้วรถเราบุบแตกหัก)
     - ความรับผิดต่อความสูญหายหรือไฟไหม้ของรถยนต์คันที่เอาประกันภัย (รถหายก็ได้นะแต่ต้องรีบแจ้ง)

ประกันชั้น 2 ***เริ่มเซียนละคิดว่าเจ๋งไม่ต้องหรอกประกันตัวรถ เบี้ยประกันจะได้ถูกลง
ให้ความคุ้มครองดังนี้
     - ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย ของบุคคลภายนอกและผู้โดยสารในรถ (ขับรถไปชนคนอื่นบาดเจ็บหรือคนในรถกระแทกหัวแตกเพราะเบรคตอนรถชน ก็คุ้มครองค่าใช้จ่ายนะ)
     - ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก (ไปชนข้าวของคนอื่นพังเกิดความเสียหาย)
     - ความรับผิดต่อความสูญหายหรือไฟไหม้ของรถยนต์คันที่เอาประกันภัย (รถหายก็ได้นะแต่ต้องรีบแจ้ง)

ประกันชั้น 3 ***รถเริ่มเก่าละไม่มีใครขโมยหรอก ส่วนไฟไหม้ก็ไม่มีทางไม่ได้ติด NGV ฮ่าๆ
     - ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย ของบุคคลภายนอกและผู้โดยสารในรถ (ขับรถไปชนคนอื่นบาดเจ็บหรือคนในรถกระแทกหัวแตกเพราะเบรคตอนรถชน ก็คุ้มครองค่าใช้จ่ายนะ)
     - ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก (ไปชนข้าวของคนอื่นพังเกิดความเสียหาย)

ประกันชั้น 4 ***ยังไงซะก็ต้องคุ้มครองคนอื่นเราไม่ประมาทคนอื่นก็ประมาทได้ฉะนั้นเอาแค่นี้พอเบี้ยถูกด้วย
     - ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย ของบุคคลภายนอกและผู้โดยสารในรถ (ขับรถไปชนคนอื่นบาดเจ็บหรือคนในรถกระแทกหัวแตกเพราะเบรคตอนรถชน ก็คุ้มครองค่าใช้จ่ายนะ)

แล้วก็มีแบบประกันชั้น 2+ และ ประกันชั้น3+  แลดูยุ่งยากเยอะแยะไปหมดดูตารางด้านล่างเอานะครับ
    สัญลักษณ์ *  คือต้องเกิดจากกรณีอุบัติเหตุที่มีคู่กรณีเป็นยานพาหนะทางบกเท่านั้น


2 ) ภาคบังคับ (พ.ร.บ. หรือที่เรียกกันว่า ประกันภัย พ.ร.บ. นั่นเอง)

     ก็คือรถทุกคัน ทุกประเภทต้องทำประกันภัย พ.ร.บ. นั่นเองหากไม่ทำก็จะมีความผิดตามกฎหหมาย สงสัยข้อมูลเพิ่มเติมจิ้มด้านล่างเลย
 >>> ทำประกันภัย พ.ร.บ.เพื่ออะไร? <<<

วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ถูกหลอกซื้อขายประกันภัยผ่านทางโทรศัพท์ (โดนหักเงินทางบัตรเครดิต)

     ที่ผ่านมา คปภ. ได้รับการร้องเรียนทาง สายด่วนประกันภัย  1186 จากประชาชนจำนวนมาก ซึ่งมีกลุ่มมิจฉาชีพหลอกให้ซื้อประกันภัยและประกันชีวิตทางโทรศัพท์ (ทำให้คนอื่นว่าเป็นแมงสาบก็เพราะทำตัวกันแบบนี้แหละคนที่ตั้งใจทำงานก็พลอยเดือดร้อนไปด้วยกลายเป็นดูคำว่าประกันภัยคือหลอกลวงตกต่ำ..น่าสงสารนะครับกับคนตั้งใจทำงาน) มาต่อกันดีกว่า

สิ่งที่น่าตกใจก็คือ เมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้วไม่สามารถเคลมค่าสินไหมได้ตามที่เสนอให้กับผู้ซื้อประกันทางโทรศัพท์ได้

     ผู้ที่ได้รับการเสนอขายประกันภัยผ่านทางโทรศัพท์ จะเป็นผู้มีบัตรเครดิต ซึ่งได้ข้อมูลลูกค้าจากบริษัทผู้ให้บริการบัตรเครดิต แล้วจะมีกลุ่มคนที่พูดจาเหมือนเจ้าหน้าที่โทรศัพท์ ไปเชิญชวนให้ซื้อประกัน ที่นิยมมาก คือการขายประกันอุบัติเหตุ

ทั้งนี้บุคคลที่ถูกหลอกจะได้รับการหว่านล้อมว่าการซื้อประกันผ่านโทรศัพท์เนี่ยนะจะทำให้เบี้ยประกันจะต่ำ เฉลี่ยเดือนละ 100ถึง200 บาทเท่านั้น และได้รับวงเงินความคุ้มครองสูง  1ถึง5 แสนบาทเลยทีเดียว

การป้องกันภัยดังกล่าวให้ทำดังต่อไปนี้
     เมื่อมีคนติดต่อมาขายประกันทางโทรศัพท์ ให้สอบถามชื่อ นามสกุล และเลขที่ ใบอนุญาตการเป็นนายหน้าขาย ประกัน และถ้าตัดสินใจไปแล้วไม่พอใจสามารถยกเลิกได้ภายใน  15 วันได้

ตัวอย่าง
     เช่นมีบุคคลหนึ่ง ถูกธนาคารเจ้าของบัตรเครดิตซึ่งเป็นธนาคารต่างประเทศรายใหญ่ หักเงินจำนวน 100บาททุกๆเดือน เมื่อได้แจ้งไปว่าไม่เคยทำขอรายละเอียดด้วย ก็ได้รับ คำตอบว่าเป็นค่าเบี้ยประกันสินเชื่อ ตามที่ได้ตกลงไว้กับบริษัทประกันชีวิตต่างชาติรายใหญ่ หากไม่มียอดการใช้จ่ายก็จะไม่ถูกหักเงิน

 เขาไม่เคยตอบตกลงซื้อประกันดังกล่าว และไม่เคยเซ็นเอกสารใดๆ จากบริษัทประกัน รวมถึงไม่มีกรมธรรม์จากบริษัทประกันครบครองอยู่ด้วย ขอให้ธนาคารคืนเงินที่หักไป และได้ขอให้ยกเลิกการหักบัญชีของเขาด้วย ซึ่งทางธนาคารไม่ยอมคืนเงินที่หักให้ แต่ยอมยกเลิกการหักเงินงวดถัดไป

คนที่โทรมาจะบอกว่าเราเป็นลูกค้า VIP ได้รับสิทธิพิเศษ 100 ท่านแรก ที่ได้สิทธิในการซื้อประกันราคาถูกและบอกว่าจะได้รับความคุ้มครองอะไรบ้าง จากนั้นจะถามว่า คิดว่าข้อเสนอน่าสนใจไหมคะ
เขาซึ่งเพียงแค่ตอบคำถามคนที่โทร.มาเสนอขายทางโทรศัพท์ว่า"สนใจเท่านั้น" ถือว่าไม่เป็นธรรมต่อลูกค้า ธนาคารเจ้าของบัตรซึ่งควรจะมีการสอบถามลูกค้าก่อนว่ายินยอมให้หักค่าเบี้ยประกันหรือไม่ เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่บริษัทประกันแจ้งไปนั้นเป็นข้อเท็จจริง

และสิ่งที่ควรทำคือ


1.  ห้ามพูดคำว่า " ตกลง" หรือ " สนใจทำ" หรือ " ทำ " เด็ดขาด เพราะคำเหล่านี้จะเป็นหลักฐานยืนยันว่าคุณได้ทำประกันไปจริงๆ แนะนำให้พูดว่า " ไม่เอา , ไม่ทำ , ไม่สนใจ, ไม่ต้องโทรมาแล้ว และวางสายทันทีไม่ต้องคุยอะไรอีก
2.  ห้ามพูดคำว่า "ให้ส่งเอกสารมาให้ดูก่อน" หรือ "ขอดูรายละเอียดก่อน" เพราะจะเข้างทางทันที คนที่โทรมาจะหลอกให้คุณตอบตกลงทำประกัน จากนั้นก็จะตัดเงินในบัตรเครดิต , บัตรเดบิต หรือให้โอนเงินให้ทันที วิธีปฏิบัติภายหลังที่ได้ทำประกันไปแล้ว

    การขายประกันทางโทรศัพท์หรือที่เรียกว่า"เทเลมาร์เก็ตติง" กำลังเป็นที่นิยมของบริษัทประกันชีวิตและบริษัทประกันภัย ส่วนใหญ่จะใช้ขายประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล ประกันสุขภาพ ประกันสินเชื่อเพื่อคุ้มครองค่าใช้จ่ายบัตรเครดิต

ถ้าตกลงยอมรับทำประกันไปแล้ว

     สามารถยกเลิกกรมธรรม์ได้ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับกรมธรรม์ประกันภัย โดยจะได้รับเบี้ยประกันภัยคืนเต็มจำนวน ไม่หักค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น  ซึ่งบริษัทจะต้องโทร.กลับหาผู้เอาประกันภัยอีกครั้ง ภายใน 7 วันนับจากวันที่บริษัทส่งกรมธรรม์ประกันภัย เพื่อยืนยันความต้องการทำประกันภัยอีกครั้งหนึ่ง   และ  ผู้เสนอขายจะต้องขออนุญาตบันทึกการสนทนาในกรณีที่ประชาชนต้องการรับฟังการ เสนอขาย ซึ่งหากเกิดข้อโต้แย้งขึ้นภายหลังก็สามารถนำเทปที่บันทึกบทสนทนานั้นมา พิสูจน์ข้อเท็จจริงได้ 

     ผมว่าทางที่ดีปฎิเสธไปเลยดีกว่าครับ ดีกว่าจะมาเสียใจภายหลัง เพราะถ้าเราอยากทำประกันอะไรก็เดินตรงไปที่บริษัทนั้นเลยอีกอย่างเราก็จะมีเวลาศึกษากรมธรรม์ตัวนั้น ดีกว่ามาโดนหลอกให้ดีใจว่าเป็นผู้โชคดีอะไรแบบนี้มันกลายเป็นผู้โชคร้ายนะสิไม่ว่า...



วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เตือนภัยระวัง โดนหลอกไปขายประกัน



     มีนิสิตคนหนึ่งเรียนจบใหม่: ก็ไปลงประวัติเพื่อหางานผ่านเว็
บไซต์ ก็มีคนโทรมาเรียกให้ไปสัมภาษณ์ 6 ที่ ในตำแหน่งธุรการ ที่แรกที่บริษัทXXX สาขาศาลาแดง ชั้น 10 เราก็ไปตั้งแต่ 8โมงเดินทางไปถึง 11 โมง ใช้เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง อันนี้ไม่เกี่ยงเพราะเด็กจบใหม่ไม่มีประสบการณ์ได้ที่ไหนก็เอา พอไปถึงก็กรอกประวัติ แล้วก็สัมภาษณ์กับคนที่นัดไว้ทางโทรศัพท์ พอเค้าพูดถึงการทำงานให้ฟัง ก็เริ่มสงสัย…..ชักจะยังไง คือการทำงานจะแบ่งเป็น 8 ฝ่าย เราจะต้องดูแล 2 ฝ่าย คือตัวแทน กับอีกฝ่ายไม่แน่ใจ เกี่ยวกับขายประกันนี่แหละ จะให้เราเป็นหัวหน้าฝ่ายนี้ พอเค้าเปิดโอกาสให้ถาม เลยถามว่าแล้วเราต้องไปเดินขายกับตัวแทนด้วยมั้ย เค้าบอกไม่ต้องรอรับจากตัวแทนอย่างเดียวแลวรวบรวมเอกสารให้ครบเพื่อออกกรมธรรม์ ทีนี้เราถามว่าตอนอบรมต้องเสียตังค์หรือเปล่า (เด็กจบใหม่ยังไม่มีงานทำ อะไรประหยัดได้ก็ประหยัดไว้ก่อน) อันนี้เค้าบอกไม่เสีย อบรมฟรี พอสอบผ่านคือผ่าน พอถามเสร็จเราคิดว่าคงไม่ใช่ขายประกันแล้วล่ะ ก็โล่งใจไปนิด ทำงานในออฟฟิตนี่นา อยู่ฝ่ายธุรการ รวบรวมเอกสาร ประสานงานต่างๆนี่ แต่ก็อดแปลกใจไมได้เลยนะ เด็กจบใหม่เงินเดือนหมื่นห้าเลยหรอ แต่คิดไปคิดมาเป็นบริษัทใหญ่นี่นา

     พอวันต่อมาก็ไปสัมภาษณ์อีกที่แถวสุขุมวิท แถวดิเอ็มโพเรี่ยม รถติดมาก เราสัมภาษณ์ไป 2 ที่และเหลืออีก 4 วันถัดมา บริษัทXXX โทรมาบอกว่าเราผ่านการสัมภาษณ์ให้เริ่มงานได้ในวันอังคาร เราก็ตอบตกลงสิ (เงินเดือนตั้งหมื่นห้า ทำงานจันทร์-ศุกร์) พอซักสิบโมงกว่าๆ อีกแห่งที่ไปสัมภาษณ์ก็โทรมา เราบอกได้งานแล้ว (ที่นี่เงินเดือนหมื่นสอง ทำงานจันทร์ถึงเสาร์ เป็นบริษัทของชาวญี่ปุ่น มารู้ทีหลังที่เราไม่เลือกที่นี่ “เราโง่มาก”) หลังจากนั้นเราก็แคนเซิ่ลนัดสัมภาษณ์ที่เหลือ ยอมรับว่าวันนั้นมีความสุขมาก กับงานใหม่ เงินเดือนสูงเกินคาดอีก โทรไปบอกพ่อบอกแม่ วาดฝันอย่างงามเลยถ้าเงินเดือนออกเราจะเอาไปทำไรบ้าง โอนให้พ่อ ซื้อตู้เย็น อีกส่วนก็เอาไว้เรียนต่อโท สารพัดความคิด...  ....  ....

     หลังจากนั้นเราก็ฝันสลาย เพราะจริงๆแล้วมันไม่ใช่อย่างที่ฝัน มันไม่ใช่งานธุรการ แต่เป็นงานขายประกัน ถึงเราไม่ได้ออกไปข้างนอกก็จริง แต่เราต้องโทรจี้คนนั้นคนนี้ เงินหมื่นห้านั่นไม่ใช่เงินเดือน มันเป็นแค่เงินประจำตำแหน่ง ถ้าเราขายไม่ได้ เราก็ไม่ได้เงิน เราไม่ได้มีใจรักงานด้านนี้ด้วยอ่ะ จะให้ไปตื้อใครก็ไม่ไหว ทำไมได้หรอก จะให้ไปขายใครล่ะ ขายให้พ่อแม่หรอ ก็ไม่ได้มีเงินขนาดนั้น เราสิต้องส่งให้พ่อแม่ ขายให้พี่น้อง เราก็พี่คนโต ขายให้เพื่อน ก็เพิ่งจบยังไม่มีงานทำจะเงินที่ไหนไปซื้อ สรุปขายไม่ได้ก็ไม่มีเงิน เค้าบอกเดี๋ยวหาลูกค้าให้ แต่เราพูดโน้มน้าวไม่เป็น แล้วโกหกไม่เป็นด้วย สิ่งที่เราทำไปทั้งหมดมันเพื่ออะไรหรอ ให้เค้าหลอกเล่นหรอ บริษัทสร้างภาพลักษณ์ไว้ดีมากนะ ดูโฆษณาทีซึ้งมาก แต่ทำไมพนักงานทำกับเราแบบนี้ เราหวังมากและตั้งใจมากที่จะไปแต่แรก เดินทางไปกลับ 6 ชั่วโมง ปฏิเสธอีกงานที่ได้ไป พลาดโอกาสงานอื่นๆที่กำลังจะได้รับ ร้องไห้ น้ำตาไหล แทบไม่มีแรงเดิน ทำใจอยู่ 1 วัน ติดเสาร์ อาทิตย์อีก มีเวลาพัก ทำใจ 3 วัน ค่อยไปเริ่มต้นใหม่ ตอนนี้เราแค่อยากระบาย เรายังไม่ได้โทรไปบอกพ่อกับแม่เลย  ยังเสียดายอีกงานที่เค้าตอบรับแต่เราปฏิเสธไปอยู่เลย งานไม่ได้ เงินไม่มี ความฝันที่วาดไว้ต้องสลายไปชั่วคราว สุดท้ายต้องไปหางานใหม่ เรามันโง่จริงๆ เจ็บใจกับความโง่ของตัวเอง ยอมรับเลยนะว่าร้องไห้

     ผมได้ไปเจอบทความนี้เลยอ่านแล้วรู้สึกแย่เลยครับกับระบบงานแบบนี้ที่ทำให้ภาพลักษณ์ประกันภัยไทยดูแย่กว่าเดิมอีก อยากกระจายเรื่องนี้ให้ทุกคนที่กำลังจบใหม่หรือคนที่กำลังหางานทำนะครับจะได้รู้เหลี่ยมพวก(แมลงสาบ) แบบนี้ไม่ใช่บริษัทประกันภัยครับผมขอแยกเอาไว้เลยนะครับ มืออาชีพเขาจะไม่ทำกันแบบนี้  จะได้รับรู้นะครับว่า ควรระมัดระวังเรื่องแบบนี้ให้ดีเพราะจะโดนหลอกเอาง่ายๆแล้วมารู้ทีหลัง จะได้ไม่ต้องมาเสียใจภายหลัง สิ่งที่ได้มาด้วยความง่ายๆมันไม่มีจริงหรอกครับบนโลกใบนี้. . . .